การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์, ภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษารายกรณี มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด 2 ราย และ 2) ศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด2 รายคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจงเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่คลีนิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลชื่นชม จังหวัดมหาสารคามที่มีผลตรวจปัสสาวะทดสอบการตั้งครรภ์เป็นบวกและผลการคัดกรองความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดเข้าเกฑ์ตามแนวทางการคัดกรอง
ผลการศึกษาพบว่า กรณีศึกษารายที่ 1หญิงไทยวัย 22 ปี G5P1A3L1c Previous C/S LMP 16 พ.ค.2565 EDC 22 ก.พ. 2566 เคยแท้งไม่ทราบสาเหตุ 3 ครั้ง BMI 25.21 kg/m2 ตรวจร่างกายปกติ ตรวจครรภ์ปกติ ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการปกติ คัดกรองความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนพบความเสี่ยง ได้แก่ 1) เคยแท้ง 3 ครั้งติดต่อกันหรือมากกว่า 2) เคยผ่าตัดอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ (ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง) 3) BMI >23 kg/m2 2) แพทย์วินิจฉัย R/O Inevitable Abortion ได้รับการส่งตัวไป รพ.มหาสารคาม ได้วัดความยาวปากมดลูกทางช่องคลอด(Transvaginal cervical length : TVCL) ผลปกติ ปากมดลูกไม่สั้น ได้รับยาProluton 250 mg. IM เริ่มฉีดอายุครรภ์ 18+3wk.ถึง 29+3weeks(รวม 12 ครั้ง)ฝากครรภ์ตามนัดสม่ำเสมอ น้ำหนักเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ 30 กิโลกรัม คลอด C/S GA 38+3weeksby U/S วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 07.25 น. ทารกเพศชาย น้ำหนัก 3,890 กรัม Apgar score 9-10-10 หลังคลอดไม่มีภาวะแทรกซ้อนทั้งแม่และลูก สรุปการวินิจฉัยโรค G5P1A3L1 GA 38+3wk. C/S due to Previous C/S กรณีศึกษารายที่ 2หญิงไทยวัย 18 ปีG1P0A0L0 LMP 14 ก.พ.2566 EDC 21 พ.ย. 2566 ฝากครรภ์ครั้งแรก GA 15+1weeks.BMI 16.80 kg/m2 ปฏิเสธโรคประจำตัว เคยผ่าตัดถุงน้ำในรังไข่ข้างซ้ายตรวจร่างกายปกติ ตรวจครรภ์ปกติ ผลตรวจทางห้องปฏิบัติปกติ ประเมินความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด พบรายการความเสี่ยง ดังนี้ 1) เคยผ่าตัดอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ (ผ่าตัดถุงน้ำที่รังไข่) 2) BMI <16.80 kg/m23) เป็นครรภ์แรก และ 4) อายุน้อยกว่า 20 ปี ไม่มาฝากครรภ์ตามนัดตลอดการตั้งครรภ์ฝากครรภ์ 2 ครั้ง น้ำหนักขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ 6 kg. เมื่ออายุครรภ์ 34+2weeks.มีอาการเจ็บครรภ์ท้องปั้นถี่ เป็นก่อนมา 1 ชั่วโมง ตรวจครรภ์พบ Interval 3 – 5 นาที Duration 40 – 60 วินาที PVCervix dilate 3 cm. effacement 75 % Membrane MI station -2 MI มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด ได้รับการดูแลรักษาเบื้องต้นในภาวะวิกฤติที่รพ.ชื่นชมและส่งตัวไปรักษาต่อรพ.มหาสารคามที่รพ.มหาสารคามทารกในครรภ์มีภาวะ Fetal distress ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องวันที่ 11 ตุลาคม 2566 เวลา 19.45 น. ทารกเพศหญิง น้ำหนัก 1,800 กรัม Apgar score 9-10-10 ทารกมีภาวะ Gastroschisis ได้รับการส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ สรุปการวินิจฉัยโรค G1P0A0L0 GA 34+2weeks.by U/S Late ANC Teenage pregnancy Pre-term labor คลอด C/S due to fetal distress
References
กัญยา ทูลธรรม, และสุภาพร สุภาทวีวัฒน์. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการคลอดก่อนกำหนด อัตราความถูกต้องครอบคลุมของแนวทางการดูแลรักษาสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและอัตราความสำเร็จในการยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดของโรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 20(2). 75 – 88.
กลุ่มรายงานมาตรฐาน กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข;2566. ร้อยละหญิงไทยคลอดก่อนกำหนดในงบประมาณ 2564; 2564 [ปรับปรุงเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2564 ]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th
ประไพรัตน์ แก้วศิริ, ดารุนนีย์ สวัสดิโชตติ์, และตรีนุช คำทะเนตร.ปัจจัยทำนายการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์จังหวัดนครพนม. วารสารกองการพยาบาล.2562;46(3). 73- 86.ศิริวรรฯ แสงอินทร์, (2557). การพยาบาลมารดาที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด, วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. 22(1). 27-38.
อุ่นใจ กออนันตกุล. (2562) การคาดการณ์การคลอดก่อนกำหยดเพื่อการรักษา. สูตินรีแพทย์สัมพันธ์.28(1). 8-15.
The American College of Obstetricians and Gynecologists. (2016). Practice Bulletin No. 159: Management of preterm labor. Obstet Gynecol.;127(1):e29-38.