ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยกระดูกหน้าแข้งหักที่รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน ต่อการรับรู้ความสามารถและพฤติกรรมการดูแลตนเอง หอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน

ผู้แต่ง

  • รัตนาภรณ์ กวานเหียน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน
  • อรทัย สุทธิอาจ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยกระดูกหน้าแข้งหัก, โปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเอง

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อน และหลัง (One Group Pretest-posttest Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยกระดูกหน้าแข้งหักที่รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายในต่อการรับรู้ความสามารถ และพฤติกรรมการดูแลตนเอง โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยกระดูกหน้าแข้งหักที่รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน ที่มีอายุระหว่าง 14–60 ปี และเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จำนวน 14 ราย เก็บรวบรวมข้อมูล ตั้งแต่ เดือน ตุลาคม 2566 ถึงเดือน มีนาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบไปด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล  แบบสอบถามความรู้ก่อน-หลัง ในการดูแลตนเอง แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเอง และแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยกระดูกหน้าแข้งหัก เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Paired Simple t-test เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ การรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเอง และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกหน้าแข้ง โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
     ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยกระดูกหน้าแข้งหักที่รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน ก่อน และหลังการเข้าโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกหน้าแข้ง หลังการเข้าโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเอง ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้การดูแลตนเอง เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t = - 8.437, p < 0.05) และค่าเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเองหลังการเข้าโปรแกรม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t = -8.303, p < 0.05) ส่วนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกหน้าแข้ง หลังการเข้าโปรแกรมค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรม

References

Bandura, A. Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman. 1997

เสาวภา อินผา.โปรแกรมการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม โรงพยาบาลศิริราช. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.2550.

ชญานันทน์ ช่วยบุดดา. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรม การป้องกันการหักซ้ำของผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงภายใน โรงพยาบาลกระบี่. วารสารกระบี่เวชสาร. 2560; 2(2): 9-16.

ตติยา จำปาวงษ์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะของตนเองต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอวแบบลามิเนกโตมี่ในผู้สูงอายุโรคโพรงกระดูกสันหลังเอวตีบแคบ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2560.

วิทเชษฎ์ พิชัยศักดิ์. (2560). การรักษากระดูกหักด้วยการผ่าตัดดามโลหะ. สืบค้น 8 ตุลาคม 2566, จาก https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=158.

สดากาญจน์ เอี่ยมประทีป. ผลของการประคบเย็นร่วมกับการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อความปวดและการฟื้นฟูสภาพ หลังผ่าตัดใส่เหล็กดามกระดูกต้นขา. พยาบาลสาร. 2560; 44(1): 40-49

ศศิกรณิศ สันติวรบุตร.ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อคุณภาพการฟื้นตัวหลังผ่าตัดและการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังช่วงเอว. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่. นครปฐม: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2561.

อภิชาต กาศโอสถ. การดูแลผู้ป่วยกระดูกต้นขาหัก หลังจากได้รับการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกภายใน. พยาบาลสาร. 2562; 46(4): 183-192

ศุภพร ศรีพิมาน. ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสะโพก หอผู้ป่วยศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลสงขลา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2563; 3(2): 149-164

ณรงค์วิชญ์ คํารังสี. ผลของโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อทักษะการดูแลของผู้ดูแลผู้สูงอายุภาวะข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลปอ อําเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2565; 8(2): 97-110.

Ya, M., Bo D., Xiaoyu L., Jiangzhen L., Liuyi L., Jinxia O., Shuping Y., Xingxian T., Yumei Ch., & Meifen Z. (2022). Effectiveness of self-efficacy-enhancing interventions on rehabilitation following total hip replacement: a randomized controlled trial with six- month follow-up. Journal of Orthopaedic Surgery and Research. 17(225): 1-11. doi: 10.1186/s13018-022-03116-2

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30