การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานแบบบูรณา โรงพยาบาลหนองหาน
คำสำคัญ:
ระบบการดูแล, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, บูรณาสู่ความเป็นเลิศบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานของสถานพยาบาลในโรงพยาบาลหนองหาน ศึกษาประสิทธิผลและความพึงพ่อใจต่อระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลหนองหาน ที่ได้พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างจำนวน 90 คน เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และไม่มีโรคแทรกซ้อนจากการป่วยเป็นโรคเบาหวาน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 45 คน กลุ่มทดลองใช้กับระบบการดูแลผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้น ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบใช้กับการดูแลแบบเดิม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย ระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน แบบสอบถาม และแบบบันทึกภาวะสุข ภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Chi-square test, Independent t-test และ Paired sample t-test
ผลการศึกษา พบว่า ระบบการดูแลผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย กระบวนการพยาบาลแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะ Pre-Hospital , In Hospital และ Post- Hospital ที่มีการจัดรูปแบบผ่านระบบการส่งต่อผู้ป่วยที่มีความรวดเร็วปลอดภัยและมีการบันทึกข้อมูลการดูแลที่สนับสนุนการรักษาพยาบาลต่อเนื่องครบถ้วน ผลการใช้ระบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า หลังการทดลอง ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีพฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้นทั้งโดยรวมและรายด้าน ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) ส่วนดัชนีมวลกาย และเส้นรอยเอว ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่ม พบว่า กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้นทั้งโดยรวมและรายด้าน ระดับน้ำตาลในเลือด ดัชนีมวลกาย ลดลงแตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) ส่วนเส้นรอบเอว ไม่แตกต่างกันทางสถิติ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับการดูแลด้วยระบบที่พัฒนาขึ้น ร้อยละ 86.7 มีความพึงพอใจมาก
References
อัมพา สุทธิจำรูญ. มาตรฐานคลินิกเบาหวานของประเทศไทย. วารสารเบาหวาน 2565; 54(1): 19-22.
วรรณี นิธิยานันท์. ไทยป่วยเบาหวานพุ่งสูงต่อเนื่องแตะ 4.8 ล้านคน ชี้ เนื่อยนิ่ง-อ้วน-อายุมาก' ต้นเหตุเอินเทอร์เน็ต. 2563 เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2564].เข้าถึงได้จาก: https://www. hfocus.org/content/2019/11/18014
American Diabetes Association. Standards ofmedical care for patients with diabetes mellitus. Diabetes care 2017; 30: S4-40.
สันต์ หัตถีรัตน์. การแพทย์ทางไกล. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.Go.th/news/view.asp? id= 2389
Wongprakomkul s. New Era of Healthcare through Business Ecosystem and Telehealth. Mahidol R2R e-Journal 2020; 7(2): 1-15.
Aberer F,Hochfellner D.A, Mader J K. Application of telemedicine in diabetes care: The Time is Now. Diabetes Ther 2021; 12: 629-39.
Borries TM, Dunbar A, Bhukhen A, Rismany J, Kitham J, Feinn R, et al. The impact of telemedicine on patient self-management processes and clinical outcomes for patients with Types I or II Diabetes Melitus in the United States: A scoping review. Diabetes Metab Syndr 2019;13(2): 1353-7.
ณัฐภัสสร เดิมขุนทด, รัชนีวรรณ ขวัญเจริญ, ชาญวัฒน์ ชวนตันติกมล , พิชญ์ พหลภาคย์, สว่างจิต สุรอมรกูล. ผลของการติดตามสุขภาพทางไกล ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และความสม่ำเสมอในการรับประทานยาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ดี. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2564; 65(ฉบับเพิ่มเติม): 75-89.
Dey, K P,, & Hariharan, S. Integrated approach to healthcare Quality management: A case study. The TQM Magazine 2006; 18(6). 583-605.
ธีรพจน์ ฟักน้อย. 2565. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานวิจัย.
Beckie T. A supportive-educative telephone program: impact on knowledge and anxiety after coronary artery bypass graft surgery. Heart Lung1989, 18: 46-55.
ศุภมิตร ปาณธูป. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ผิดนัด. อุตรดิตถ์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์. 2562..
มยุรี เที่ยงสกุล. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. สมุทรสงคราม: รายงานวิจัย. 2561.
นันทพร บุษราคัมวดี และยุวมาลย์ ศรีปัญญวุฒิศักดิ์..การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลนครนายก. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2555;5(2): 114-129.
Kinsella, A. Telehealth and home care nursing. mHome Healthcare Nurse 2010; 15(11): 796-797.