การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยงสูง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง, กลุ่มเสี่ยงสูงบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยงสูง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม โดยมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 48 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มเสี่ยงสูง จำนวน 28 คน 2) กลุ่มพัฒนารูปแบบ ประกอบด้วย ผู้ดูแลกลุ่มเสี่ยงสูง ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เจ้าหน้าที่กู้ชีพ นักวิชาการสาธารณสุข พยาบาลวิชาชีพ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 20 คน ซึ่งคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายด้วยวิธีแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ข้อมูลด้านความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง ข้อมูลด้านการรับรู้แบบแผนความเชื่อ และข้อมูลด้านการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) และข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t-test ในการเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองก่อนและหลัง
ผลการวิจัยพบว่า ได้รูปแบบการดำเนินงาน 4 แผนกิจกรรม ได้แก่ 1) การให้ความรู้โรคหลอดเลือดสมอง
2) การใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ 3) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 4) การติดตามเยี่ยมบ้าน หลังจากนำรูปแบบดังกล่าวไปใช้ พบว่า ภายหลังดำเนินการผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง มีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ สูงกว่า ก่อนการดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
References
World Stroke Organization. (2017). The state of stroke services across the globe: Report of World Stroke Organization–World Health Organization surveys. International Journal of Stroke. 2017; 16(8), https://journals.sagepub.com/doi/full/10.1177/1747.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. คู่มือประเมินการจัดการความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและ หลอดเลือด. นนทบุรี: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2563.
สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2554: Annual Report 201 1. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2554.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. รายงานการสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2558.
สุพร หุตากร. พฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ต้องขังทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์. วารสาร มฉก. วิชาการ. 2549; 22(3): 105–113.
จรินทร ดวงแสง. ผลของการให้ข้อมูลตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่เป็นแผลเปปติคเรื้อรัง. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.
ศศิธรณ์ นนทะโมลี. ผลการให้ความรู้อย่างเป็นระบบตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อ พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตและพฤติกรรมในการดูแลครอบครัว. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปี 2551.
Becker, M. H. (1977). The Health Belief Model and Prediction of Dietary Compliance: A field Experiment. Journal of Health and Social Behavior. 1977; 18(4): 348-366.
Kolb, D. A. (1984). Experiential Learning: Experience as the Source of Learning and Development. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.; 1984.
สุมัทนา กลางคาร และวรพจน์ พรหมสัตยพรต. หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์ – สารคามเปเปอร์; 2553.
Best, J. W. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersy: Practice Hall, Inc; 1977.
Kemmis, S. & McTaggart, R.The Action Research Planer. 3rd ed. Victoria: Deakin University; 1988.
สาวิตรี สิงหาด. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับอาการเตือน ปัจจัยเสี่ยงและการรักษาโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง. วารสาร ประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2554; 6(3): 194-207.
วีณา เที่ยงธรรม, วีณา เที่ยงธรรม และสุนีย์ ละกำปั่น. การพัฒนาศักยภาพชุมชน: แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.
พวงเพชร จันทร์บุตร. ความรู้และพฤติกรรมการใช้ยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ของผู้สูงอายุ ในอำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปี 2555.
จิราภรณ์ ชูวงศ์. ผลของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชมรมผู้สูงอายุ เขตอำเภอเมือง จังหวัดตรัง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2555; 6(2): 30-37.
Becker, M.H., & Miman, L.A. (1975). A new approach to explaining sick role behavior in low income population. American of Public Health. 1975; (3): 330-3.
กชกร อ่อนอภัย. การประยุกต์รูปแบบการส่งเสริม สุขภาพของเพนเดอร์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลด ภาวะเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงตำบล บ้านแท่น อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ,บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปี 2551.
บุญพิสิฐษ์ ธรรมกุล. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตลาด เชิงสังคมร่วมกับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความ ดันโลหิตสูง ตำบลโนนสำราญอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปี 2554.
รัตนา ยอดพรหมมินทร์ และเกศแก้ว สอนดี. (2554). ผลของโปรแกรมสร้างพลัง โดยประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือด ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงอำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี. การพยาบาลสาธารณสุข. 2554; 25: 23-45.
วัลลยา ทองน้อย. การประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางด้านสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดัน โลหิตสูงตำบลโนนพะยอม อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปี 2554.