การพัฒนาคู่มือการดูแลตนเองด้วยสมาธิบําบัดแบบ SKT ของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลอุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พวงเพ็ญ ภู่สีม่วง นายแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลอุทัย สำนักงานสาธารณสุขพระนครศรีอยุธยา
  • สุรัสวดี เพชรคง แพทย์แผนไทยชำนาญการ โรงพยาบาลอุทัย สำนักงานสาธารณสุขพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

คู่มือการดูแลสุขภาพตนเอง, สมาธิบําบัดแบบ SKT, ผู้ป่วยเบาหวาน

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีความมุ่งหมายเพื่อสร้างคู่มือ และศึกษาผลการใช้คู่มือการดูแลตนเองด้วยสมาธิบําบัดแบบ SKT ของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลอุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยกลุ่มเป้าหมายคือผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลอุทัยจำนวน 60 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป ผลระดับน้ำตาลในเลือดและแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t – test
     ผลการวิจัยพบว่าคู่มือการดูแลตนเองด้วยสมาธิบําบัดแบบ SKT ของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลอุทัยที่ได้รับการพัฒนาสามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ย ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value< 0.05) กลุ่มตัวอย่างมีความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติได้ และมีความพึงพอใจภาพรวมในระดับมาก

References

American Diabetes Association. Diabetes: Clinical management guidelines for healthcare professionals. Publisher; 2009.

Cho N., Shaw J., Karuranga S., Huang Y., da Rocha Fernandes J., Ohlrogge A., Malanda B. IDF Diabetes Atlas: Global estimates of diabetes prevalence for 2017 and projections for 2045. Diabetes Research and Clinical Practice 2018; 138:271-281.

International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas 2021. Brussels: The International Diabetes Federation (IDF); 2021.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โครงการทบทวนสถานการณ์และผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประเทศไทย พ.ศ. 2560-2562. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

สำนักงานสํารวจสุขภาพประชาชนไทย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพประชาชน ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552. กรุงเทพฯ: สำนักงานสํารวจสุขภาพประชาชนไทย; 2554.

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า และสุธิดา แก้วทา. รายงานสถานการณ์โรค NCDs. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2558. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผานศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่10. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีเจพริ้นติ้ง กรุงเทพฯ; 2554.

สุรัสวดี เพชรคง และสิธาพร ผดุงยุทธ. การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตนเองด้วยสมาธิบําบัดแบบ SKT ในการลดระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลอุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โรงพยาบาลอุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา; 2566.

Cronbach L.J. Essentials of psychological testing. England: Oxford University Press; 1990.

สมฤดี ชื่นกิติญานนท์ และวราภรณ์ คำรศ. ประสิทธิผลของโปรแกรมสมาธิบำบัด (SKT) ต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดและลด ระดับความดันโลหิตในพระสงฆ์ในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม; 2561.

มยุรี เที่ยงสกุล และสมคิด ปานประเสริฐ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562; 28(4):696-710.

ชานนท์ เชาว์ดำรงสกุล. การพัฒนารูปแบบส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสีดา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2563; 9(14):314-329.

ฉวีวรรณ อุปมานะ. พัฒนาคู่มือการดแลสุขภาพด้วยตัวเองของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษา ผู้สูงอายุในชุมชนหนองอีเลี่ยน ตำบลหนองขอนกว้าง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 2 2560; 1043-1054.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30