การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชจากยาเสพติดที่มีพฤติกรรมรุนแรงโดยใช้รูปแบบการจัดการโรคเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • สวิตตา ธงยศ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลเรณูนคร จังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยจิตเวชจากยาเสพติดที่มีพฤติกรรมรุนแรง, รูปแบบการจัดการโรคเรื้อรัง 1 พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลเรณูนคร จังหวัดนครพนม

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนพัฒนาและผลการดูแลผู้ป่วย จิตเวชจากยาเสพติดที่มีพฤติกรรมรุนแรงโดยใช้รูปแบบการจัดการโรคเรื้อรัง อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยจิตเวชจากยาเสพติดที่มีพฤติกรรมรุนแรง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง, แบบประเมินปัจจัยเสี่ยงอาการทางจิตกำเริบ, แบบประเมินอาการทางจิต, แบบติดตามผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงในชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูล: ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง แบบประเมินปัจจัยเสี่ยงอาการทางจิตกำเริบ ใช้ค่าจำนวน ร้อยละ, แบบประเมินอาการทางจิต วิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบก่อน-หลัง เข้าร่วมกิจกรรมด้วยสถิติ Pair t-test แบบการติดตามผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงในชุมชน วิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
     ผลการศึกษา พบว่า หลังเข้าร่วมกิจกรรมการประเมินอาการทางจิตเสี่ยงต่อการก่อความ รุนแรงลดลงจากระดับมากเป็นระดับน้อย (gif.latex?\bar{X} =59.80, SD=9.423), (gif.latex?\bar{X}=23.43, SD=6.010) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการติดตามผู้ป่วยจิตเวชจากยาเสพติดฯ ในชุมชน (10 ด้าน) ด้านอาการทางจิตผู้ป่วยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในช่วงไม่มีอาการทางจิต (gif.latex?\bar{X}=1.55, SD .328) ด้านอื่นๆ มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ด้านการประกอบอาชีพ (gif.latex?\bar{X}=2.10, SD .631) 2) ด้านการใช้สารเสพติด (บุหรี่/สุรา/ยาเสพติด) (gif.latex?\bar{X}=1.99, SD .470) และ 3) ด้านความสามารถในการเรียนรู้เบื้องต้น (gif.latex?\bar{X}=1.64, SD .444) ตามลำดับ

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงสำหรับสถาบัน/โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต. นนทบุรี. บริษัท พรอสเพอรัสพลัส จำกัด.

ปราโมทย์ ถ่างกระโทก. (2560). บทบาทพยาบาลวิชาชีพในการจัดการโรคเรื้อรัง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 37 (2), 154-159.

กรรณิกา ช่อรักษ์. (2566). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติดโดยภาคีเครือข่ายส่วนร่วมอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 8(4); 503-513.

สมจิตร์ มณีกานนท์, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, วิจิตรา พิมพะนิตย์, นิตยา จรัสแสงและขวัญสุดา บุญทศ. (2557). ความชุกของการใช้สารเสพติด ในกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศรีนครินทร์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 59(4); 371-380.

พิณณรัฐ ศรีหารักษา. (2566). การดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง โดยการใช้การจัดการรายกรณีแบบมีส่วนร่วมในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร: กรณีศึกษาตำบลขมิ้น อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 31;8(1): 436-47.

สยาภรณ์ เดชดี และ อรวรรณ หนูแก้ว. (2564). การพัฒนาและผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติด. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 35 (1); 91-111.

วชิราภรณ์ สอระสัน. (2566). การพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยจิตเวชใช้สารเสพติดและญาติผู้ดูแล อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8 (1), 346-358.

เกศราพร แก้วลาย, ศุภัคฌา เทเวลา, ศิวพร สุทธิเภท. (2566). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการบำบัดต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติด. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 30;8(3): 187-97.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30