การรับรู้ พฤติกรรมการป้องกันสุขภาพ และระดับกิจกรรมทางกายของประชากรวัยทำงานในจังหวัดสุโขทัยในช่วงสถานการณ์ฝุ่น PM2.5

ผู้แต่ง

  • นนทลี สันตินิยม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุโขทัย
  • ธีรวิทย์ อินต๊ะปัญญา อาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุโขทัย
  • ชัชชานนท์ พูลสวัสดิ์ อาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุโขทัย
  • ศักดาวุฒิ กาศวิบูลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุโขทัย
  • ปทิตตาท์ วงศ์แสงเทียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุโขทัย
  • วศิน ยะวงศ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุโขทัย

คำสำคัญ:

การรับรู้, พฤติกรรมการป้องกันสุขภาพ, กิจกรรมทางกาย, ฝุ่น PM2.5

บทคัดย่อ

     การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ พฤติกรรมการป้องกันสุขภาพ และระดับกิจกรรมทางกาย และศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการรับรู้ พฤติกรรมการป้องกันสุขภาพ และระดับกิจกรรมทางกายของประชากรวัยทำงานในจังหวัดสุโขทัยในช่วงสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.95 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 ร่วมกับแบบสอบถามระดับกิจกรรมทางกายขององค์การอนามัยโลก กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรวัยทำงานที่อาศัยหรือทำงานในจังหวัดสุโขทัยต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปี จำนวน 400 คน อายุเฉลี่ย 41.90±9.62 ปี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติ T-test, One way ANOVA และ Brown-Forsythe ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับการรับรู้ต่อสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ระดับการรับรู้ผลกระทบด้านสุขภาพจากสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 และพฤติกรรมการป้องกันสุขภาพจากฝุ่น PM2.5 อยู่ในระดับน้อย และมีกิจกรรมทางกายในระดับที่เพียงพอ (1,772.95±1,962.10 MET-นาทีต่อสัปดาห์) เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ ลักษณะสถานที่ทำงาน และโรคประจำตัวที่แตกต่างกันมีผลต่อการรับรู้สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ระดับการศึกษา อาชีพ ลักษณะสถานที่ทำงาน และการมีโรคประจำตัวที่แตกต่างกันมีผลต่อการรับรู้ผลกระทบด้านสุขภาพจากสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และลักษณะสถานที่ทำงานที่แตกต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันสุขภาพ และเพศ ระดับการศึกษา อาชีพ และลักษณะสถานที่ทำงานที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับกิจกรรมทางกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นจึงควรมีการกระตุ้นการรับรู้และสร้างความตระหนักถึงผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 รวมทั้งส่งเสริมการดูแลป้องกันตนเองเพื่อลดความเสี่ยงทางสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการได้รับฝุ่น PM2.5

References

อังศินันท์ อินทรกำแหง, กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย. รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การจัดทำสถานการณ์ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ. นครนายก: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2563.

ศรัณณ์พักตร์ แก้วเพชร. การรับรู้และพฤติกรรมการตอบสนองต่อฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (PM2.5): กรณีศึกษากลุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้างในเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 2565;8(1):237-50.

ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย. ผลกระทบของวิกฤตฝุ่น “PM2.5” และแนวทางการมีกิจกรรมทางกายที่ปลอดภัย [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2567 มกราคม 2]. เข้าถึงได้จาก https://tpak.or.th/th/article/669

PPTV Online. ค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐาน พบสุโขทัยสูงสุด [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2567 มกราคม 2]. เข้าถึง ได้จากhttps://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1/192165

วรัตม์ พิมพ์คต, ขันทอง ใจดี, บุญวัฒน์ สว่างวงศ์. การปฏิบัติตนในสภาวะฝุ่นละออง PM2.5 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2564;4(1):87-94.

Sukuman T, Ueda K, Sujaritpong S, Praekunatham H, Punnasiri K, Wimuktayon T, Prapaspongsa T. Health Impacts from PM2.5 Exposure Using Environmental Epidemiology and Health Risk Assessment: A Review. Applied Environmental Research. 2023;45(3):010.

สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. เปิดข้อมูลผลกระทบสุขภาพจากฝุ่น PM2.5 พบอายุ 45-54 ปีมีอาการมากที่สุด [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2567 มกราคม 2]. เข้าถึงได้จาก https://www.hfocus.org/content/2021/01/20941

กฤษณ์วรท จันทร์ศรี, ธนกฤต กลึงผล, ณัฐพล วิสุวงษ์, ทฤฒมน ศุภะผ่องศรี. การรับรู้และพฤติกรรมป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กของประชาชน: กรณีศึกษา บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา. 2563;35(1):41-55.

ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย. ผลการสำรวจโครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายของประชากรไทย ปี 2562. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2562.

กรมอนามัย. ฐานข้อมูลกลาง กรมอนามัย: วัยทำงาน [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2567 มกราคม 4]. เข้าถึงได้จาก https://dohdatacenter.anamai.moph.go.th/index.php?r=groupdata/index&group=1&id=3

ภัทรานิษฐ์ เหมาะทอง, วนิดา ทองโคตร, และสุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ์. การกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตร Yamane [อินเตอร์เน็ต]. มปป. [เข้าถึงเมื่อ 2567 มกราคม 4]. เข้าถึงได้จาก http://sc2.kku.ac.th/stat/statweb/images/Eventpic/60/Seminar/01_9_Yamane.pdf

เกศินี อิ่มแมน, ศักดิ์สิทธิ์ อิ่มแมน, จุฑามาศ ผลมาก, พัชรี วรกิจพูนผล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมการป้องกันฝุ่น PM2.5 ให้แก่เด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารวิจัยทางการพยาบาล การผดุงครรภ์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2566;43(1):146-56.

World Health Organization. Global Physical Activity Questionnaire (GPAQ) Analysis Guide [Internet]. n.d. [cited 2024 January 2]. Available form https://www.who.int/ncds/surveillance/steps/GPAQ_EN.pdf

ช่อนภา สิทธิ์ธัง. การสำรวจกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมเนือยนิ่งของบุคลากรสายสนับสนุนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 2020;3664.https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/3664

สมฤดี พงษ์เสนา. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม. 2562;13(3).94–107. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2019.48

หัทยา มาลัยเจริญ, ธานินทร์ สุธีประเสริฐ, ธนิฏฐา ทองนาค, วัชรินทร์ โกมลมาลัย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของประชาชนตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม. 2565;2(3):82-97. https://doi.org/10.35762/AER.2023010

ชนาพร เขื่อนเป๊ก, ทัศน์พงษ์ ตันติปัญจพร. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันการสัมผัสมลพิษทางอากาศของผู้ประกอบอาชีพมอเตอร์ไซค์รับจ้างในเขตอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ.2559;9(33):14-25.

ตรีรยา ศาลางาม, ฐิตาภรณ์ เหลืองวิลัย, วัฒน์ชัย จรุญวรรธนะ, ธนรักษ์ ผลิพัฒน์, เจษฎา คุณโน. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมต่อการป้องกันฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5): การศึกษาเชิงสำรวจเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง. 2566;8(2):81-94.

กฤชพล อาษาภักดี, ชัยรัตน์ ชูสกุล. การศึกษากิจกรรมทางกายของบุคลากรวัยทำงาน ระดับอุดมศึกษาในจังหวัดมหาสารคาม: สถานการณ์ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา. 2565;22(1):127-40. DOI: https://doi.org/10.14456/jsst.2022.10

มณเฑียร ทองนพคุณ, ยุวดี ลีลัคนาวีระ, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมทางกายของคนวัยทำงานในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2562;33(1):73-91.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30