ผลของการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะกลืนลำบาก

ผู้แต่ง

  • โฉมพิไล นันทรักษา โรงพยาบาลศรีนครินทร์
  • ภัทรา วัฒนพันธุ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รุ่งทิวา ชอบชื่น ข้าราชการบำนาญ

คำสำคัญ:

การดูแลสุขภาพช่องปาก, สูงอายุ, ภาวะกลืนลำบาก

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะกลืนลำบากที่เข้ารับบริการในคลินิกกลืนลำบาก ห้องตรวจเวชศาสตร์ฟื้นฟู งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ซึ่งเป็นการศึกษาย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยในระบบ Health Object ของโรงพยาบาล และแบบบันทึกข้อมูลภาวะสุขภาพช่องปากของผู้ป่วย ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยมีเกณฑ์คัดเข้าคือเป็นผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะกลืนลำบาก เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และภาวะความเจ็บป่วย แบบประเมินสุขภาพช่องปาก (Oral Health Assessment Tool: OHAT)
     ผลการศึกษา ผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะกลืนลำบาก จำนวน 37 ราย คิดเป็นร้อยละ 33 ของผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้ารับบริการในคลินิกกลืนลำบาก ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 55 มีอายุอยู่ในช่วง 60-69 ปี ร้อยละ 63 รองลงมาคือช่วง 70-79 ปี ร้อยละ 37 ส่วนใหญ่สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 78 อีกทั้งผู้ดูแลเป็นบุตรและคู่สมรส ร้อยละ 83 ผู้ป่วยมีภาวะกลืนลำบากจากโรคหลอดเลือดสมอง ร้อยละ 83 เนื้องอกและมะเร็งที่ศีรษะและใบหน้า ร้อยละ 17 ส่วนใหญ่ให้อาหารทางสายยาง ร้อยละ 67 ผู้ป่วยเคยมีประวัติปอดอักเสบ 1-2 ครั้งในรอบ 1 ปี ร้อยละ 75 ส่วนใหญ่มีวิธีการทำความสะอาดช่องปากโดยการใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำยาบ้วนปากเช็ดทำความสะอาด ร้อยละ 70.1 รองลงมาคือการแปรงฟันร้อยละ 21.2 และร้อยละ 100 ไม่เคยพบทันตะแพทย์ในระยะเวลา 3 - 6 เดือนที่ผ่านมา ก่อนการให้ข้อมูลและสอนสาธิตการดูแลสุขภาพช่องปากพบว่า ส่วนใหญ่มีค่าคะแนนสุขภาพช่องปาก (OHAT) 1 - 8 คะแนน ร้อยละ 83 ค่าคะแนน 9 - 16 ร้อยละ 17 และติดตามผลเมื่อผู้ป่วยมาติดตามผลการรักษาในนัดถัดมาพบว่า ผู้ป่วยและญาติให้ความสำคัญและมีทัศนคติที่ดีในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก มีค่าคะแนนสุขภาพช่องปาก (OHAT) ดีขึ้น ร้อยละ 100 โดยเฉพาะ ลิ้นไม่มีอะไรปกคลุม (Coated) และช่องปากสะอาดชุ่มชื้น ผู้ป่วยมีความมั่นใจในการมีปฏิสัมพันธ์มากขึ้นจากการที่มีสุขภาพช่องปากที่ดี

References

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล สารประชากร. ประชากรและสังคมผู้สูงอายุ. [อินเทอร์เน็ต] 2564. [เข้าถึงเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงจาก

https://www.ipsr.mahidol.ac.th/Contents/Documents/Gazette2021TH. Pdf (mahidol.ac.th)

Perry L, Love CP. Screening for dysphagia and aspiration in acute stroke: a systematic review. Dysphagia 2001;16(1):7-18.

ปิยะภัทร เดชพระธรรม. ปัญหาการกลืนในผู้สูงอายุ (Dysphagia in Elderly). J Thai Rehabil Med 2013; 23(3): 73-80.

ออนอง มั่งคั่ง. เอกสารประกอบการบรรยายการเปลี่ยนแปลงของสภาพช่องปากในผู้สูงอายุ. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2564

สำนักทันตสาะรณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปาแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: บริษัทสามเจริญพานิชย์ (กรุงเทพ); 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30