การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุกระดูกข้อสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมที่มีโรคร่วม กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • ทิพวรรณ ศิริปี โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, กระดูกข้อสะโพกหัก, การพยาบาลผู้ป่วยข้อสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา  2 รายในการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุกระดูกข้อสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมที่มีโรคร่วม คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยสูงอายุ 2 รายที่กระดูกข้อสะโพกหักจากการหกล้มและได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมที่มีโรคร่วม ที่เข้ามารับรักษาในแผนกศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
     ผลการศึกษา พบว่า กรณีศึกษาที่ 1 หญิงไทยอายุ 70 ปี มีอาการสำคัญ 11 ชั่วโมงก่อนมาลื่นล้ม ปวดสะโพกซ้าย เดินลงน้ำหนักไม่ได้ ญาตินำส่งโรงพยาบาลชุมชน ผลเอกเรย์ Both Hip Anteroposterior (AP) and Lateral (LAT) พบ Close fracture neck of left femur ใส่ Long leg posterior slab (LLS) ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว คือเบาหวาน จึง Refer ต่อโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ขณะผ่าตัดผู้ป่วยเสียเลือด 300 ml หลังผ่าตัดย้ายมารักษาต่อตึกศัลยกรรมกระดูกข้อหญิง มีภาวะซีด ได้รับการรักษาด้วยยาปฎิชีวนะ, ได้รับสารน้ำ, ได้รับ PRC 1unit และยาลดปวด ใช้กระบวนการพยาบาลและมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถจำหน่ายกลับบ้านอย่างปลอดภัย และกลับมาติดตามอาการตามแพทย์นัดต่อเนื่องที่แผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรมกระดูกเละข้อ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ รวมระยะเวลานอนโรงพยาบาล 6 วัน กรณีศึกษาที่ 2 หญิงไทยอายุ 79 ปี  มาด้วยอาการเดินแล้วเสียหลัก ลื่นล้ม ปวดสะโพกซ้าย 1 สัปดาห์ เดินเองไม่ได้ ญาติจึงนำส่งโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ มีโรคประจำตัว เบาหวาน ผลเอกเรย์ Both Hip Anteroposterior (AP) and Lateral (LAT) พบ Close fracture neck of left femur ส่ง Admit ตึกศัลยกรรมกระดูกและข้อหญิง ได้รับการรักษาด้วยการ On Skin traction 3 kgs ส่งปรึกษา อายุรแพทย์ วิสัญญีแพทย์ เพื่อร่วมวางแผนผ่าตัด ก่อนผ่าตัด ผลDTX  161 mg% Hct 26.7% ผล CXR EKG ปกติ อายุรแพทย์มีความเห็นให้ผ่าตัดได้ ขณะผ่าตัด เสียเลือด 350 ml ได้รับ PRC 1 unit ได้รับการรักษาด้วยยาปฎิชีวนะ, ได้รับสารน้ำ,ได้รับยาลดปวด และติดตามระดับน้ำตาลจนปกติ ช่วงหลังผ่าตัดติดตามดูแลต่อเนื่องโดยใช้กระบวนการพยาบาลและมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วย ร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ จนผู้ป่วยปลอดภัย จำหน่ายกลับบ้าน และนัดมาติดตามอาการที่แผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรมกระดูกเละข้อ รวมระยะนอนโรงพยาบาล 5 วัน

References

ขนิษฐา รัตนกัลยา.(2557) ความต้องการความสุขสบายและการได้รับการตอบสนองความต้องการความสุขสบายของ ผู้ป่วยที่ได้รับการดึงถ่วงน้ำหนัก. Nursing Journal., 41.5: 112-122.

คุณัสปรณ์ มัคคัปผลานนท์, ปุณฑรี ศุภเวช.(2559) การดูแลผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม.สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.3(3):57-66.

จักรฤษณ์ วังราษฎร์,สุวินัย แสงโย,กัญญาณัฐ อุ่มมี.(2561) อุปสรรคในการดำเนินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดข้องผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน:วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 6(2): 351-361.

ชวรินทร์ อมเรสและ สีหธัช งามอุโฆษ.(2562) Update on Arthroplasty in Acute Hip Fractures. Hip&knee today. 24: 9-12

นรเทพ กุลโชติ.(2564) กระดูกหักและข้อเคลื่อนรอบข้อสะโพก. [เข้าถึงเมื่อ 16 มี.ค. 2564].เข้าถึงได้จาก: https://med.mahidol.ac.th/ortho/sites/default/files/public/file/pdf/Hip-fx.Dr_.Naratep.pdf

บุญยามาส ชีวสกุลยง และชัยยุทธ เจริญธรรม. (2562). ภาวะฉุกเฉินทางอายุรศาสตร์. เชียงใหม่ : ทริค ธิงค์.แบบแผนสุขภาพ. 11 แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน. ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2566, จาก www.mindmeister.com

ปราณี ทู้ไพเราะ. (2559). คู่มือยา. กรุงเทพมหานคร : N P limited Partnership.พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 แนวเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อใน โรงพยาบาลกรณีโรคติดเชื้อ.

ยุพิน พรมสวัสดิ์.(2563) การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกต้นขาซ้ายหักชนิดไม่มีบาดแผลและกระดูกต้นขาขวาหักชนิดมีแผลเปิดร่วมกับภาวะช็อกจากการเสียเลือด. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร. 29(1):47-66.

รัชนก ทองน้ำวน.(2549) ศึกษาระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนผ่าตัดในโรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. PhD Thesis. มหาวิทยาลัยศิลปากร

วรรณี สัตยวิวัฒน์.() การพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์..(2553) กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็นพีเพรส.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน).(2563) แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารการจัดการผ่าตัดกระดูกข้อสะโพกหักในผู้สูงอายุ ฉบับ 25 พฤศจิกายน 2563. เอกสารอัดสำเนา.

สมปรารถนา คลังบุญครอง.(2564) การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสะโพกพักและมีโรคร่วม ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 18(1):151-163.

เสาวภา อินผา.(2557) คู่มือพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม. 51-74.

โสภิต เลาหภักดี.(2563) การพยาบาลผู้สูงอายุกระดูกข้อสะโพกหักที่ได้รับการเปลี่ยนผ่าตัดข้อสะโพกเทียมและมีโรคร่วม.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. (3):224-240.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30