ประสิทธิผลของโปรแกรมการเพิ่มความรอบรู้ด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหาร สำหรับ ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านคลองเจริญสุข อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • เรียม แก้วประดับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านคลองเจริญสุข

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านการบริโภคอาหาร, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, เบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการเพิ่มความรอบรู้ด้านการบริโภคอาหารสำหรับผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง ได้รับโปรแกรมเพิ่มความรอบรู้ด้านการบริโภคอาหาร กลุ่มเปรียบเทียบ ได้รับโปรแกรมการกำกับตนเอง วัดผลการทดลองในระยะก่อนการทดลองกับระยะหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างได้จากการคำนวณ และใช้วิธีการสุ่มเฉพาะเจาะจง กลุ่มละ 40 คน รวม 80 คน มีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอนได้แก่ 1) การพัฒนาโปรแกรมการเพิ่มการความรอบรู้ด้านการบริโภคอาหาร 2) การคัดกรองกลุ่มตัวอย่าง และ 3) การนำโปรแกรมไปใช้ โดยมีเครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ชุดทดสอบทางห้องปฏิบัติการ เครื่องมือแพทย์ คู่มือ และโปรแกรมการเพิ่มความรอบรู้ด้านการบริโภคอาหาร ซึ่งประกอบด้วย 8 กิจกรรม ใช้ระยะเวลาการฝึก 12 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติอ้างอิง ได้แก่ สถิติทดสอบที
     ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม มีคะแนนเฉลี่ยรวมความรอบรู้ด้านการบริโภคอาหาร และพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีระดับน้ำตาล HbA1c ลดลงภายหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นอกจากนั้น กลุ่มทดลองยังมีคะแนนเฉลี่ยรวมความรอบรู้ด้านการบริโภคอาหาร และคะแนนเฉลี่ยรวมพฤติกรรมการบริโภคอาหารมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีระดับ HbA1c ลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีขนาดอิทธิพลสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอีกด้วย

References

World Health Organization. Global report on diabetes 2023. Geneva.: WHO; 2023.

วิชัย เอกพลากร, ณหทัยชนก พรรคเจริญ, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน; 2564. 345 หน้า.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว. รายงานประจำปี 2565. กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์; 2565. 173 หน้า.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. ประทุมธานี: ร่มเย็น มีเดีย จำกัด; 2566.

จิตติพร ศรีษะเกตุ, พรพิมล ชัยสา, อัศนี วันชัย, เยาวลักษณ์ มีบุญมาก, วิริยา โพธิ์ขวาง ยุสท์. แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่ วยเบาหวานไทย: การสังเคราะห์งานวิจัยอย่างเป็ นระบบ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2560; 11 (2):156-70.

บุญญธิดา ยาอินทร์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลชุมแสง อำเภอชุมแสง จังหวัด นครสวรรค์ สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร. 2564;18(1):35-48.

วิมล โรมา, บรรราธิการ. แนวคิดหลักการองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ. นนทบุรี: สำนักงานโครงการขับเคลื่อนกรมอนามัย 4.0; 2562. 32 หน้า.

อังศินันท์ อินทรกำแหง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ:การวัดและการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สุขุมวิทการพิมพ์; 2560. 292 หน้า.

จำเนียร สุวรรณชาติ, ยุทธนา จันทะขิน, กนก พานทอง. การเพิ่มการยั้งคิดต่อการบริโภคอาหารสำหรับผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โดยใช้แบบจำลองพฤติกรรมการยั้งคิดของบาร์คลีย์. [ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา] ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2565.

Best JW. Research in education : 3rd ed. Englewood Cliffs, Nj: Prentice-Hall Englewood Cliffs, Nj; 1977.

ณิสาชล นาคกุล. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่ วยเรื้ อรังกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ในเขตเทศบาลนคร สุราษฎร์ธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2561;28(3):36-50.

Malanda UL, Welschen LM, Riphagen, II, Dekker JM, Nijpels G, Bot SD. Self-monitoring of blood glucose in patients with type 2 diabetes mellitus who are not using insulin. The Cochrane database of systematic reviews. 2012;1:Cd005060.

Heisler M, Smith DM, Hayward RA, Krein SL, Kerr EA. How well do patients' assessments of their diabetes self-management correlate with actual glycemic control and receipt of recommended diabetes services? Diabetes Care. 2003;26(3):738-43.

Jiang Q, He D, Guan W, He X. “Happy goat says”: The effect of a food selection inhibitory control training game of children's response inhibition on eating behavior. Appetite. 2016;107:86-92.

สุรีย์พร ปัญญาเลิศ, นิรัตน์ อิมามี, วรากร เกรียงไกรศักดา. การกำกับตนเองในการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองชะโด จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสุขศึกษา. 2560;40(1):69-81.

กิติยากร คล่องดี, ศรัณญา เบญจกุล, มณฑา เก่งการพานิช , ธราดล เก่งการพานิช. ผลของโปรแกรม ฉลาดบริโภคโดยประยุกต์แนวคิดการกำกับตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเวศาสตร์เขตร้อน. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2562;25(3):326-39.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30