การพัฒนารูปแบบการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสตรีกลุ่มเสี่ยงสูงอายุ 30-60 ปี ในโรงงานแห่งหนึ่ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • อภิรักษ์ วัฒนวิกกิจ สาธารณสุขอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

มะเร็งปากมดลูก, คัดกรอง, พัฒนารูปแบบ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสตรีกลุ่มเสี่ยงสูงอายุ 30-60 ปี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีกลุ่มเสี่ยงสูง อายุ 30 – 60 ปี ที่ไม่เคยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และเป็นพนักงานในโรงงาน จำนวน 347 คน ในโรงงานแห่งหนึ่ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิธีการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคพหุกลุ่ม (Multinomial Logistic Regression Analysis) นำเสนอค่า Adjusted odds ratio (adjust OR) ค่า 95% Confidence interval (95%CI) และค่า p-value กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ paired t - test
     ผลการศึกษา พบว่า เหตุผลที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างไม่อยากเข้ารับการตรวจคัดกรองส่วนใหญ่เนื่องมาจากไม่มีอาการผิดปกติใดๆ จึงไม่เข้ารับการตรวจคัดกรอง คิดเป็นร้อยละ 30.26 กลุ่มตัวอย่างที่เคยเข้ารับการตรวจคัดกรองฯ ส่วนใหญ่มีระดับความเชื่อด้านสุขภาพในระดับสูงมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยเข้ารับการตรวจคัดกรองฯ ซึ่งส่วนใหญ่มีระดับความเชื่อด้านสุขภาพในระดับปานกลาง และระดับต่ำ ระดับการศึกษา บุคคลที่สนับสนุนให้เข้ารับการตรวจคัดกรองฯ การรับรู้ถึงความรุนแรง การรับรู้ถึงประโยชน์ และการรับรู้ถึงอุปสรรคในการตรวจคัดกรองฯ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้ารับการตรวจคัดกรองฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value< 0.05) สรุปผลการวางแผนการพัฒนารูปแบบการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกฯ ได้เป็น “Bang Pa-in Support System” และเมื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกพบว่าค่าเฉลี่ยของความครอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05)

References

Braaten, K. P., & Laufer, M. R. (2008). Human Papillomavirus (HPV), HPV-Related Disease, and the HPV Vaccine. Rev Obstet Gynecol, 1(1), 2-10.

วสันต์ ลีนะสมิต, พรสม หุตะเจริญ, กิตติพงศ์ สุขรัตน์, กอบกุล ไพศาลอัชพงษ์, & ลิดา เกษประดิษฐ์. (2558). การควบคุมมะเร็งปากมดลูกที่ครอบคลุม: แนวทางการปฏิบัติที่สำคัญ. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. https://rh.anamai.moph.go.th/web-upload/7x027006c2abe84e89b5c85b44a692da94/m_magazine/33336/1006/file_download/fa30505ac8be02ce3aa10a5edd41cb1b.pdf

Ghebreyesus, T. A. (2020). Global strategy to accelerate the elimination of cervical cancer as a public health problem https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/336583/9789240014107-eng.pdf?sequence=1

McTaggart, R. (1991). Principles for Participatory Action Research. Adult Education Quarterly, 41(3), 168-187. https://doi.org/10.1177/0001848191041003003

Shrestha, A. D., Gyawali, B., Shrestha, A., Shrestha, S., Neupane, D., Ghimire, S., Campbell, C., & Kallestrup, P. (2022). Knowledge, attitude, preventive practices and utilization of cervical cancer screening among women in Nepal: a community-based cross-sectional study. European Journal of Cancer Prevention, 31(1), 73-81. https://doi.org/10.1097/cej.0000000000000670

พรรณี ปิ่นนาค. (2563). เหตุผลและปัจจัยของการไม่ไปรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก : กรณีศึกษาสตรีอายุ 30-60 ปี ในตำบลนาโพธิ์ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 3(1), 118-131. https://he02.tci- haijo.org/index.php/jhri/article/download/243306/165432/842053

Budkaew, J., & Chumworathayi, B. (2014). Factors associated with decisions to attend cervical cancer screening among women aged 30-60 years in Chatapadung Contracting Medical Unit, Thailand. Asian Pac J Cancer Prev, 15(12), 4903-4907. https://doi.org/10.7314/apjcp.2014.15.12.4903

ปิยปราชญ์ รุ่งเรือง, & รุจิรา ดวงสงค์. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30–60 ปี ในตำบลหนึ่งของอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 21(1), 48-55. https://thaidj.org/index.php/jsnh/article/view/4563/4320

บุษบา อภัยพิม, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์, & สมสมัย รัตนกรีฑากุล. (2562). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกต่อพฤติกรรมการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 7(3), 381-401. https://nurse.buu.ac.th/rsh/file/journal/0000001098.pdf

เทพอุทิศ กั้วสิทธิ์, เทพลักษ์ ศิริธนะวุฒิชัย, อุมาภรณ์ กั้วสิทธิ์, & ดวงธิดา ช่างย้อม. (2566). ผลการตรวจคัดกรองและความชุกของมะเร็งปากมดลูกของสตรีที่มารับการตรวจในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 20(2), 116-125. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/261807/180385

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30