ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการรับรู้กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • เฉลิม เกตุพงษ์พันธุ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง

คำสำคัญ:

ปัจจัยการรับรู้, พฤติกรรมการป้องกันโรค, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการรับรู้ พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการรับรู้กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง จำนวน 119 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามออนไลน์ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการรับรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหามีค่า IOC ระหว่าง 0.6 –1.00 วิเคราะห์หาความเชื่อมั่น(Reliability)โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Method) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.869 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
     ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีปัจจัยการรับรู้ พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับสูง (Mean = 4.35,S.D.= 0.43)และ(Mean = 4.39,S.D.= 0.47) ตามลำดับ และปัจจัยการรับรู้มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับปานกลาง (r = 0.609) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง.กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2560.(2560, มิถุนายน 14).ราชกิจจานุเบกษา,134, (64 ก), 12

กรมควบคุมโรค. (2565). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย, สืบค้น 15 มีนาคม 2565, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง. (2565). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดตรัง, สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2565 จาก http://www.tro.moph.go.th/index2.php.

ศศินา สิมพงษ์, ศิริกาญน์ อุปสิทธิ์, ศิริพร นครลา, สิรินารถ ต้นสวรรค์, สุจิตรา ส่งสุข และสุทธิดา โพธิ์ไทร. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 10(2), 151-155.

เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์, มิ่งขวัญ ศิริโชติ, ปัณณวิชญ์ ปิยะอร่ามวงศ์ และศุภอัฑฒ์ สัตยเทวา. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 9(1), 36 – 48.

อัมนะห์ กูนา, สุรัยยา จอมสุริยะ, สุปรีชา แก้วสวัสดิ์, พัฒนศักดิ์ คำมณีจันทร์ และ Cua Ngoc Lee. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะคุกคามกับพฤติกรรมการป้องกันของโรคติดเชื้อไวรัสฯในผู้สูงอายุ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา. 35(2), 38-47.

ภัคณัฐ วีรขจร,โชคชัย ขวัญพิชิต, กิตติพร เนาว์สุวรรณ์, และนภชา สิงห์วีรธรรม. (2563). การรับรู้พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกำลังพลที่ปฏิบัติงานสายแพทย์ ศูนย์อำนวยการแพทย์ จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 3(3), 106-116.

อภิวดี อินทเจริญ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, กัลยา ตันสกุล และสุวรรณา ปัตตะพัฒน์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 3(2), 19-29.

นภชา สิงห์วีรธรรม, วัชรพล วิวรรศน์ เถาว์พันธ์, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, เฉลิมชัย เพาะบุญ และสุทธิศักดิ์ สุริรักษ์. (2563). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ของทันตาภิบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารสถาบันบำราศนราดูร. 14 (2), 104-114.

ฮูดา แวหะยี. (2563). การรับรู้ความรุนแรงและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของวัยรุ่นในเขตตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 6(4), 158-167.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30