ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียที่ได้รับเลือด ในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • วนิดา กาสุริย์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

ธาลัสซีเมีย, แนวปฏิบัติการพยาบาล, การให้เลือด

บทคัดย่อ

     การศึกษากึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเด็กโลหิตจางธาลัสซีเมียที่ได้รับเลือดในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานประจำหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม จำนวน 11 คน และผู้ป่วยโรคเลือดจางธาลัสซีเมียที่เข้ารับเลือดในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม ระหว่างวันที่ 17 มกราคม – 16 เมษายน 2567 จำนวน 20 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินทักษะการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาล แบบบันทึกเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ แบบประเมินความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แนวปฏิบัติการพยาบาลเด็กโรคโลหิตจางที่ได้รับเลือด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเปรียบเทียบใช้ Wilcoxon Signed Rank test
     ผลการศึกษาพบว่าพยาบาลวิชาชีพเป็นเพศหญิง ร้อยละ 100.00 อายุ 30 ปีขึ้นไป ร้อยละ 63.64 สถานภาพโสด ร้อยละ 54.55 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 100.00 ทำงานในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมระหว่าง 6-10 ปี ร้อยละ 63.64 เคยอบรมเรื่องการพยาบาลเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียที่ได้รับเลือด ร้อยละ 45.45 ด้านผลลัพธ์พบว่าคะแนนเฉลี่ยทักษะการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพหลังใช้แนวปฏิบัติสูงกว่าก่อนใช้แนวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (Z=-2.938, p=0.003) และคะแนนความพึงพอใจหลังใช้แนวปฏิบัติสูงกว่าก่อนใช้แนวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (Z=-2.947, p=0.003) ด้านผลลัพธ์ต่อผู้รับบริการคือไม่พบอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์หลังใช้แนวปฏิบัติ

References

จิตสุดา บัวขาว (บรรณาธิการ). แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียในเวชปฏิบัติทั่วไป. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์;2560.

ชาญชัย ไตรวารี. การให้เลือดในผู้ป่วยธาลัสซีเมีย. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2564,31(2),125-127.

สุภานัน เลาหสุรโยธิน. โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย[อินเตอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2566]. แหล่งข้อมูล https://ped.md.chula.ac.th/wp-content/uploads/2021/09/32_CUPA2021-ebook.pdf

กิจการ ตุ้ยดา. การศึกษาอุบัติการณ์ที่อาจเกิดโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงในเด็กที่เกิดจากกลุ่มเสี่ยงหญิงตั้งครรภ์ คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลลอง อำเภอลอง จังหวัดแพร่. วารสารสาธารณสุขแพร่เพื่อการพัฒนา 2565,2(2),1-10.

Cappellini MD, Cohen A, Eelftheriou A, Piga A, Porter J, Taher A. In: nd R, editor. Guidelines for the Clinical Management of Thalassemia. Nicosia(CY);2008.

วิปร วิประกษิต. ธาลัสซีเมีย: การดูแลรักษาโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแบบบูรณาการ (Comprehensive Management for Thalassemia). วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2556,23(4),303-320.

Viprakasit V, Tanphaichitr VS, Chinchang W, Sangkla P, Weiss MJ, & Higgs DR. Evaluation of Alpha. Hemoglobin Stabilizing Protien (AHSP) as a genetic modifier in patients with beta thalassemia. Blood 2004,103(9):3296-3299.

ปิยนันท์ ไพไทย, พิชัย บุญมาศรีและระพีพรรณ นันทะนา. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียที่ได้รับเลือด หอผู้ป่วยสามัญกุมารเวชกรรมทั่วไป โรงพยาบาลเลย. ชัยภูมิเวชสาร 2563,40(1),34-43.

นิตติยา บุตรวงษ์และกิตติพร เนาว์สุวรรณ. การพัฒนารูปแบบบริการเพื่อจัดหาเลือดสำหรับผู้ป่วยคลินิกโรคเลือดจางธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือดโรงพยาบาลน้ำโสม. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุรินทร์ 2566,13(1),79-94.

วิไลพร มาลีเจริญและประณีตศิลป์ เชาวน์ลักษณ์สกลุ. ผลการพัฒนาทักษะการพยาบาลในการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือดสำหรับพยาบาลเริ่มทำงานใหม่[อินเตอร์เน็ต]. 2565[เข้าถึงเมื่อ 26 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก https://www.chiangmaihealth.go.th/document/220310164688258160.pdf

ฉวีวรรณ ธงชัย. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก. วารสารสภาการพยาบาล 2548,20(2),63-76.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30