การประเมินผลการเสริมสร้างความเข้าใจในการดำเนินงาน GREEN & CLEAN Hospital Challenge แบบมีส่วนร่วม จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • เกษศิริ เจือจันทึก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

ความเข้าใจ, การดำเนินงาน GREEN & CLEAN Hospital Challenge, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

     การศึกษา การประเมินผลการเสริมสร้างความเข้าใจในการดำเนินงาน GREEN & CLEAN Hospital Challenge แบบมีส่วนร่วม จังหวัดหนองคาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดำเนินงาน GREEN & CLEAN Hospital Challenge จังหวัดหนองคายและการเสริมสร้างความเข้าใจในการดำเนินงาน GREEN & CLEAN Hospital Challenge แบบมีส่วนร่วม จังหวัดหนองคาย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) มีระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ ถึง เมษายน 2567 รวม 3 เดือน เก็บข้อมูลจากแบบสรุปรายงาน และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ F – test ด้วยเทคนิค Two way ANOVA
     ผลการศึกษา พบว่า ข้อมูลทั่วไปเครือข่ายในการดำเนินงาน GREEN & CLEAN Hospital Challenge แบบมีส่วนร่วม จังหวัดหนองคาย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.6 สมรส ร้อยละ 52.2 จบปริญญาตรี ร้อยละ 56.5 เป็นสหวิชาชีพและอื่นๆ ร้อยละ 30.0 เท่ากัน และอยู่ในโรงพยาบาลชุมชน ร้อยละ 61.1 ความเข้าใจของเครือข่ายในการดำเนินงาน GREEN & CLEAN Hospital Challenge แบบมีส่วนร่วม จังหวัดหนองคาย พบว่า โดยรวมและรายข้อ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด และความเข้าใจของเครือข่ายในการดำเนินงาน GREEN & CLEAN Hospital Challenge แบบมีส่วนร่วม จังหวัดหนองคาย ระหว่างการศึกษาและตาแหน่งที่ต่างกัน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน

References

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2566). คู่มือแนวทางการดำเนินงานGREEN & CLEAN Hospital Challenge (GCHC) สำหรับโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ บริษัทมินนี่ จำกัด

ธิติลักษณ์ พัฒเพ็ง. (2561).กระบวนการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังแสง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน,ผลงานวิชาการ งานมหกรรมวิชาการสาธารณสุข ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม ปี 2561[ออนไลน์].ได้จาก http://mkho.moph.go.th/research2018/.

Best, J. W. (1977). Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice hall Inc.

Kemmis, S. and McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer. 3rd ed. Victoria, Australia: Deaken University Press.

นริศรา นพคุณ สุรพงษ์ ชูเดช.(2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์ GREEN & CLEAN Hospital ของบุคลากรโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 14(4). 12-23.

อำพรรณ จันทโรกรและคณะ.(2560). การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีจริยธรรมเพื่อลดภาวะโลกร้อน โดยหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลตติยภูมิภาคใต้. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 37(3),121-133.

วิมลรัตน์ ภูผาสุข. (2560). “การพัฒนาเกณฑ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัด กาฬสินธุ์,” วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 7(1), 153-164.

ศรัญรัตน์ ธานี และ เทิดศักดิ์ พรหมอารักษ์.(2566). การพัฒนารูปแบบดำเนินงานโรงพยาบาล GREEN and CLEAN Hospital ของโรงพยาบาลน้าขุ่น อำเภอน้าขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราขธานี. 12(1). 5-14

เกศราพร แก้วลาย (2561).การพัฒนารูปแบบอนามัยสิ่งแวดล้อมโรงพยาบาลวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. ผลงานวิชาการ งานมหกรรมวิชาการสาธารณสุข ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม ปี 2561[ออนไลน์].ได้จาก http://mkho.moph.go.th/research2018/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30