การพัฒนาระบบบริการสุขภาพเพื่อรองรับการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ภายใต้การบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติการและระบบการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุข โดยทีมปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย COVID Alert Team

ผู้แต่ง

  • พชรวรรณ คูสกุลรัตน์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
  • กาญจนา จันทะนุย โรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ระบบบริการสุขภาพ, ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

บทคัดย่อ

     การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและประเมินผลระบบบริการสุขภาพเพื่อรองรับการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ภายใต้การบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติการและระบบการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขโดยทีมปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย COVID Alert Team ผู้ให้ข้อมูลหลัก คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย ผู้บริหารและทีมปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยตามคำสั่งศูนย์ EOC ระดับจังหวัดและอำเภอทีมบุคลากรทีมสหวิชาชีพ ตามแนวคิด 6 เสาหลักด้านสุขภาพ ขอบเขตวิจัย คือ โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 13 แห่ง ระยะเวลาวิจัย เดือน กุมภาพันธ์ 2564 – พฤษภาคม 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบประเมินและแบบสรุปผลการดำเนินงาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา
     ผลการศึกษา พบว่า จากการดำเนินงาน ครั้งที่ 1และ 2 พบว่า 1) ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเฉพาะโรค ได้รับการรักษาตามแนวทางปฏิบัติและ จำหน่ายตามแผนการรักษา ร้อยละ 94.58,95.83 มีอาการเปลี่ยนแปลงร้อยละ 9.58,4.17 ส่งต่อ รพ.แม่ข่ายร้อยละ100,100 2) ผู้ป่วยรพ. สนาม,ศูนย์พักคอยได้รับการรักษาตามแนวทางปฏิบัติและจำหน่ายตามแผนการรักษา ร้อยละ 96.11,96.46 มีอาการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 3.89,3.54 ย้ายเข้า รับการรักษาในหอผู้ป่วยเฉพาะโรค ร้อยละ 100,100 3) ผู้ป่วย Home Isolation ได้รับการรักษาตามแนวทางปฏิบัติและจำหน่ายตามแผนการรักษา ร้อยละ 95.83,97.27 มีอาการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ . 4.17, 2.73 ย้ายเข้ารักษา รพ.สนาม และเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเฉพาะโรค ได้ทันเวลา ร้อยละ 100,100

References

World Health Organization. COVID 19 Public health emergency of international concern (PHEIC) global research and innovation forum: towards a research roadmap [Internet]. [cited 2021 Jan 30]. Available from: https://www.who.int/publications/m/item/ covid-19-public-health-emergency-of-international-concern-(pheic)-global-research-and-innovation-forum

Division of Disease Control and Emergency Health Hazards. Development Plan for Public Health Emergency Management

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19.สถานการณ์โควิด-19 ในบุคลากรทางการแพทย์ในการแถลงข่าวของ ศบค. วันที่ 9 เมษายน 2563 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: ตึกสันติ- ไมตรีทำเนียบรัฐบาล; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 14 ม.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก : https://www.youtube.com/watch?v=kTYsmceJhgY

กระทรวงสาธารณสุข. หลักการบริหารจัดการสถานพยาบาลทางระบาดวิทยา 4 ด้าน ในการเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาลรองรับ COVID-19. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข ; 2563.

World Health Organization. Monitoring the Building Blocks of Health Systems: A Handbook of Indicators and Their Measurement Strategies. Geneva: WHO Document Production Services; 2010.

Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planer(3Rd) ed. Victoria : Deakin University; 1988.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน). แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการโรงพยาบาลเฉพาะกิจ COVID-19 ฉบับวันที่ 1 พฤษภาคม 2563. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน); 2563.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัยดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง 28 มกราคม 2564. นนทบุรี: กรมการแพทย์; 2564.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม(กรณีมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในวงกว้าง). นนทบุรี: กรมการแพทย์; 2564.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัยดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 18 วันที่ 17 เมษายน 2564. นนทบุรี: กรมการแพทย์; 2564.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัยดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์ และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง ครั้งที่19 วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564. นนทบุรี: กรมการแพทย์; 2564.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. การจัดบริการ Home Isolation กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 1 มกราคม 2565. นนทบุรี: กรมการแพทย์; 2565.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัยดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์ และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 20 วันที่ 1 มีนาคม 2565. นนทบุรี: กรมการแพทย์; 2565.

ธีรพร สถิรอังกูรและคณะ,การพัฒนารูปแบบการบริหารทางการพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข: วารสารวิชาการสาธารณสุข ;2564,30( 2) ; 320-332.

เกษร แถวโนนงิ้วและคณะ,การประเมินความพร้อมระบบตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขในระดับจังหวัดและอำเภอ เขตสุขภาพที่ 7 : กรณีศึกษาการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ปี 2559 .วารสารควบคุมโรค 2560; 43(4) ; 448-459.

ชุลีกร ธนธิติกร. ระบบและประสิทธิผลการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ : กรณีศึกษาหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ กรมควบคุมโรค. วารสารควบคุมโรค 2564; 47(2) ; 1138-1150.

สุปิยา วิริไฟ และพิมลดา ลัดดางาม,การแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) : แนวทางการให้คำแนะนำผู้ติดเชื้อโควิด-19.วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2565; 16(2) ; 597-611.

ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ .Public Health 101 Lecture note ด้านสาธารณสุข.สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนดีไซน์ กรุงเทพฯ.

ธนรักษ์ ผลิพัฒน์และคณะ.กรอบแนวทางการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติภาวะฉุกเฉินและระบบบัญชาการเหตุการณ์ในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข กรมควบคุมโรค พ.ศ.2559-2564(ฉบับปรับปรุง) นนทบุรี : สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ; 2559

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30