การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลว: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา รื่นสุข พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลอ่างทอง

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ผู้ป่วยเด็ก, โรคปอดอักเสบ, ภาวะหายใจล้มเหลว

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลว ศึกษาในผู้ป่วยเด็กชายอายุ 11 เดือน มาด้วยไข้ ไอ หายใจเหนื่อยหอบ 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล วินิจฉัยโรคปอดอักเสบ เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยพิเศษวันที่ 4 พฤศจิกายน 2566 วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 มีอาการเหนื่อยหอบ ไข้สูง มีภาวะหายใจล้มเหลว ย้ายมาดูแลที่หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม ขณะดูแลระยะวิกฤต
     ผลการศึกษา: ผู้ป่วยมีภาวะพร่องออกซิเจน ดูแลบำบัดด้วยออกซิเจน Heated humidified high flow nasal cannula (HHHFNC) ดูแลให้ยาปฏิชีวนะ และให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ รวมถึงการให้ข้อมูลกับผู้ดูแล  ผู้ป่วยมีภาวะโปแทสเซียมต่ำให้ยาโปแทสเซียมและชนิดผสมสารน้ำทางหลอดเลือดดำ ติดตามผลเกลือแร่อยู่ในภาวะปกติ ผู้ป่วยได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจน HHHFNC ต่อเนื่อง 4 วัน ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด เคาะปอด ดูดเสมหะลดการติดเชื้อ และเปลี่ยนให้ออกซิเจนทางหน้ากาก ได้ให้ความรู้และฝึกทักษะแก่ญาติในการดูแลผู้ป่วย ปฏิบัติได้ถูกต้อง ระยะฟื้นฟู มารดาผู้ป่วยมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ให้ความรู้และเน้นย้ำการป้องกันการเกิดโรคปอดอักเสบ สามารถย้ายไปดูแลต่อที่ห้องพิเศษได้ จำหน่ายผู้ป่วยวันที่ 16 พฤศจิกายน 2566 รวมระยะเวลาการนอนในโรงพยาบาล 12 วัน

References

สมาคมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็ก. แนวทางการดูแลรักษาโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยครั้งที่ 1.บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด, 2562.

งานสารสนเทศ โรงพยาบาลอ่างทอง รายงานผู้ป่วยปีงบประมาณ 2564-2566.

ฤดีมน สกุลคู. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของภาวะปอดอักเสบกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยเด็ก. พุทธชินราชเวชสาร 2557, 31(1), 46-53.

วิมลพรรณ สังข์กุล. (2565). การพยาบาลผู้ป่วยเด็กระบบทางเดินหายใจ. ในพรทิพย์ ศิริบูรณ์พิพัฒนา. การพยาบาลเด็ก เล่ม 2. บริษัทธนาเพรส จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30