การส่งเสริมการรับรู้อาการเตือนและพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงแบบเร่งด่วนในบริบทของโรงพยาบาลชุมชน

ผู้แต่ง

  • ศิรินทรา ไชยมัชฌิม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลนาทม จังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

การส่งเสริมการรับรู้, พฤติกรรมสุขภาพ, โรคหลอดเลือดสมอง, ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงแบบเร่งด่วน

บทคัดย่อ

      การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาและผลการส่งเสริมการรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองและพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงแบบเร่งด่วนในบริบทของโรงพยาบาลชุมชน กลุ่มตัวอย่างได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 30 คน เป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีค่าความดันช่องหัวใจบีบตัว (systolic blood pressure) ≥ 180 มิลลิเมตรปรอท หรือ ความดันช่องหัวใจคลายตัว (diastolic blood pressure) ≥ 110 มิลลิเมตรปรอท และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลทั่วไปโดยใช้ค่าจำนวน ร้อยละ พฤติกรรมสุขภาพใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบก่อน-หลัง เข้าร่วมกิจกรรมด้วยสถิติ Paired sample t-test ดำเนินการในช่วงวันที่ 29 มกราคม - 23 เมษายน 2567
     ผลการศึกษาพบว่า หลังเข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองจากโรคความดันโลหิตสูง ตอบถูกต้องมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 40 เป็นร้อยละ 60 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พฤติกรรมการดูแลตนเอง การรับประทานยาความดันโลหิตสูง (gif.latex?\bar{X}=19.67, SD=2.139) การบริโภคอาหาร (gif.latex?\bar{X}=19.17, SD=3.770) การมีกิจกรรมทางกาย (gif.latex?\bar{X}=20.00, =SD 1.894) อยู่ในระดับมาก และการสูบบุหรี่/ดื่มสุรา (gif.latex?\bar{X}=13.17, SD=1.533) อยู่ในระดับปานกลาง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลลัพธ์ทางคลินิกพบว่าหลังเข้าร่วมกิจกรรมระดับความดันโลหิตตัวบน มีค่าเฉลี่ยลดลงจาก 186 เป็น 135 มิลลิเมตรปรอท และระดับความดันโลหิตตัวล่าง มีค่าเฉลี่ยลดลงจาก 115 เป็น 77 มิลลิเมตรปรอท และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

สมศักดิ์ เทียมเก่า. (2564). สถานการณ์โรคหลอดเลือดสมอง. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย 37 (4); 54-60

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2562. บริษัทศรีเมืองการพิมพ์จำกัด: นนทบุรี.

ณฐกร นิลเนตร. (2562). ปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลทหารบก, 20 (2); 51-57.

ปิยะนุช จิตตนูนท์, อาภรณ์ทิพย์ บัวเพ็ชร์, พิมพิศา ศักดิ์สองเมือง, วิชัย อารับ, สุวนิตย์ วงศ์ยงค์ศิลป์,และญนัท วอลเตอร์. (2564). ความรู้โรคหลอดเลือดสมองและพฤติกรรมป้องกันของกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง: กรณีศึกษาตำบลห้วยนาง จังหวัดตรัง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 41(2); 13-25.

กัญญาวีญ์ ต้นสวรรค์ และ อุษนีย์ รามฤทธิ์. (2566). การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะเสี่ยงสูง. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(1); 143-152.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30