ผลของโปรแกรมฝึกเทคนิคการคลายเครียดร่วมกับการให้ความรู้ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • วิทยา ฮามวงศ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

รูปแบบการดูแลสำหรับผู้ป่วยสูงอายุ, ภาวะพึ่งพิง, กระบวนการดูแลต่อเนื่อง

บทคัดย่อ

     การศึกษากึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมฝึกเทคนิคการคลายเครียดร่วมกับการให้ความรู้ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างคือหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและเข้ารับการรักษาเพื่อยับยั้งการคลอดก่อนกำหนด แผนกห้องคลอด โรงพยาบาลวานรนิวาส เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความเครียดด้วยตนเอง แบบสอบถามความรู้ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อโปรแกรม และแบบบันทึกการติดตามอายุครรภ์เมื่อคลอด เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 17 มกราคม – 16 เมษายน 2567 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพื้นฐาน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบสถิติแบบพาราเมตริกใช้ Paired t-test เปรียบเทียบสถิติแบบนอนพาราเมตริกใช้ Wilcoxon signed rank test
     ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 20-34 ปี ร้อยละ 63.33 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 100.00 จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา ร้อยละ 40.00 ไม่ได้ทำงาน ร้อยละ 33.33 รายได้ครอบครัวต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 33.33 ด้านประวัติที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์พบว่ามีโรคประจำตัว ร้อยละ 16.67 เคยมีประวัติคลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 10.00 เคยมีประวัติการแท้ง ร้อยละ 16.67 ผลการประเมินความเครียดพบว่าหลังได้รับโปรแกรมกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความเครียดต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (t=13.342, p<0.001) และหลังได้รับโปรแกรมคะแนนเฉลี่ยความรู้ของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (Z=-4.813, p<0.001) กลุ่มตัวอย่างพึงพอใจต่อโปรแกรมโดยภาพรวมในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}=4.85, 0.30) ผลการติดตามเมื่อคลอดพบว่ายังคงพบอัตราการคลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 13.33

References

Ohuma E, Moller A-B, Bradley E, Chakwera S, Hussian-Alkhateeb L, Lewin A, et al. National, regional, and worldwide estimates of preterm birth in 2020, with trends from 2010: a systematic analysis. Lancet 2023,402,(10409),1261-1271.

ชเนนทร์ วนาภิรักษ์และธีระ ทองสง. การเจ็บครรภ์และการคลอดก่อนกำหนด ใน ธีระ ทองสง (บรรณาธิการ). สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2564.หน้า 244-259.

Perin J, Mulick A, Yeung D, Villavicencio F, Lopez G, Strong KL, et al. Global, regional, and national causes of under-5 mortality in 2000-2019: an updated systematic analysis with implications for the sustainable development goals. Lancet Child Adolesc Health 2022,6(2),106-115.

ธีระ ทองสง (บรรณาธิการ). สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2564.

อุ่นใจ กออนันตกุล. บทความวิชาการ: การคาดการณ์การคลอดก่อนกำหนด เพื่อป้องกันรักษา. สูตินรีแพทย์สัมพันธ์ 2562,28,8-15.

Kinpoon K & Chaiyarach S. The Incidence and Risk Factors for Preterm Delivery in Northeast Thailand. Thai Journal of Obstetrics and Gynaecology 2021,29(2),100-111.

Renzo GC, Roura LC, Facchinett F, Antsaklis A, Breborowicz G, Gratacos E, et al. Guidelines for the management of spontaneous preterm labor: Identification of spontaneuos preterm labor, diagnosis of preterm premature rupture of membrances, and preventive tools for preterm birth. The Journal of Maternal-Fetal and Neonatal Medicine 2011,24(5),659-667.

Schleussner, E. The prevention, diagnosis and treatment of premature labor. Department of Obstetrics and Gynaecology, Jena University Hospital 2013,110(13),227-236.

Bigelow C & Stone J. Bed rest in pregnancy. Mount Sinai Journal of Medicine 2011,78(2),291-302.

Maloni JA. Lack of evidence for prescription of antepartum bed rest. Expert Review of Obstetrics & Gynecology 2011,6(4),385-393.

Sciscione AC. Maternal activity restriction and the prevention of preterm birth. American Journal of Obstetrics and Gynecology 2010, 202(3),1-5.

Simhan HN, Berghella V, & Iams JD. Preterm labor and birth In Creasy RK, Resnik JD, & Iams JD, (Editor). Creasy and Resnik’s maternal-fetal medicine: Principles and practice. 7th ed. Piladelphia;2014.

ฐิติกานต์ ณ ปั่น. ปัจจัยที่มีผลต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์โรงพยาบาลอมก๋อย อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2557,10(2),142-150.

สินีนาฎ หงส์ระนัย. การใช้เทคนิคการบรรเทาปวดโดยไม่ใช้ยาในระยะที่ 1 ของการคลอดการใช้ผลงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: แดเน็คซ์อินเตอร์คอร์ปเรชั่น; 2555.

สุภาพร เลิศกวินอนันต์, กรรณิการ์ กันธะรักษาและฉวี เบาทรวง. การทบทวนอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการจัดการความเครียดในสตรีที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. พยาบาลสาร 2559,43,33-44.

อัสมะ จารู, วรางคณา ชัชเวช และสุรีย์พร กฤษเจริญ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่ประสบความสำเร็จในการยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2562,39(1),79-92.

สุรีรัตน์ ธาราศักดิ์, นภาพร อภิรัชนากุล, นฤมล ขันธิมาและตติรัตน์ เตชะศักดิ์. ผลของโปรแกรมเพื่อลดความเครียดต่อความเครียดและอายุครรภ์เมื่อคลอดของหญิงตั้งครรภ์มี่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี 2560,42(3),265-274.

เบญจวรรณ ละหุการ. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ร่วมกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้าต่อความเครียดในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด[วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การผดุงครรภ์ขั้นสูง)]. สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์;2560.

อัญชลี จิตราภิรมย์, จิรภา เสถียรพงศ์ประภาและอารีวรรณ กลั่นกลิ่น. ประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกผ่อนคลายและการให้ความรู้สำหรับสตรีที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. พยาบาลสาร 2561,45(4),47-55.

หทัยกาญจน์ หวังกูล. การพัฒนารูปแบบการดูแลอย่างต่อเนื่องสำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิ]. มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม;2564.

Cunningham F, Levono K, Bloom S, Hauth J, Rouse D, Spong CY. Williams obstetrics. 23rd ed. New York: MC Graw-Hill;2010.

Lazarus & Folkman. Coping and adaptation in handbook of behavioral medicine. New Yourk: Guilfort pres;1984.

นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพชร์ และญาดา นภาอารักษ์. การคำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G* Power. ม.ป.ป. เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566. แหล่งข้อมูล file:///C:/Users/Lenovo/Downloads/svittj,+%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3,+36+%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%90%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%20(2).pdf

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ:วิทยพัฒน์;2556.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินความเครียดด้วยตนเอง คลังความรู้สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต[อินเตอร์เน็ต]. ม.ป.ป. เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566. แหล่งข้อมูล https://dmh-elibrary.org/items/show/141

Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill;1971.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ:บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด;2549.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. เทคนิคการคลายเครียดโดยการฝึกการหายใจ[อินเตอร์เน็ต]. ม.ป.ป. เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566. แหล่งข้อมูล https://dmh.go.th/download/politic_crisis/techno/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9D%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%88.pdf

สุธิดา สิงห์ศิริเจริญกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดกับการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2555.

สายฝน ชวาลไพบูลย์. คลอดก่อนกำหนด. กรุงเทพมหานคร:คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล;2553.

สุพิมพ์ อุ่นพรม, นงนุช โอบะ, และนุศรา วิจิตรแก้ว. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานวัยผู้ใหญ่. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2550,1(1),100-111.

จิราภรณ์ ชูวงศ์และเจียมจิต โสภณสุขสถิต. ผลของการให้ความรู้ทางด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2554,5(2),41.50.

กมลวรรณ ลีนะธรรมและธนิดา จุลย์วนิชพงษ์. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และแรงสนับสนุนทางสังคมต่อความเครียดของมารดาหลังคลอด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอิสเทิร์น 2557,11(1),1-11.

สุมามิตา สวัสดีนฤนาท, วิภา แซ่เซี้ยและประณีต ส่งวัฒนา. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนข้อมูลและอารมณ์ต่อความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะในระยะวิกฤติ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2556,5(2),1-13.

สุรีพร กัฬหะสุต, พนิดา เชียงทอง, สุรัชนา พงษ์ประสุวรรณ์, นุชมาศ แก้วกุลฑล และศุจิรัตน์ ศรี-ทองเหลือง. ผลของโปรแกรมลดสิ่งก่อความเครียดร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมต่อความเครียดและอายุครรภ์เมื่อคลอดของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ที่เข้ารับการรักษาในห้องคลอด โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2565,16(1),59-74.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30