ผลของโปรแกรมการส่งเสริมแรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปี อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
โปรแกรมการส่งเสริมแรงจูงใจ, การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental) แบบ 2 กลุ่มมีการทดสอบวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Two group pre-post test research design) วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมแรงจูงใจในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกต่อการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปีในอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่สตรีอายุ 30-60ปีที่ไม่เคยเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอาศัยอยู่ในอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 84 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 42รายและกลุ่มทดลอง 42 รายกลุ่มควบคุมได้รับการบริการตามปกติกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมแรงจูงใจในการป้องกันโรคโดยประยุกต์จากทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคของโรเจอร์ เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการส่งเสริมแรงจูงใจในการป้องกันโรคฯ 3 ขั้นตอน 6 กิจกรรม แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ 4 ด้านวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Chi-Square test,Paired t-test
ผลการวิจัย : ผู้ป่วยกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมฯ มีค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ 4 ด้านมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<.05) และการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)
References
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2562). แผนยุทธศาสตร์สถาบันมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ. 2562 – 2565. กรุงเทพฯ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ.
สำนักอนามัยเจริญพันธ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). การป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกในสภาวะทรัพยากรจำกัด (พิมพ์ครั้งที่ 4). (ม.ป.พ.)
ปิยวัฒน์ เลาวหุตานนท์, อาคม ชัยวีระวัฒนะ, และวีรวุฒิ อิ่มสำราญ. (2561). แนวทางการตรวจคัดกรองวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก (ล.1). กรุงเทพฯ: โฆสิตการพิมพ์.
ศิริวรรณ จันทร์แจ้ง, พัชราพร เกิดมงคล, และทัศนีย์ รวิวรกุล. (2562). ผลของโปรแกรมสร้างแรงจูงใจในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของอาสาสมัครสาธารณสุขสตรีมุสลิม.วารสารสุขศึกษา,42(2), 52-62.
Rogers, R. W. (1975). A protection motivation theory of fear appeals and attitude change1. The journal of psychology, 91(1), 93-114.
Rogers, R. W. (1983). A protection motivation theory of fear appeals and attitude change. The Journal of Psychology: Interdisciplinary and Applied, 91(1), 93- 114. doi: 10.1080/00223980.1975.9915803
Rogers, R. W. (1987). Protection motivation theory. Health Education research Theory and Practice, 153-156.
Polit, D. F. (2004). Nursing research: Principles and methods. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.
วรางคณา ศรีภูวงษ์. (2556). ผลของโปรแกรมประยุกต์ระบบเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพร่วมกับการใช้สื่อหมอลำพื้นบ้านต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุของกลุ่มเสี่ยง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ริญดา ตะวันกุลกิตติ. (2560). รูปแบบกิจกรรมการสร้างแรงจูงใจและแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมสตรีกลุ่มเสี่ยงเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพียเภ้า อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ 1(6), 5-14.
รัฐพล สาแก้ว, จงกลฌี ธนาไสย์, และบัณฑิต วรรณประพันธ์. (2560). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60 ปี ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล็ก อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 23(1), 17-30
ฐิติมา โกศัลวิตร. (2560). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อการรับรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงบัง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 1(3), 18-30.
นภัสวรรณ โอภาส. (2560). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมแรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อการรับรู้การป้องกัน โรคมะเร็งปากมดลูกและการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีที่มีผลการตรวจเซลล์เยื่อบุปากมดลูกผิดปกติ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: