การพัฒนาระบบการเข้าถึงยาละลายลิ่มเลือดของผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลบ้านแพง จังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
ระบบ, การเข้าถึงยาละลายลิ่มเลือด ผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ความรอบรู้ด้านสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การเข้าถึงยาละลายลิ่มเลือดของผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง และพัฒนาระบบการเข้าถึงยาละลายลิ่มเลือดของผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลบ้านแพง จังหวัดนครพนม มีระยะเวลาในการศึกษา ระหว่างเดือน ตุลาคม 2565 - กันยายน 2566 รวม 12 เดือน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t – test และ Dependent t – test
ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการดำเนินงานพบว่า การเข้าถึงยาละลายลิ่มเลือดของผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลบ้านแพง จังหวัดนครพนม จากการศึกษา พบว่า มีผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง มารับบริการที่โรงพยาบาลบ้านแพง จังหวัดนครพนม จำนวน ทั้งสิ้น 60 ราย เป็นชาย จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 45.0 เป็นหญิง จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 65.0 เสียชีวิต จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.3 มีโรคประจำตัว ได้แก่ เบาหวาน จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.0 เบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 20.0 ความดันโลหิตสูง จำนวน 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.3 ไม่มีโรคประจำตัว จำนวน 25 ราย คิดเป็นร้อยละ 41.7 สามารถเข้าถึงยาละลายลิ่มเลือดของผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลบ้านแพง จังหวัดนครพนม ได้ทุกราย นอกจากนี้ยัง พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพของบุคลากรทางการแพทย์ในการส่งเสริมการเข้าถึงยาละลายลิ่มเลือดของผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ในโรงพยาบาลบ้านแพง หลังดำเนินการ อยู่ในระดับมากที่สุดในทุกกลุ่ม และความรอบรู้ด้านสุขภาพของบุคลากรทางการแพทย์ในการส่งเสริมการเข้าถึงยาละลายลิ่มเลือดของผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ในโรงพยาบาล ในกลุ่มเจ้าหน้าที่กู้ชีพ กลุ่มเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และระดับตำบลรวมทุกกลุ่ม ก่อนและหลังการดำเนินงาน มีความรอบรู้ด้านสุขภาพของบุคลากรทางการแพทย์ในการส่งเสริมการเข้าถึงยาละลายลิ่มเลือดของผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่หลังการดำเนินงานความรอบรู้ด้านสุขภาพของบุคลากรทางการแพทย์ในการส่งเสริมการเข้าถึงยาละลายลิ่มเลือดของผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ในโรงพยาบาล มากกว่าก่อนการดำเนินงาน
References
สถาบันประสาทวิทยา ชมรมพยาบาลโรคระบบประสาทแหงประเทศไทย.(2550) แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป (Clinical Nursing Practice Guideline for Stroke). ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สถาบันประสาทวิทยา.
กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ. สถิติข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 22 ก.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: thaincd.com/information-statistic/non-communicabledisease-data.php
รภีพร ประกอบทรัพย์.(2562). ผลการใช้โปรแกรมทางด่วนโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน ต่อระยะเวลาในการให้การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล กันยายน-ธันวาคม 4(3): 72–82.
Best, John W. (1981). Research in Education. 4 rd ed. Englewood.Cliff, N.J. : Prentice Hall.
วารุณี เรืองมี และ เนตรนภา คู่พันธวี.(2559). สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2559), 27(3), 64-726. ปิยนุช ภิญโยและคณะ(2558). สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในตำบลบ้านเป็ด
อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. ปีที่ 32 ฉบับที่ 4 (2014): วารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ
วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย.(2563). แนวทางการรักษาและให้ยาละลายลิ่มเลือดสำหรับโรคหลอดเลือดสมองตีบฉับพลันภายนอกโรงพยาบาลและที่ห้องฉุกเฉินปี พ.ศ. 2563.
Roger VL, Go AS, Lloyd-Jones DM, Benjamin EJ, Berry JD, Borden WB, et al. Heart disease and stroke statistics--2012 update: a report from the American Heart Association. Circulation 2012;125:e2-e220.
นริชรา โครตประทุม.(2566). ผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระบบทางด่วน แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. ยโสธรเวชสาร. ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 (2023): มกราคม-เมษายน 2566
ธารารัตน์ ส่งสิทธิกุล, อรวรรณ อนามัย.(2559) การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบอุดตันที่รักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด โรงพยาบาลราชบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข พฤษภาคม-สิงหาคม ; 26(2): 142–53