การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดก่อนกำหนดและมีภาวะความดันโลหิตสูง ร่วมกับภาวะโลหิตจางในระยะคลอด: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ฉิมโฉม พงษ์ประเสริฐ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม

คำสำคัญ:

หญิงตั้งครรภ์ที่คลอดก่อนกำหนด, ภาวะความดันโลหิตสูง, ภาวะโลหิตจาง, ระยะคลอด

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดก่อนกำหนดและมีภาวะความดันโลหิตสูงร่วมกับภาวะโลหิตจางในระยะคลอด โดยศึกษาในหญิงตั้งครรภ์ อายุ 29 ปี อายุครรภ์ 34+3 สัปดาห์  มาด้วยอาการเจ็บครรภ์ 4 ชั่วโมง ก่อนมาโรงพยาบาล จากการศึกษาพบว่าด้านหญิงตั้งครรภ์การพยาบาลที่สำคัญ ได้แก่ การดูแลยับยั้งการคลอดก่อนกำหนด  การควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ  การแก้ไขภาวะซีด การเฝ้าระวังป้องกันทารกในครรภ์เกิดภาวะขาดออกซิเจน การส่งเสริมความก้าวหน้าการคลอดเมื่อยับยั้งการคลอดไม่สำเร็จ  ด้านทารกหลังคลอด การพยาบาลที่สำคัญ ได้แก่ การแก้ไขภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน และภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ

References

Kinney MV, Rhoda NR. Understanding the causes of preterm birth: solutions depend on context. The Lancet Global Health. 2019 ;7(8): e1000-e1.

ประไพรัตน์ แก้วศิริ, ศิริภรณ์ เหมะธุลิน, พิมลพรรณ อันสุข, และพรรณยุพา เนาว์ศรี. การส่งเสริมศักยภาพแก่สตรีตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด:บทบาทพยาบาล. ศรีนครินทร์เวชสาร 2563; 35(2) : 238-245.

ประภัทร วานิชพงษ์พันธุ์. คลอดก่อนกำหนด [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน2566]. เข้าถึงจาก: https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1346)

ศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. รายงานผู้ป่วยรายโรคปี พ.ศ 2563 –2565[อินทราเน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงจาก:http://somdetdata.moph.go.th/data_sys/report_/

กัญยา ทูลธรรม, และสุภาพร สุภาทวีวัฒน์. ปัจจัยที่มีผลต่อการคลอดก่อนกำหนด อัตราความถูกต้องครอบคลุมของแนวทางการดูแลรักษาสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และอัตราความสำเร็จในการยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดของโรงพยาบาลมหาสารคาม.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2566; 20(2): 75-88.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30