ประสิทธิผลของโปรแกรมลดน้ำหนักแบบเข้มข้นในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้ยาชนิดกิน ต่อการเข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบ ในโรงพยาบาลปะทิว จังหวัดชุมพร

ผู้แต่ง

  • ลำเนาว์ ใจโต พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลปะทิว จังหวัดชุมพร

คำสำคัญ:

โปรแกรมลดน้ำหนักแบบเข้มข้น , ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2, โรคเบาหวานระยะสงบ

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมลดน้ำหนักแบบเข้มข้นในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้ยาชนิดกินต่อการเข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบ ในโรงพยาบาลปะทิว จังหวัดชุมพร  ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2567 ศึกษาผู้ป่วย จำนวน 98 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ paired samples t - test
     ผลการศึกษา: พบว่า  การพัฒนาโปรแกรมลดน้ำหนักแบบเข้มข้น ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้ยาชนิดกินต่อการเข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบ  โดยใช้กระบวนงาน PDCA โปรแกรมลดน้ำหนักแบบเข้มข้นดำเนินการ 5 ครั้ง  ดังนี้ 1) สร้างสัมพันธภาพ 2) ติดตามสภาวะผู้ป่วย 3) การสื่อสารสร้างแรงจูงใจ 4) คงกิจกรรมทางกาย 5) ระยะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ผลของการจัดโปรแกรม ได้แก่ 1) ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น 2) ผู้ป่วยปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพได้ดี และ 3) การประเมินผล  ภาวะโรคเบาหวานของผู้ป่วย พบว่า หลังพัฒนาผู้ป่วยส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยภาวะโรคเบาหวาน ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) ได้แก่ ดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต โปรตีนในปัสสาวะ serum-creatinine Cholesterol, LDL, HDL, HbA1C  และอัตรากรองไต หลังพัฒนาผู้ป่วยโดยรวมมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-12.736, p<0.001)  และมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการมีส่วนร่วมตามโปรแกรมเพิ่มขึ้น (t=-8.798, p<0.001)

References

Sun H, Saeedi P, Karuranga S, et al. IDF Diabetes Atlas: Global, regional and country-level diabetes prevalence estimates for 2021 and projections for 2045. Diabetes Research and Clinical Practice. 2022;183:109119. doi:10.1016/j.diabres.2021.109119

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. กรุงเทพมหานคร: ร่มเย็นมีเดีย, 2560.

นวรัตน์ ชุติปัญญาภรณ์, นงนุช โอบะ. ประสบการณ์การจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่สามารถควบคุมระดับเอวันซีได้โดยสามารถหยุดรับประทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือด. NU วารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2565;16(2): 81-95.

ชนาภา ภัทรฐิตินันท์, วีระศักดิ์ ศรินนภากร. เปรียบเทียบผลการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง ระหว่างกลุ่มที่มารับยาที่โรงพยาบาลและกลุ่มที่รับยาทางไปรษณีย์ในช่วงที่มีโรคติดเชื้อโควิด-19. วารสารกรมการแพทย์ 2566; 48(3): 75-82.

คมกริช ฤทธิ์บุรี. กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนงานเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานเข้าสู่ภาวะ “Remission”: กรณีศึกษา กลยุทธ์การขับเคลื่อน อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2566; 5(1): 123-29.

พัฒนพร อุ่นวงศ์, มยุรี บุญศักดิ์. ผลของการเข้าค่ายเบาหวานแบบค้างแรมโรงพยาบาลเขื่องในต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับนํ้าตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา 2566; 3(1): 44-62.

Holst JJ, Madsbad S. What is Diabetes Remission? Diabetes Ther. 2021; 12(3): 641-46.

Yang X, Zhou J, Shao H, et al. Effect of an Intermittent Calorie-restricted Diet on Type 2 Diabetes Remission: A Randomized Controlled Trial. The Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism. 2023; 108(6): 1415-24.

Axelsen M, Jansson L, Svanqvist L. Effect of Intensive Weight Loss Programs on Diabetes Remission in Newly Diagnosed Patients with Type 2 Diabetes: A Systematic Review. Journal of Clinical Nutrition & Dietetics. 2018;4(2). doi:10.4172/2472-1921.100067

ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย. แนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ให้เข้าสู่โรคเบาหวานระยะสงบด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มงวดสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร, 2565.

กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลระบบคลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center: HDC). [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 24 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th

Murphy ME, Byrne M, Galvin R, Boland F, Fahey T, Smith SM. Improving risk factor management for patients with poorly controlled type 2 diabetes: a systematic review of healthcare interventions in primary care and community settings. BMJ Open 2017; 7: 135-61.

Likert R. "The Method of Constructing an Attitude Scale," Reading in Attitude Theory and Measurement. edited by Martin Fishbein. New York: John Wiley & Son, 1967.

Best JW. Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc., 1977.

ลดาวัลย์ มาลัยเจริญ. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองโดยใช้แถบสีสื่อสารต่อความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 1 – 3a. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2564; 4(3): 109-22.

สลิดา รันนันท์, พาพร เหล่าสีนาท. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2562; 16(3): 138-48.

พัชรินทร์ เชื่อมทอง, นิภา กิมสูงเนิน, รัชนี นามจันทรา. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2563; 43(1): 78-86.

ศศิธร ดวนพล, ธีรศักดิ์ พาจันทร์, พิทยา ศรีเมือง. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านข่าใหญ่ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9; 2563; 14(34): 142-57.

โสภา ไชยแก้ว. การเสริมสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้าม อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่; 2562: 18-22.

อุบลรัตน์ รัตนอุไร, ประภาส สงบุตร. ผลของโปรแกรมจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562;28: 146-51.

บดินทร์ จักรแก้ว. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอเขตกึ่งเมืองของจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2565; 18(1): 16-30.

ธัญลักษณ์ ตั้งธรรมพิทักษ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้ป่ วยเบาหวานในชุมชนบ้านหนองนาสร้าง จังหวัดร้อยเอ็ด. ศรีนครินทร์เวชสาร 2562; 34(3): 243-48.

วสันต์ พนธารา. ผลการชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และระยะที่ 4 ในคลินิกโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลตากฟ้า. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร 2563;17(2): 43-51.

วิรยุทธ สนธิเมือง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในกลุ่มชาวเลอูรักลาโว้ย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร 2565; 5(2): 68-78.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30