ผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครือข่ายบริการโรงพยาบาลนครชัยศรี

ผู้แต่ง

  • ภัทระ ศุภโชติชัย นายแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

การดูแล, ผู้ป่วยเบาหวาน, ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง, เครือข่ายบริการโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครือข่ายบริการโรงพยาบาลนครชัยศรีและศึกษารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครือข่ายบริการโรงพยาบาลนครชัยศรี มีระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย ระหว่าง เดือน มกราคม ถึงเดือน มีนาคม พ.ศ.2567  จำนวน 3 เดือน เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และDependent t – test
     ผลการศึกษาพบว่า หลังดำเนินการ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ปกติ ร้อยละ 59.1 และ ผู้ป่วยเบาหวาน ปกติ ร้อยละ 78.2 ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ของบุคลากรเครือข่ายบริการโรงพยาบาลนครชัยศรี โดยรวมและรายข้อ อยู่ในระดับมากที่สุดและสภาวะสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ของบุคลากรเครือข่ายบริการโรงพยาบาลนครชัยศรี ก่อนและหลังการดำเนินงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่ หลังดำเนินการมีสภาวะสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ของบุคลากรเครือข่ายบริการโรงพยาบาลนครชัยศรี ดีกว่าก่อนการดำเนินการ

References

นันทกร ทองแตง.(2562). โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรค NCDs). https://www.si.mahidol.ac.th/th/ healthdetail.asp?aid=1371

กรมควบคุมโรค (2563). รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562 สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์

กรมควบคุมโรค.(2565). กรมควบคุมโรค เผยสถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลก มีผู้ป่วยแล้ว 537 ล้านคน มีส่วนทำให้เสียชีวิต สูงถึง 6.7 ล้านคน หรือเสียชีวิต 1 ราย ในทุกๆ 5 วินาที. กองโรคไม่ติดต่อ /สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย

ประภา ราชา, จารุภา คงรส, และธนพร สดชื่น. (2563). การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19. วารสารแพทย์เขต 4-5, 39(3), 414-426.

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยเรื่อง พัฒนารูปแบบการให้บริการวิถีใหม่สำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(เบาหวานและความดันโลหิตสูง)

Best, John W.(1981). Research in Education. 4 th ed. New Jersey: Prentice-Hall, 1981

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: บี แอนด์ บี พลับบิชชิ่ง, 2542.

อนุชา วรหาญ.(2561) การพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลเลาขวัญ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. ปีที่ 12 ฉบับที่ 27 (2018): มกราคม-เมษายน 2561

กระทรวงสาธารณสุข. (2556) แนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) (DM, HT, COPD, STROKE). กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.(2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ.2560. ปทุมธานี: บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด.

จุฑาพงศ์ เตชะสืบ วราภรณ์ บุญเชียง รังสิยา นารินทร์.(2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน. พยาบาลสาร ปีที่ 47 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน พ.ศ. 2563

วิรัชฎา มะมา.(2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชนโรงพยาบาลส่งเสริมุขภาพตาบลดงมูลเหล็ก อาเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม– ธันวาคม 2563

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30