ผลของการใช้แบบเฝ้าระวังสัญญาณเตือน MEWS ในผู้ป่วยฉุกเฉิน ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระอาจารย์แบน ธนากโร

ผู้แต่ง

  • จีระวัลย์ วงศ์งาม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลพระอาจารย์แบน ธนากโร
  • ทวีศิลป์ กุละนาม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลพระอาจารย์แบน ธนากโร

คำสำคัญ:

แบบเฝ้าระวังสัญญาณเตือน MEWS (Modified Early Warning Signs), ผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) เพื่อศึกษาผลของการใช้แบบเฝ้าระวังสัญญาณเตือน MEWS ในผู้ป่วยฉุกเฉิน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน (Non trauma) ที่มาใช้บริการที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระอาจารย์แบน ธนากโร คำนวณโดยใช้โปรแกรม G* Power analysis ได้กลุ่มตัวอย่าง 200 คน การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ 1) เตรียมการวิจัยโดยศึกษาบริบท ปัญหาและทบทวนวรรณกรรม 2) ดำเนินการวิจัย 3) สรุปและประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบเฝ้าระวังสัญญาณเตือน MEWS ในผู้ป่วยฉุกเฉิน ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน 2) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบบันทึกอุบัติการณ์ทรุดลงอย่างไม่คาดคิด 4) แบบประเมินระดับความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพ ต่อการใช้แบบเฝ้าระวังสัญญาณเตือน MEWS ในผู้ป่วยฉุกเฉิน ตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านทดสอบความเชื่อมั่น ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
     ผลการศึกษา พบว่า การใช้แบบเฝ้าระวังสัญญาณเตือน MEWS ในผู้ป่วยฉุกเฉินทำให้อุบัติการณ์ทรุดลงอย่างไม่คาดคิด ลดลงกว่าก่อนพัฒนา ระดับความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้แบบเฝ้าระวังสัญญาณเตือน MEWS ในผู้ป่วยฉุกเฉิน ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระอาจารย์แบน ธนากโร รายข้อพบว่า เห็นด้วยในระดับมากถึงมากที่สุด ความพึงพอใจโดยรวมต่อการใช้แบบเฝ้าระวังสัญญาณเตือน MEWS อยู่ในระดับมากที่สุด

References

หทัยชนก บัวเจริญ. แผนการพัฒนาระบบบริการพยาบาลฉุกเฉิน กรณีศึกษา โรงพยาบาลชุมชน.

เอกสารงานประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย 28 - 29 กันยายน 2560.

อุไรวรรณ แก้วเพชร. ประสิทธิผลการประยุกต์ใช้ระบบสัญญาณเตือน (modified early warning score:MEWS) ในการเฝ้าระวังผู้ป่วยก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต งานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการแพทย์เขต 11 2562 ; 35(1), 1-11.

บุศกร กลิ่นอวล. (2559). Mini research ผลการใช้ Adult Early Warning Scoring System (MEWS) ของหน่วยงาน เข้าถึงได้จาก :http://www.hospital.tu.ac.th เข้าถึง 25 พฤศจิกายน 2566.

นภสร นาคสุขและวิยดา บุญนิ่ม. การเปรียบเทียบผลการใช้แบบประเมินผู้ป่วยภาวะวิกฤตระหว่างการใช้ SOS Score และMEWS ในผู้ป่วยที่ได้รับการทำ TOCE ในหอผู้ป่วยในศัลยกรรม โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี. วารสารโรคมะเร็ง THAI CANCER JOURNAL 2565; 42 (2) ,70-76.

ธนิษฐ์นันท์ บุญจันทร์ วิลาวัณย์ กาไหล่ทอง และ วีระวุฒิ มิ่งขวัญ. เปรียบเทียบการใช้ MEWS กับ SOS score ในการประเมินผู้ป่วย Pneumonia รายใหม่ หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ Health science clinical research 2021 ; 60-65.

ชนิดาภา ไกรธนสอน. การพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินต่อระยะรอคอยของผู้ป่วยและบทบาทของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลลำพูน 2565 . Journal of the Phrae Hospital ; 30 (1.) , 69-81

โรงพยาบาลพระอาจารย์แบน ธนากโร จังหวัดสกลนคร. สถิติข้อมูลผู้มารับบริการแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระอาจาย์แบบ ธนากโร จังหวัดสกลนคร พ.ศ. 2563-2565.

กัลยารัตน์ หล้าธรรม, ชัจคเณค์ แพรขาว. การศึกษาคุณภาพการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉินโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ในการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ 2560; 10 มีนาคม 2560; ณ อาคารพจน์สารสิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น; 2560. หน้า 1035-1046.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น.พิมพ์ครั้งที่ 10.กรุงเทพมหานคร: สุวิริยาสาส์น; 2560.

เนาวรัตนภูมิ บุญชูและนฤมล มะลาไสย.ผลของการใชแบบเฝาระวังสัญญาณเตือนMEWS ผูปวยฉุกเฉินในหองอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลเสลภูมิ. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2562 .1(1),21-30.

พนิดา จันทรัตน์ .การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังสัญญาณเตือนเข้าสู่ภาวะวิกฤตในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง โรงพยาบาลสงขลา . วารสารวิชาการสาธารณสุข 2566 ; 32 (1), 109-119.

ประภัสสร หิรัญรัตน์. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลระบบการเฝ้าระวังสัญญาณเตือนเข้าสู่ภาวะวิกฤตในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง.วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา2566; 8 (3) ,68-77.

กงทอง ไพศาล. การพัฒนาระบบการคัดกรองผู้ป่วย งานการพยาบาลผู้ป่วยและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น.Research and Development Health System Journal 2019;12(1),93-100.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30