การพยาบาลผู้ป่วยโรคต้อกระจกระยะสุกงอมร่วมกับมีภาวะความดันลูกตาสูง: กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
การพยาบาล, โรคต้อกระจกระยะสุกงอม, ภาวะความดันลูกตาสูงบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศึกษาการใช้กระบวนการพยาบาลผู้ป่วยโรคต้อกระจกระยะสุกงอมร่วมกับมีภาวะความดันลูกตาสูง เป็นการศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประวัติการเจ็บป่วย มีการกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล โดยใช้แนวคิดแบบประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน เพื่อค้นหาปัญหาผู้ป่วย กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล เพื่อวางแผนปฏิบัติการพยาบาลตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล สรุปและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล
ผลการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้เปรียบเทียบกรณีศึกษาผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคต้อกระจกระยะสุกงอมร่วมกับมีภาวะความดันลูกตาสูง (Phacolytic glaucoma) กรณีศึกษาที่ 1 ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 70 ปี มาด้วยอาการ ปวดตาซ้าย 1 สัปดาห์การมองเห็นตาซ้าย VA HM (Hand movment) ความดันลูกตา(IOP) 32 mmHg Conjunctiveal injection, Anterior chamber deep, Lens mature แพทย์วินิจฉัยเป็น Phacolytic glaucoma LE ได้รับยาลดความดันลูกตาและลดอักเสบ ติดตามอาการต่อเนื่อง ความดันลูกตาอยู่ในเกณฑ์ปกติ ประวัติโรคประจำตัว มี CKD DM ได้รับผ่าตัดต้อกระจก ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2566 หลังผ่าตัดมองเห็นมัวแต่ดีขึ้นกว่าเดิม ติดตามอาการต่อเนื่อง ไม่มีภาวะแทรกซ้อน กรณีศึกษาผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 56 ปี มาด้วยอาการ ตาแดงปวดตาข้างขวาก่อนมาโรงพยาบาล 1 สัปดาห์ การมองเห็นตาขวา VA=PL (perception of light) ความดันลูกตา(IOP) 42 mmHg Conjunctiveal injection, Anterior chamber พบ Cell 3+ A/c deep, Lens mature แพทย์วินิจฉัยเป็น Phacolytic glaucoma RE ได้รับยาลดความดันลูกตาและลดอักเสบ ติดตามอาการต่อเนื่อง ความดันลูกตาอยู่ในเกณฑ์ปกติ ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกเปลี่ยนใส่เลนส์เทียม 13 พฤศจิกายน 2566 หลังผ่าตัด 2 สัปดาห์ มีตามัวมากขึ้น ตามัวข้างขวาเนื่องจาก หยอดตาไม่ตรงเวลา ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย มีโรคเหมือนกัน การรักษาเหมือนกัน ต่างกันที่อายุและพยาธิสภาพของตาไม่เหมือนกันรายที่ 1 ข้างซ้าย รายที่ 2 ข้างขวา
References
กนกพร อริยภูวงศ์, ศุภพร ไพรอุดม, ทานตะวัน สลิ่วงศ์. (2562)ผลของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลสุโขทัย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี:2(3):17-30.
งามจิตต์ เกษตรสุวรรณ. (2556). โรคของแก้วตา ตำราจักษุวิทยา สำหรับนิสิตแพทย์และแพทย์เวชปฏิบัติ
ผกามาศ ศรีหะชัย.(2559) ผลการผ่าตัดต้อกระจกแผลเล็กสำหรับต้อชนิดสุกงอม ในโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลปราสาท จังหวัดสุรินทร์.วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า; 33(2): 129-137.
รังสรรค์ คีละลาย, ประเสริฐ ประสมรักษ์.(2560) ผลของรูปแบบการส่งเสริมการดูแลตนเองในชุมชนของผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจก ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลนากอก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. วารสารการพัฒนาสุขภาพ-ชุมชน มหาวิทยาลัยชอนแก่น;5(2):241-58.
วันดี โภคะกุล. (2565). โรคตาในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุรเกียรติ อาชานานุภาพ.(2010) หนังสือตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2: ต้อกระจก (cataract). กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบ้าน;
ผกามาศ ศรีหะชัย. (2559). ผลการผ่าตัดต้อกระจกแผลเล็กสำหรับต้อชนิดสุกงอม ในโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบพระปกเกล้า, 33(2), 129–37.
อมราภรณ์ ลาภชูรัต.(2561) ผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมและป้องกันภาวะแทรกช้อนจากการผ่าตัดต่อความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้สูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11;32(3):1099-112.
Balan R, Raju KV. (2012). A Comparative Study of Endothelial Cell Loss In Small Incision Cataract Surgery and Phacoemulsification. Kerala J Ophthalmol. 24, 63-5.
โรงพยาบาลขอนแก่น. รายงานสถิติประจําปี2566.งานเวชระเบียน โรงพยาบาลขอนแก่น ; 2566