การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในเขตเทศบาลตำบลกุดสิม อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • สุวมน โพนสาลี พยาบาลวิชาชีพชานาญการ โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, การดูแลแบบมีส่วนร่วมในชุมชน, ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน (ADL)

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา แนวทางการพัฒนา และผลการใช้รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลกุดสิม อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในเขตเทศบาลตำบลกุดสิม จำนวน 91 คน เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2566 – 28 กุมภาพันธ์ 2567 รวมระยะเวลา 13 เดือน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน (Activities of Daily Living – ADL) แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุไทย (TGDS-15) แบบประเมินความพึงพอใจ ก่อน-หลังการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และเครื่องมือเชิงคุณภาพ แนวคำถามปลายเปิดด้านการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่สะท้อนถึงสาเหตุ ปัญหาการดูแลผู้สูงอายุ และแนวทางการแก้ไขปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบ pared t-test
     ผลการศึกษา พบว่า ปัญหาของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงส่วนมากพบ ความอ่อนแรงของแขนขา ร้อยละ 95.60 รองลงมาด้านความจำ ร้อยละ 63.74 และการมองเห็น ร้อยละ 59.34 ตามลำดับ กระบวนการพัฒนาประกอบด้วย ประกอบด้วย 6 มาตรการ ดังนี้ 1) การบูรณาการบริการด้านสาธารณสุข 2) สนับสนุนกลไกบริการด้านสังคมโดยชุมชน 3) บูรณาการงบประมาณร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4) กำหนดบทบาทหน้าที่คำสั่งคณะทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย 5) การสนับสนุนผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึงพิง อบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึงพิง และจัดทำแผนการดูแลรายบุคคล  6) การประเมินและรักษาผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงด้วยแนวทางที่ได้มาตรฐานและทันสมัย การทดสอบคะแนนความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน (ADL) คะแนนความเศร้าในผู้สูงอายุไทย (TGDS) และผลประเมินคะแนนความพึงพอใจ พบว่าดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 7.68, 2.68, 5.11)

References

กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ. รายงานสังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย, กรมกิจการผู้สูงอายุ.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์; 2564.

สำนักงานสถิติจังหวัดกาฬสินธุ์. รายงานสถานการณ์ ผู้สูงอายุจังหวัดกาฬสินธุ์. สำนักงานสถิติแห่งชาติ.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม; 2564.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. รายงานสถานการณ์ความครอบคลุม 3 หมอในผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ติดสังคม. ฐานข้อมูลสุขภาพ (HDC) จังหวัดกาฬสินธุ์. (2565) สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดกาฬสินธุ์; 2565.

โรงพยาบาลเขาวง. รายงานศูนย์ฐานข้อมูลสุขภาพในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์; 2564.

Jitapunkuls, et al. Disability Among Thai Elderly Living in Klong Toey Slum. J Med assoc Thai.1994 May 77:231 – 238.

Wongpakaran, T. (2012). prevalence of major depressive disorders and suicide in long-term care facilities: a report from Northern Thailand. Psychogeriatric, 12(1); 11-17.

เลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง. การพัฒนาโรงพยาบาลต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยแบบประคับประคองกรุงเทพมหานคร. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 2564 ; 17(1), 15-29.

บุษบา แพงบุปผา และ ชลทิศ อุไรฤกษ์กุล. รายงานการประเมินสถานการณ์สุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดย Software care plan. ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี; 2564.

นัทธมน หรี่อินทร์. การพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนด้วยกระบวนการ care management : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2563 ; 17(3), 85-93.

มธุรส สว่างบำรุง และ ธีรยุทธ วิสุทธิ. การจัดการชีวิตและภาวะพึ่งพิงเพื่อความสุขของผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 2567; 18(1), 128-142.

นงนุช แย้มวงษ์. คุณภาพชีวิตและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุที่มารับบริการในโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2564; 21(1), 37-44.

ผกามาศ พิมพ์ธารา, พรชัย จูลเมตต์, นัยนา พิพัฒน์วณิชชา. การศึกษานำร่องผลของโปรแกรมกระตุ้นศักยภาพสมองด้านการรู้คิดต่อการรู้คิดในผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในชุมชน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2565; 30(3), 1-12.

ชาญชัย เหลาสาร. การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบมีส่วนร่วมของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเวียง ตำบลกระเดียน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563; 29(5), 813-821.

อิสรีย์ ศิริวรรณกุลธร และคณะ. ความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้สูงอายุ คลินิกผู้ป่วยนอกเวชศาสตร์ครอบครัวโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2564 ; 29(1), 1-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30