ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพโรคสมาธิสั้น อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • สุทธา บุญสินชัย โรงพยาบาลโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ระบบบริการ, โรคสมาธิสั้น

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ แบบ Cross Sectional Study  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพโรคสมาธิสั้นในเด็ก โรงพยาบาลโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วยเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้น ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึงวันที่ 31  มีนาคม 2567จำนวน 82 รายเก็บข้อมูลโดยการทำแบบสอบถาม ข้อมูลทั่วไปของครอบครัว ความรู้และทัศนคติของผู้ปกครอง รวมทั้งแบบประเมินพฤติกรรม SNAP-IV (Short Form) ก่อนและหลังรักษา 8 สัปดาห์แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติของผู้ปกครองและปัจจัยอื่นๆกับการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพโรคสมาธิสั้นในเด็กโดยใช้ Logistic  regression Analysis
     ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่เพศหญิงร้อยละ 51.21เพศชาย 48.79 อายุอยู่ในช่วง 30-39 ปี ร้อยละ 45.12 การศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ร้อยละ 39.03 ความสัมพันธ์เป็นบิดา/มารดา ร้อยละ 81.71 ข้อมูลทั่วไปของเด็กสมาธิสั้นส่วนใหญ่มีอายุช่วง 5-10ปีร้อยละ 53.66 เพศชายร้อยละ 80.49 ระดับประถมศึกษาตอนต้นร้อยละ 63.41 ระดับสติปัญญาของเด็ก (IQ) อยู่ในระดับปกติร้อยละ 86.58 ส่วนใหญ่มีผลข้างเคียงจากการกินยาคือ มีอาการเบื่ออาหารร้อยละ 68.29 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้นของผู้ปกครองที่ได้คะแนนมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ ยาที่ใช้รักษาโรคสมาธิสั้นจะช่วยให้เด็กสมาธิสั้นมีอาการดีขึ้นร้อยละ 93.90 เด็กสมาธิสั้นมักอยู่ไม่นิ่ง นั่งไม่ติดที่ พูดแทรก ทำงานไม่เป็นระเบียบ ร้อยละ 90.24 และการจัดสิ่งแวดล้อม เช่น ให้ทำงานที่มุมเงียบสงบจะช่วยเด็กสมาธิสั้นได้มากร้อยละ 86.58 ทัศนคติต่อโรคสมาธิสั้นของผู้ปกครองที่ได้คะแนนมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ เด็กสมาธิสั้นต้องช่วยเหลือด้านการเรียนเพิ่มเติมเป็นพิเศษร้อยละ 84.14 รองลงมาคือเด็กสมาธิสั้นมีสติปัญญาปกติ สามารถพัฒนาได้ร้อยละ 82.92 และเมื่อเด็กสมาธิสั้นทำดี ก็ควรได้รับรางวัลเช่นเดียวกับเด็กอื่นร้อยละ 82.92 ตามลำดับ การประเมินพฤติกรรม SNAP-IV ของเด็กในช่วงแรกที่มารับบริการและวินิจฉัย ADHD พบว่าการประเมินอาการขาดสมาธิ พบเสี่ยงร้อยละ 51.22 การประเมินอาการไม่อยู่นิ่ง หุนหันพลันแล่น พบเสี่ยงร้อยละ 56.10 และการประเมินอาการดื้อต่อต้านพบเสี่ยงร้อยละ 36.59 ส่วนการประเมินพฤติกรรม SNAP-IV หลังการรักษา 8 สัปดาห์ คะแนนทั้ง 3 ด้านลดลงได้แก่ การประเมินอาการขาดสมาธิ พบเสี่ยงร้อยละ 13.42 การประเมินอาการไม่อยู่นิ่งหุนหันพลันแล่น พบเสี่ยงร้อยละ 18.30 และการประเมินอาการดื้อต่อต้านพบเสี่ยงร้อยละ 9.76 และพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพโรคสมาธิสั้นในเด็กโดยใช้ข้อมูลทั่วไปของผู้ปกครองเด็กกับผลการรักษาโรคสมาธิสั้นโดยพบว่าความรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองต่อโรคสมาธิสั้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p =0.004)

References

American Psychiatric Association. (2014). Diagnostic and statistical manual of mental disorders: DSM - 5 (5th ed.). Arlington, VA.: American Psychiatric Publishing.

Uneri, O. S., Senses - Dinc, G., & Goker, Z. (2015). The quality of life (QoL) in attention deficit hyperactivity disorder (ADHD). ADHD: New Directions in Diagnosis and Treatment, 197.

กระทรวงสาธารณสุข: HDC.(2566). ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นเข้าถึงบริการ. สืบค้น 4 กรกฎาคม 2566, จากhttps://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1. php&cat_id=22710ed5db1ed6b12aab540a7b0753b3&id=90ccfbfd92f7d1bdd89d0cfd8b4e46ec.

บุรฉัตร ศักดิ์ศรีทวี, เอกรัฐ จันทร์วันเพ็ญ, และธารินทร์ เพ็ญวรรณ. การศึกษาเชิงวิเคราะห์ตามขวางของปัจจัยที่ส่งผลต่อโรคสมาธิสั้นในเด็กวัยเรียนผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกคลินิกจิตเวชเด็ก โรงพยาบาลสิชล.วารสารวิชาการแพทย์เขต 11.2562 ;33(2): 327 - 338.

ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน,โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ,พรทิพย์ วชิรดิลก,พัชรินทร์ อรุณเรือง,ธันวรุจน์ บูรณสุขสกุล.ความชุกโรคสมาธิสั้นในประเทศไทย.วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย.2557;21(2):66-75.

ปัจฉิมา หลอมประโคน.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการรักษาสมาธิสั้นในเด็ก(2563-2564).วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์.2565;37(2):381-390.

สมัย ศิริทองถาวร, เพ็ญกาญจน์ กาญจนรัตน์, ภิญโญ อิสรพงศ์, สุรีรักษ์ พิลา, พัชนี พัฒนกิจโกศล,… วรรณกมล สอนสิงห์. การพัฒนารูปแบบการดูแลเด็กโรคสมาธิสั้นแบบบูรณาการระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ปกครอง และครูในเขตภาคเหนือ (รายงานผลการวิจัย)2560. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต.

วันรวี พิมพ์รัตน์.ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติของผู้ปกครองรวมทั้งความสัมพันธ์ของปัจจัยอื่นๆกับความสม่ำเสมอในการกินยา Methylphenidate ของเด็กสมาธิสั้น.วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย.2559;61(1):15-26.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30