คุณภาพการให้บริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
คำสำคัญ:
คุณภาพการให้บริการ, การตัดสินใจใช้บริการ, การแพทย์ฉุกเฉินบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพบริการ 5 ด้านและการตัดสินใจใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน โดยใช้ RATER MODEL ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 79 คน คำนวณโดยใช้ Sample tool application วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา และ Multiple Regression Analysis
สรุปผลการวิจัย (1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง กลุ่มอายุ 61 ปี ขึ้นไปมากที่สุด รายได้ ส่วนใหญ่ พอใช้ (2) ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับคุณภาพที่ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน พบว่าเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านความเป็นรูปธรรม ที่สุด รองลงมา คือ ด้านการให้ความเชื่อมั่น ด้านความน่าเชื่อถือหรือไว้วางใจด้านการเอาใจใส่ของเจ้าหน้าที่ และด้านการตอบสนองความต้องการ ตามลำดับ (3) ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับการตัดสินใจใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การแนะนำผู้อื่นใช้บริการหน่วยกู้ชีพของโรงพยาบาลเมื่อมีเหตุเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุฉุกเฉิน รองลงมาคือ การให้บริการที่ตอบสนองความต้องการ พฤติกรรมการให้บริการของเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่มีความรู้ ความสามารถ เครื่องมือ อุปกรณ์ ช่วยเหลือ ที่พร้อมใช้งาน และการให้บริการที่รวดเร็ว ตามลำดับ (4) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า คุณภาพที่ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ด้านการให้ความเชื่อมั่นและด้านการเอาใจใส่ของเจ้าหน้าที่ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งยอมรับสมมติฐาน ส่วนด้านความเป็นรูปธรรมด้านความน่าเชื่อถือหรือไว้วางใจและด้านการตอบสนองความต้องการ ไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
References
พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน, 2551. (2551). (2551, 23 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125/ ตอนที่44 ก, หน้า 1.
วิชัย โชควิวัฒน. (2564). พัฒนาการโดยสังเขปของระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ในประเทศไทย. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย ปีที 1 ฉบับที 1 มกราคม - มิถุนายน 2564.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2564). สถานการณ์และแนวโน้มสุขภาพและการแพทย์ฉุกเฉิน (ระดับโลกและประเทศไทย). สืบค้นวันที่ 10 มีนาคม 2567 จาก https://www.niems.go.th.
ธีระ ศิริสมุดและคณะ. (2565). การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสู่ภาวะปกติใหม่ (EMS new normal) : แนวทางเพิ่มประสิทธิภาพด้านเวลาในการเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตในประเทศไทย. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. สืบค้นวันที่ 2 มกราคม 2567 จาก https://www.niems.go.th › EBook PDF.
โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่. (2566). ทะเบียนงาน EMS ของหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2566). ตัวชี้วัดการดำเนินงาน. สืบค้นวันที่ 10 มีนาคม 2567 จาก https://www.niems.go.th.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (Spring 1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Marketing, 64, 12-40.
ขวัญกัลยา ปุนนา. (2567). แบบสอบถามความคิดเห็นด้านคุณภาพการให้บริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน.
ทิวัตถ์ มณีโชติ. (2549). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
Clawson, J.G., Kotter, J.P., Faux, V.A., & McArthur, C.C. (1992). Self-assessment and career development 3rd ed. NJ: Prentice-Hall Inc.
ปารวี ศรีอุบล. (2548). ความคิดเห็นและพฤติกรรมในการซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยวในตลาดอิน โดจีน จังหวัดมุกดาหาร.การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พูนพงศ์ สุขสว่าง. (2563, 24 กันยายน). Multiple Regression Analysis: MRA. [วิดีโอ]. ยูทูบ. https://www.youtube.com/watch?v=WiBELjgYNDI
Kline, R. B. (2011). Principles and practice of structural equation modeling (3rd ed.). Guilford Press. p.63.
ลัดดาวัลย์ สำราญรอดและตรีรัตน์ กองยอด. (2565). แนวทางพัฒนาคุณภาพบริการและประสิทธิภาพบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการการซ้ำของผู้ใช้บริการไปรษณีย์หางน้ำสาคร อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, ชัยนาท.
ธงชัย อามาตยบัณฑิต. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ของผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วนและวิกฤติ ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข. ปีที่ 26 ฉบับที่ 5 กันยายน- ตุลาคม 2560. หน้า 883.
Ahmed Ramdan M. Alanazy, Stuart Wark, John Fraser, and Amanda Nagle. (2019). Factors Impacting Patient Outcomes Associated with Use of Emergency Medical Services Operating in Urban Versus Rural Areas: A Systematic Review. NIH. Retrieved on February 2, 2024 from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6572626/.
สุรภา ขุนทองแก้ว. (2562). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2562 หน้า 30.