การพัฒนาเครือข่ายดูแลผู้ป่วยติดเตียงตามแนวทาง หมอ 3 คน โรงพยาบาลบ้านแพง จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • วิทยา บุตรสาระ โรงพยาบาลบ้านแพง จังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

การพัฒนาเครือข่าย, ผู้ป่วยติดเตียง, หมอ 3 คน

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและสภาวะสุขภาพของผู้ป่วยติดเตียง และพัฒนาเครือข่ายดูแลผู้ป่วยติดเตียงตามแนวทาง หมอ 3 คน โรงพยาบาลบ้านแพง จังหวัดนครพนม เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีระยะเวลาในการศึกษา ระหว่าง เดือน ตุลาคม 2565 - กันยายน 2566 รวม 12 เดือน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามและเวชระเบียน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน F – test ด้วยเทคนิค One way ANOVA และ Dependent t – test
     ผลการศึกษา พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแลที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยติดเตียง โรงพยาบาลบ้านแพง จังหวัดนครพนม ความรอบรู้ด้านสุขภาพความสุข 5 มิติของผู้ดูแล ผู้ป่วยติดเตียง โรงพยาบาลบ้านแพง จังหวัดนครพนม ความรอบรู้ด้านสุขภาพความสุข 5 มิติของผู้ดูแล ผู้ป่วยติดเตียง โรงพยาบาลบ้านแพง จังหวัดนครพนม ความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกับการดูแลผู้ป่วยติดเตียง โรงพยาบาลบ้านแพง จังหวัดนครพนม และความรอบรู้ด้านสุขภาพของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกับการดูแลผู้ป่วยติดเตียง โรงพยาบาลบ้านแพง จังหวัดนครพนม หลังดำเนินการ แตกต่างจากก่อนการดำเนินการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่ หลังดำเนินการ ดีกว่าก่อนการดำเนินการ

References

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) (2559). คู่มือระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุ ที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Long Term Care) ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2561). แนวทางปฏิบัติ เรื่องการรับเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจ่ายเงินค่าบริการสาธารณสุขสำหรับการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่มีภาวะพึ่งพิง และค่าบริการสาธารณสุขจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ของหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) (2550). คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

สำนักสื่อสารและประชาสัมพันธ์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ . (2566). 3 หมอ “คนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน”https://prgroup.hss.moph.go.th/ article/ 1175-3-หมอ-“คนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว-3-คน”

Best, John W. (1981). Research in Education. 4 rd ed. Englewood.Cliff, N.J. : Prentice Hall.

บุศยมาส ชีวสกุลยง และคณะ. 2556. การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองPalliative care. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัทกลางเวียงการพิมพ์, เชียงใหม่.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.(2563). คู่มือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง และระยะสุดท้าย (ฉบับบุคลากรทางการแพทย์) สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์

กมลพร สกุลพงศ์ และคณะ. การพัฒนารูปแบบการดูแลแบบประคับประคองที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง: กรณีศึกษาบ้านปันรัก สุราษฎร์ธานี. วรสารการพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ปีที่ 27 ประจำเดือนธันวาคม 2560 หน้า 90-1039. โรงพยาบาลสงฆ์กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2551. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาแบบประคับประคอง. สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข 2556. คู่มือปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด กรุงเทพมหานคร

ชาญชัย เหลาสาร กัลยา ไชยสัตย์ วชิราภรณ์ วิทยาขาว.(2563). การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบมีส่วนร่วมของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเวียง ตำบลกระเดียน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 29(5). 813-21

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30