การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในมารดาที่คลอดทางช่องคลอด โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

ผู้แต่ง

  • กริยากร วัฒนธนศักดิ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
  • จันทร์เพ็ญ แพงดวงแก้ว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
  • อบอุ่น บุญมูล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

คำสำคัญ:

ตกเลือดหลังคลอดระยะแรก, แนวปฏิบัติ, ห้องคลอด, มารดาตกเลือด

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และพัฒนาการพยาบาลในการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก ในมารดาที่คลอดทางช่องคลอด โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ มารดาที่คลอดทางช่องคลอด ห้องคลอด โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร กลุ่มตัวอย่าง ระหว่าง 3 ตุลาคม 2566- 31 มีนาคม 2567 จำนวน 80 คน เก็บข้อมูลจากแบบบันทึกขอมูลทั่วไปและ แบบประเมินความเสี่ยงที่ใช้ในการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
     ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองใช้แนวปฏิบัติ พบปริมาณการสูญเสียเลือดหลังคลอดในระยะแรกมากกว่า 500 มิลลิลิตร คิดเป็นร้อยละ 1.25 ในจำนวนมารดาหลังคลอดจำนวน 80 รายโดยพบมารดาหลังคลอดที่มีมดลูกหดรัดตัวไม่ดีแต่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน คิดเป็นร้อยละ 3.25 พบจำนวนการ alertต่อการสูญเสียเลือด300 มิลลิลิตร ขึ้นไปเฉลี่ยร้อยละ 100 และไม่พบการalert ต่อการสูญเสียเลือดตั้งแต่ 500 มิลลิลิตร สาเหตุ 4T ที่พบมากที่สุดคือ ภาวะรกค้าง (Retained of Placenta) คิดเป็นร้อยละ 100 ส่วนการประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติกับพยาบาลวิชาชีพห้องคลอดและห้องฉุเฉินจำนวน 18 ท่าน พบว่า 1.เนื้อหามีความครอบคลุม ร้อยละ 88.88 2.เข้าใจง่าย ร้อยละ 94.44 3.มีรูปแบบชัดเจน ร้อยละ 100 4.ช่วยในการตัดสินใจ ร้อยละ 94.44 สามารถนําไปใช้ได้จริง ร้อยละ 100 และมีข้อสนอเพิ่มเติมคือควรมีการนำใช้แนวปฏิบัติฯอย่างต่อเนื่องระยะยาว เพื่อประเมินประสิทธิภาพของแนวปฏิบัติ และทำการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม

References

ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ. (2560). การตกเลือดหลังคลอด: บทบาทสำคัญของพยาบาลในการป้องกัน. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 6(2), 146–154.

กรมอนามัย-กระทรวงสาธารณสุข. (2563). สถิติการตายและสาเหตุการตายของมารดาทั่วประเทศไทย. สืบค้น 3 เมษายน 2564 จาก http://dashboard.anamai.moph.go.th.

โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร (2566) รายงานสถิติการตกเลือดของโรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ปี พ.ศ.2563-2565. งานข้อมูลโรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. (2558). แนวทางเวชปฏิบัติ เรื่อง การดูแลและรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอดจากมดลูกไม่หดรัดตัว. สืบค้น 9 มกราคม 2564 จาก http://www.rtcog.or.th/home/wp-content/uploads/2017/04/OB_019.pdf.

ปทุมมา กังวานตระกูล, อ้อยอิ่น อินยาศรี.(2560). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอดในห้องคลอด โรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 33(2), 121–132.

ณฐนนท์ ศิริมาศ, ปิยรัตน์ โสมศรีแพง, สุพางศ์พรรณ พาดกลาง และจีรพร จักษุจินดา. (2557). การพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดในโรงพยาบาลสกลนคร. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 32(2), 37–44.

ลัดดาวัลย์ ปลอดฤทธิ์, สุชาดา วิภวกานต์ และอารี กิ่งเล็ก. (2559). การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอด โรงพยาบาลกระบี่. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาล และการสาธารณสุขภาคใต้, 3(3), 127-141.

กรรณิการ์ หุ่นศิริ. (2556). การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล เพื่อป้องกัน การตกเลือดหลังคลอดในเครือข่ายงานอนามัยแม่และเด็กจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสมาคมพยาบาลฯสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 31(4), 115-120.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30