การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตในปีแรก และภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักจากภยันตรายที่ไม่รุนแรงที่ได้รับการผ่าตัดภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง และหลัง 72 ชั่วโมงในโรงพยาบาลโพธาราม
คำสำคัญ:
การผ่าตัดกระดูกสะโพก, การเสียชีวิตในปีแรก, ภาวะแทรกซ้อน, กระดูกสะโพกหักจากภยันตรายที่ไม่รุนแรงบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตในปีแรก และภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก ที่ได้รับการผ่าตัดภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง และหลัง 72 ชั่วโมง ในโรงพยาบาลโพธารามและ 2) ศึกษาเปรียบเทียบระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล และค่าใช้จ่ายในการนอนโรงพยาบาลในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง และหลัง 72 ชั่วโมง ในโรงพยาบาลโพธาราม
การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์จากเหตุไปหาผล โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนในผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ได้รับการวินิจฉัยว่ากระดูกสะโพกหักชนิด Closed Femoral neck fracture, Close Intertrochanteric fracture จากอุบัติเหตุภยันตรายที่ไม่รุนแรง (Fragility fracture)และได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโพธาราม ระหว่าง เดือน พฤษภาคม 2562 – เดือนพฤษภาคม2565 จำนวน 125 คน แบ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดภายใน 72 ชั่วโมง จำนวน 41 คน และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดภายหลัง 72 ชั่วโมงจำนวน 84 คน แล้วเปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตในปีแรกหลังผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อน ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล และค่าใช้จ่ายระหว่างนอนโรงพยาบาล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง ได้แก่ independent t-test และ Chi-square test
ผลการศึกษา: ผลการเปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตในปีแรกและภาวะแทรกซ้อนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดภายใน 72 ชั่วโมง กับกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดภายหลัง 72 ชั่วโมง ในผู้ป่วยสูงอายุข้อสะโพกหักจากภยันตรายที่ไม่รุนแรง ที่รักษาด้วยการผ่าตัด พบว่า อัตราการเสียชีวิตในปีแรกในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดภายใน 72ชั่วโมงมีแนวโน้มน้อยกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหลัง72ชั่วโมง ร้อยละ2.4และ 14.3ตามลำดับ p=0.059 ส่วนภาวะแทรกซ้อนโดยรวมที่พบหลังผ่าตัด ตลอดจนภาวะแทรกซ้อนที่เป็นแผลกดทับ ปอดติดเชื้อ ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ภาวะหลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน พบว่าอัตราการเกิดไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดภายใน 72 ชั่วโมงและกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดภายหลัง 72 ชั่วโมง แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า ทั้งภาวะแทรกซ้อนภาพรวมที่พบหลังการผ่าตัด และภาวะแทรกซ้อนที่เป็นแผลกดทับ ปอดติดเชื้อ ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในกลุ่มผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดภายใน 72 ชั่วโมงจะมีอัตราการเกิดน้อยกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดภายหลัง 72 ชั่วโมง ผลการเปรียบเทียบระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลและ ค่าใช้จ่ายในการนอนโรงพยาบาล กลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดภายใน 72 ชั่วโมง กับกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดภายหลัง 72 ชั่วโมงพบว่า จำนวนวันนอนโรงพยาบาลเฉลี่ยอยู่ที่ 12.8 ± 4.191และ 18.3 ± 6.328วัน และ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลเฉลี่ยอยู่ที่ 81,955.31และ 92,027.40บาท โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P<0.05 ทั้งคู่)
References
Forte ML, Virnig BA, Swiontkowski MF, Bhandari M, Feldman R, Eberly LE, Kane RL. Ninety-day mortality after intertrochanteric hip fracture: does provider volume matter? J Bone Joint Surg Am. 2010 Apr;92(4):799-806. doi: 10.2106/JBJS.H.01204. PMID: 20360501.
Curtis EM, Moon RJ, Harvey NC, Cooper C. The impact of fragility fracture and approaches to osteoporosis risk assessment worldwide. Bone. 2017 Nov;104:29-38. doi: 10.1016/j.bone.2017.01.024. Epub 2017 Jan 22. PMID: 28119181; PMCID: PMC5420448.
Lefaivre KA, Macadam SA, Davidson DJ, Gandhi R, Chan H, Broekhuyse HM (2009) Length of stay, mortality, morbidity and delay to surgery in hip fractures. J Bone Joint Surg Br 91(7):922–927
Cushner F, Agnelli G, FitzGerald G, Warwick D. Complications and functional outcomes after total hip arthroplasty and total knee arthroplasty: results from the Global Orthopaedic Registry (GLORY). Am J Orthop (Belle Mead NJ). 2010 Sep;39(9 Suppl):22-8. PMID: 21290028.
Vaseenon, T., et al., Long-term mortality after osteoporotic hip fracture in Chiang Mai, Thailand. J Clin Densitom, 2010. 13(1): p. 63-67.
Dettoni F, Peveraro A, Dettoni A, Rossi R, Castoldi F, Zareh A et al (2012) Epidemiology of hip fractures in northwestern Italy: a multicentric regional study on incidence of hip fractures and their outcome at 3-year follow-up. Musculoskelet Surg 96(1):41–46
Lin C, Ou Y, Chen S, Liu Y, Lin J (2010) Comparison of artificial neural network and logistic regression models for predicting mortality in elderly patients with hip fracture. Injury 41(8):869–873
Cenzer IS, Tang V, Boscardin WJ, Smith AK, Ritchie C, Wallhagen MI et al (2016) One-year mortality after hip fracture: development and validation of a prognostic index. J Am Geriatr Soc 64(9):1863–1868
Haleem S, Lutchman L, Mayahi R, Grice JE, Parker MJ (2008) Mortality following hip fracture: trends and geographical variations over the last 40 years. Injury 39(10):1157–1163
Simunovic N, Devereaux PJ, Sprague S, Guyatt GH, Schemitsch E, Debeer J, Bhandari M. Effect of early surgery after hip fracture on mortality and complications: systematic review and meta-analysis. CMAJ. 2010 Oct 19;182(15):1609-16. doi: 10.1503/cmaj.092220. Epub 2010 Sep 13. PMID: 20837683; PMCID: PMC2952007.
Khan SK, Kalra S, Khanna A, Thiruvengada MM, Parker MJ. Timing of surgery for hip fractures: a systematic review of 52 published studies involving 291,413 patients. Injury. 2009 Jul;40(7):692-7. doi: 10.1016/j.injury.2009.01.010. Epub 2009 May 18. PMID: 19450802.
Shiga T, Wajima Z, Ohe Y. Is operative delay associated with increased mortality of hip fracture patients? Systematic review, meta-analysis, and meta-regression. Can J Anaesth. 2008 Mar;55(3):146-54. doi: 10.1007/BF03016088. PMID: 18310624.
Sa-Ngasoongsong, P., Kulachote, N., Sirisreetreerux, N., Chanplakorn, P., Laohajaroensombat, S., Seeraprom, J., Suphachatwong, C., Kawinwonggowit, V., & Wajanavisit, W. (2017). Outcome of Early Hip Fracture Surgery in Elderly Patients in Ramathibodi Hospital: A Prospective Cohort Study. Ramathibodi Medical Journal, 36(1), 3–12
Stoddart J, Horne G, Devane P (2002) Influence of preoperative medical status and delay to surgery on death following a hip fracture. ANZ J Surg 72(6):405–407
Al-Ani AN, Samuelsson B, Tidermark J, Norling A, Ekström W, Cederholm T, Hedström M. Early operation on patients with a hip fracture improved the ability to return to independent living. A prospective study of 850 patients. J Bone Joint Surg Am. 2008 Jul;90(7):1436-42. doi: 10.2106/JBJS.G.00890. PMID: 18594090.
Mariconda M, Costa GG, Cerbasi S, Recano P, Aitanti E, Gambacorta M, Misasi M. The determinants of mortality and morbidity during the year following fracture of the hip: a prospective study. Bone Joint J. 2015 Mar;97-B(3):383-90. doi: 10.1302/0301-620X.97B3.34504. PMID: 25737523
Tulic G, Raspopovic E, Vujadinovic S, Sopta J, Todorovic A, Manojlovic R. Prolong pre-operative hospital stay as a predictive factor for early outcomes and mortality after geriatric hip fracture surgery: a single institution opens prospective cohort study. International orthopedics (SICOT) (2018) 42:25-31 DOI 10.1007/s00264-017-3643-7
Grimes JP, Gregory PM, Noveck H, Butler MS, Carson JL (2002) The effects of time-to-surgery on mortality and morbidity in patients following hip fracture. Am J Med 112(9):702–709
Shabat S, Heller E, Mann G, Gepstein R, Fredman B, Nyska M (2003) Economic consequences of operative delay for hip fractures in a non-profit institution. Orthopedics 26(12):1197–1199, discussion 1199
Hamilton BH, Hamilton VH, Mayo NE (1996) What are the costs of queuing for hip fracture surgery in Canada? J Health Econ 15(2):161–185
Shabat S, Heller E, Mann G, Gepstein R, Fredman B, Nyska M. Economic consequences of operative delay for hip fractures in a non-profit institution. Orthopedics. 2003;26:1197–9.