การศึกษาย้อนหลังผลของจำนวนครั้งของโปรแกรมการออกกำลังกายต่อมุมในการเคลื่อนไหวของข้อเข่า และความสามารถในการเดินของผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ณ โรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • อัคคลักษณ์ ญาณโรจน์ งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลลำพูน

คำสำคัญ:

โรคข้อเข่าเสื่อม, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, โปรแกรมการออกกำลังกายภายหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า, การออกกำลังกายในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาย้อนหลังโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของจำนวนครั้งของโปรแกรมการออกกำลังกายต่อมุมในการเคลื่อนไหวของข้อเข่า  และความสามารถในการเดินของผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม การศึกษานี้ทำการศึกษาในช่วงเดือน มกราคม 2566 – ธันวาคม 2566  ณ โรงพยาบาลลำพูน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูลทางกายภาพบำบัดซึ่งอยู่ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับบริหารระบบงานโรงพยาบาลลำพูน (Phramongkut Software, PMK)  โปรแกรมการออกกำลังกายภายหลังการผ่าตัดประกอบด้วยท่าออกกำลังกายจำนวน 5 ท่า โดยนักกายภาพบำบัดเป็นผู้ให้การรักษา ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ มุมงอเข่า  มุมเหยียดเข่า ความสามารถในการเคลื่อนไหวของข้อเข่า (มุมการงอเข่า ≥ 90 องศา และมุมการเหยียดเข่า = 0 องศา) และความสามารถในการเดินลงน้ำหนักตามคำสั่งแพทย์ (เดินลงน้ำหนักเต็มที่ เดินลงน้ำหนักบางส่วน และเดินลงน้ำหนักเท่าที่ทนได้) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Wilcoxon เพื่อเปรียบเทียบการความแตกต่างของมุมการเคลื่อนไหวของข้อเข่าระหว่างก่อนและหลังการรักษาในแต่ละกลุ่ม (p < 0.05) ใช้สถิติ Kruskal-Wallis test with Post – hoc comparison (Dunn test) เพื่อดูความแตกต่างระหว่างกลุ่ม (p < 0.05) ใช้สถิติ Chi-Square วิเคราะห์ความสามารถในการเคลื่อนไหวของข้อเข่าของแต่ละกลุ่ม (p < 0.05)  และใช้สถิติพรรณนาในการวิเคราะห์ความสามารถในการเดินของผู้ป่วยโดยการใช้เครื่องช่วยเดินตามรูปแบบการเดินลงน้ำหนักตามคำสั่งของแพทย์
     ผลการศึกษาแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 (44 ราย) ได้รับการออกกำลังกายจำนวน 1 ครั้ง กลุ่มที่ 2 (111 ราย) ได้รับการออกกำลังกายจำนวน จำนวน 2 ครั้ง และกลุ่มที่ 3 (32 ราย) ได้รับการออกกำลังกายจำนวน จำนวน 3 ครั้ง พบว่ากลุ่มผู้ป่วยทุกกลุ่มมีการเพิ่มขึ้นของมุมงอเข่า มุมเหยียดเข่า ภายหลังจากการรักษาทางกายภาพบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)  ผู้ป่วยในกลุ่มที่ 2 และ 3 มีการเปลี่ยนแปลงของมุมงอเข่ามากกว่าผู้ป่วยในกลุ่มที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) แต่ไม่พบความแตกต่างของการเปลี่ยนแปลงของมุมการงอเข่าระหว่างผู้ป่วยในกลุ่มที่ 2 และ 3 (p > 0.05)  ไม่พบความแตกต่างของการเปลี่ยนแปลงของมุมเหยียดเข่าระหว่างกลุ่ม   (p > 0.05)  ความสามารถงอเข่าได้มากกว่าหรือเท่ากับ 90 องศา เหยียดเข่าได้เท่ากับ 0 องศาทุกกลุ่มไม่มีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05)  และผู้ป่วยทั้ง 3 กลุ่มสามารถเดินได้ดีโดยใช้เครื่องช่วยเดิน (walker) ตามรูปแบบการเดินลงน้ำหนักตามคำสั่งของแพทย์ ร้อยละ 100  

References

สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย. (2553). แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม (Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee). https://thairheumatology.org/phocadownload/36/gf_003.pdf

วิชัย อึงพินิจพงศ์, กานดา ชัยภิญโญ และสมรรถชัย จำนงกิจ. (2558). คู่มือการฟื้นฟูผู้สูงอายุหลังการผ่าตัด เปลี่ยนข้อเข่า. สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ. บริษัทสมานมิตรการพิมพ์ 2003 จำกัด. https://pt.or.th/PTCouncil/new_detail.php?id=684

นิลุบล ไชยโกมล. (2563). ผลของโปรแกรมบริหารกล้ามเนื้อและข้อเข่าผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 28(3), 384-396. https://he02.tcithaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/248516/169013

World Health Organization. Osteoarthritis [Internet]. 2023 [cited 2023 Oct 20]. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/osteoarthritis.

กิตติศักดิ์ คัมภีระ. (2563). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการปรับตนเองต่อความวิตกกังวล การปฏิบัติตัว และสัย การเคลื่อนไหวข้อเข่าของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. https://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1519/3/59060333.pdf

ประชาสัมพันธ์-สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) พรบ. หลักประกันสุขภาพ สิทธิบัตรทอง หน้าหลักข่าวประชาสัมพันธ์ เนื้อข่าว‘สิทธิบัตรทอง’ ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าฟรี ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ‘ใช้ชีวิตปกติ-ประกอบอาชีพได้เหมือนเดิม’ สืบค้นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://www.nhso.go.th/news/3864

กฤษกมล สิทธิทูล. (2564). การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด (Total Knee Arthroplasty: TKA/TKR). สมิติเวช. https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/tka-total-knee-Arthroplasty

ชินภัทร์ จิระวรพงศ์. (2554). การปฏิบัติตามแนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. เวชศาตร์ฟื้นฟูสาร, 21(3),99-102. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/aseanjrm/article/view/42265

กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลลำพูน. (2566). สถิติของกลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลลำพูน งบประมาณ 2564–2566.

งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลลำพูน. (2566). สรุปรายงานสถิติของงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลลำพูน งบประมาณ 2564–2566.

พัชริดา กุลครอง. (2564). การออกกำลังกายในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. ศูนย์กายภาพบำบัด คณะายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล. https://pt.mahidol.ac.th/knowledge/?p=2127

สักกาเดช ลิ้มมหาคุณ. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Knee Arthroplasty). ภาวิชาออร์โทปิดิกส์ คณะพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สืบค้นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.med.cmu.ac.th/web/suandok/sick-clinic/knowledge-article-sick-clinic/2097/

งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลลำพูน. (2564). Clinical Practice Guideline of OA Knee of PT.Unit Lamphun Hospital.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30