ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และดัชนีมวลกาย ของวัยผู้ใหญ่ในจังหวัดสุโขทัย
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการออกกำลังกาย, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร , ดัชนีมวลกายบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และดัชนีมวลกาย ของวัยผู้ใหญ่ในจังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยผู้ใหญ่ ที่มีอายุ 19 – 59 ปี ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุโขทัย จำนวน 417 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกายและพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ที่ผ่านการวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า ความสัมพันธ์ของดัชนีมวลกายและพฤติกรรมการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.340, p=0.00) ดัชนีมวลกายมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการการบริโภคอาหาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.210, p=0.00) และพฤติกรรมการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการการบริโภคอาหาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.455, p=0.00)
References
พรชัย อนิวรรตธีระ. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2567 มกราคม 16]. เข้าถึงได้จาก https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/ดัชนีมวลกายเท่าไหร่/.
เบญจพร นันทสันติ. โรงพยาบาลพญาไท 3 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2567 มกราคม 16]. เข้าถึงได้จาก https://www.phyathai.com/th/article/3000-คุณกำลังเป็น_โรคอ้วน/.
ศุภลักษณ์ ทองขาว,นิภา กิมสูงเนิน, และ รัชนี นามจันทรา. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้วัยผู้ใหญ่ตอนต้น. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2564;32(4):73 – 88.
ลักษณา พงษ์ภุมมา, ขวัญตา เพชรมณีโชติ, เชษฐา แก้วพรม, และเมทณี ระดาบุตร. ผลของโปรแกรมการสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจต่อความรู้พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองและดัชนีมวลกายในวัยผู้ใหญ่ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2563;14(1):21 – 31.
กรมอนามัย. ฐานข้อมูลกลาง กรมอนามัย: วัยทำงาน [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2567 มกราคม 12]. เข้าถึงได้จาก https://dohdatacenter.anamai.moph.go.th/index.php?r=groupdata/index&group=1&id=3.
ภัทรานิษฐ์ เหมาะทอง, วนิดา ทองโคตร, และสุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ์. การกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตร Yamane [อินเตอร์เน็ต]. มปป. [เข้าถึงเมื่อ 2567 มกราคม 13]. เข้าถึงได้จาก http://sc2.kku.ac.th/stat/statweb/images/Eventpic/60/Seminar/01_9_Yamane.pdf
กระทรวงสาธารณสุข. กลุ่มรายงานมาตรฐาน:วัยทำงาน [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2567 เมษายน 17]. เข้าถึงได้จากhttps://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?catid=46522b5bd1e06d24a5bd81917257a93c
มงคล รัชชะ, จักรกฤษ เสลา, และ อนุ สุราช. การประเมินระดับความร้อนและผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสความร้อนของผู้ประกอบอาชีพในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2564;24(2): 87 – 100.
นางชลลดา บุตรวิชา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกําลังกายของผู้สูงอายุในชมรมเสริมสร้างสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. [ปริญญานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก; 2561.
วิกรม สวาทพงษ์. พฤติกรรมการสร้างสุขภาพด้านการออกกำลังกายของประชาชนวัยผู้ใหญ่ตอนกลางในเขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2557.
เกษณี สุขพิมาย, ธราดล เกงการพานิช, มณฑา เกงการพานิช, และ ประสิทธิ์ ลีระพันธ. ปจจัยที่มีความสัมพันธกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกําลังกายของกลุมเสี่ยงโรคอวนลงพุง. วารสารสุขศึกษา. 2555:35(122): 2 – 14.
กุลธิดา เหมาเพชร, คมกรชิ เชาว์พานิช, พรเพ็ญ ลาโพธิ์, และ วาสิฏฐี เทียมเท่าเกิด. พฤติกรรมการออกกําลังกายของบุคลากร ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน; 2555.
ธีรวีร์ วราธรไพบูลย์. พฤติกรรมการบริโภค: อาหารนิยมบริโภคกับอาหารเพื่อสุขภาพ. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 2557:5(2):255 – 264.
ภัททิรา ก้านทอง, ชัยณรงค์ เลขราบ, ฐิมาพร วงศ์ศิริ, เพียงพักตร์ โมกภา, และ ทิพวารินทร์ พิมล. รูปแบบพฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2562:37(1):118 – 127.
เมธินี แหล่งหล้าเลิศสกุล, นิรัตน์ อิมามี, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, และ ธราดล เก่งการพานิช. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จังหวัดภูเก็ต. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2556:43(1):55 – 67.
ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง, จิราพร วรวงศ์, อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, และ พรพรรณ มนสัจจกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย ของผู้ใหญ่วัยกลางคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินในชนบท. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2563:14(35):464 – 482.
โกศล ศรีบัวทอง. ความสัมพันธระหวางความรู ทัศนคติทางพลศึกษาที่มีผลตอพฤติกรรมการออกกําลังกายของครู และบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกระทุมแบน [ปริญญานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ; 2564.
ชนิษฐา อัตนาโถ, และอมรรัตน์ เจริญชัย. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริโภคอาหารกับค่าดัชนีมวลกายของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง. 2562:63(1):41 – 54.