การศึกษาการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ด้วยการวัดความสูงของระดับยอดมดลูกร่วมกับการเปิดขยายของปากมดลูกเมื่อแรกรับ
คำสำคัญ:
การคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์, ระดับความสูงของยอดมดลูก, น้ำหนักทารกแรกเกิดบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบย้อนหลัง (Retrospective survey study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ด้วยการวัดความสูงของระดับยอดมดลูกร่วมกับการเปิดขยายของปากมดลูกเมื่อแรกรับกับน้ำหนักทารกแรกเกิด กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ที่มาคลอดในโรงพยาบาลนาทม จังหวัดนครพนม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ 2564 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2566 จำนวน 135 คน เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนและฐานข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างใช้ค่าจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 135 คน อายุเฉลี่ย 24 ปี ( =24, SD=6.245) อายุครรภ์เฉลี่ย 38 สัปดาห์ (=38, SD=.974) ความสูงของยอดมดลูกเฉลี่ย (=30.67, SD=.3.15) ปากมดลูกเปิดเมื่อแรกรับเฉลี่ย 3 เซนติเมตร (=3.94, SD=2.043) น้ำหนักทารกในครรภ์จากการคาดคะเนมีค่าเฉลี่ย 3,360 กรัม (=3,360, SD=.377.36) น้ำหนักทารกแรกเกิดมีค่าเฉลี่ย 3,028 กรัม (=3,028, SD=.346.53) ระดับความสูงของยอดมดลูกกับน้ำหนักทารกในครรภ์จากการคาดคะเนมีความสัมพันธ์ทิศทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.841, p<0.001) ระดับความสูงของยอดมดลูกกับน้ำหนักทารกแรกเกิดมีความสัมพันธ์ทิศทางบวกในระดับปานกลางอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.549, p<0.001) อายุครรภ์กับระดับความสูงของยอดมดลูกและระดับความสูงของยอดมดลูกกับการเปิดขยายของปากมดลูกเมื่อแรกรับไม่มีความสัมพันธ์กัน การนำผลการศึกษาไปใช้ในสตรีตั้งครรภ์ที่มารับบริการคลอด จำนวน 5 ราย ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม พ.ศ. 2567 โดยวัดระดับความสูงของยอดมดลูกร่วมกับการเปิดขยายของปากมดลูกเมื่อแรกรับ พบว่าระดับความสูงของยอดมดลูกมีความสัมพันธ์ทิศทางบวกกับน้ำหนักทารกในครรภ์จากการคาดคะเนในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.997, p<0.001) ระดับความสูงของยอดมดลูกมีความสัมพันธ์ทิศทางบวกกับน้ำหนักทารกแรกเกิดในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.901, p<0.05)
References
สุรัตน์ เอื้ออำนวยและเทียรทอง ชาระ. (2563). การคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ด้วยวิธีของจอห์นสันและของแดร์. วารสารเกื้อการุณย์, 27(2); 155-163.
วิภาวรรณ รัตนพิทักษ์. (2566). การศึกษาเปรียบเทียบและความสัมพันธ์ระหว่างการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ในระยะคลอดด้วยวิธี Dare และวิธีตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงกับน้ำหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลบางบัวทอง. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 26 (1); 68-77.
อังสนา วิศรุตเกษมพงศ์. (2563). การศึกษาเปรียบเทียบการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ในระยะคลอดด้วยวิธีการของ Dare และ Johnson และความสัมพันธ์กับน้ำหนักทารกเมื่อแรกเกิด. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(4); 637-645.
สุรีพร ศรีโพธิ์อุ่น, ราตรี พลเยี่ยม และลำพงษ์ ศรีวงค์ชัย. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความสูงยอดมดลูกกับการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ในผู้คลอดครรภ์ครบกำหนด. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 9(15); 497-507.
นภัสวรรณ สงวนศิลป์. (2563). การศึกษาประสิทธิผลการคาดคะเนนน้ำหนักทารกในครรภ์โดยใช้ผลคูณระหว่างความสูงของยอดมดลูกกับเส้นรอบวงหน้าท้องที่ระดับสะดือเปรียบเทียบกับการวัดระดับความสูงมดลูกของ Modified Johnson ในโรงพยาบาลสุวรรณคูหา. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 13(1); 459-466.