พัฒนารูปแบบการจัดการภาวะฉุกเฉินในช่องทางเข้าออกประเทศ ท่าอากาศยานอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ปรีชา เศษสมบูรณ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ, ท่าอากาศยาน, การประเมินความเสี่ยง, ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความเสี่ยงโรค และภัยสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในช่องทางเข้าออกประเทศท่าอากาศยานอุดรธานี 2) พัฒนารูปแบบการจัดการภาวะฉุกเฉินในช่องทาง 3) ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการภาวะฉุกเฉิน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่บุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านการป้องกัน ควบคุมโรคในท่าอากาศยานอุดรธานี โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างร่วมกระบวนการวิเคราะห์ความเสี่ยง และพัฒนาแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข จำนวน 14 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ร่วมกระบวนการประเมินความเหมาะสมของแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินความเสี่ยงตามแนวทาง Risk Assessment เอกสารการจัดทำแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน แบบสอบถามเชิงโครงสร้างเพื่อประเมินผลการซ้อมแผน และแบบสอบถามความเหมาะสมของแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) ค่าฐานนิยม (Mode)

            ผลการศึกษาพบว่า

  1. ผลจากการประเมินความเสี่ยง โรคและภัยสุขภาพที่มีความเสี่ยงในระดับสูง ได้แก่ 1) โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2) ภัยจากคุณภาพอากาศภายในอาคาร 3) ภัยจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก และโรคและภัยสุขภาพที่มีความเสี่ยงในระดับปานกลาง ได้แก่ 1) โรคไข้เหลือง 2) วัณโรค 3) การรั่วไหลของสารโคบอลต์จากเครื่องตรวจสัมภาระผู้โดยสาร 4) ไฟไหม้อาคารผู้โดยสาร 5) เครื่องบินไถลออกนอกรันเวย์
  2. แผนเฉพาะโรคและภัยสุขภาพ กรณีโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ มีองค์ประกอบของแผน คือ 1) ที่มา และความสำคัญ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขอบเขตของแผน 4) ความรับผิดชอบ (หน่วยงานหลัก และหน่วยงานสนับสนุน) 5) นิยาม / คำจำกัดความ 6) ข้อสันนิษฐาน 7) กรอบการปฏิบัติงาน (โครงสร้างการปฏิบัติงาน บทบาทหน้าที่ตามโครงสร้างภารกิจ ภารกิจที่สำคัญก่อนเกิดเหตุการณ์ ระหว่างเกิดเหตุการณ์ และหลังเกิดเหตุการณ์) 8) การติดต่อสื่อสาร
  3. การประเมินความเหมาสมของแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข โดยผลการประเมินพบว่า ในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยความเหมาะสมอยู่ในระดับสูง

References

สำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. (2551). แผนพัฒนางานด้านกฎอนามัยระหว่าง ประเทศ พ.ศ. 2548 (2005) ใน ช่วงปีพ.ศ. 2551 – 2555. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

กลุ่มสาธารณสุขชายแดน. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี. (2566). เอกสารสรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2566.

สำนักโรคติดต่อทั่วไป. (2556). มาตรฐานขั้นตอนการปฏิบัติงานเรื่องการประเมินความเสี่ยง. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน. (2566). แผนปฏิบัติการเฉพาะโรค รองรับสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพ ปี 2566. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก. (2558). คู่มือการประชุมเชิงปฏิบัติการฝึกซ้อมแผนชายแดนไทย - เมียนมา (ตาก - เมียวดี). กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

Bloom,Benjamin S.,et al. (1971). Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company.

กรมควบคุมโรค. (2561). คู่มือการประเมินตนเอง การพัฒนาสมรรถนะหลักช่องทางเข้าออกประเทศท่าอากาศยาน ท่าเรือ และพรมแดนทางบก. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน. (2566). แผนปฏิบัติการเฉพาะโรค รองรับสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพ ปี 2566. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

กองสาธารณสุขฉุกเฉิน. (2563). คู่มือศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์ และสาธารณสุข. สำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข.

พันธ์ฉวี สุขบัติ และภัทรพร ติสารัง. (2566). รูปแบบการบริหารจัดการและความร่วมมือในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านโรคติดต่อ และภัยสุขภาพระหว่างประเทศ จังหวัดมุกดาหาร และ แขวงสะหวันนะเขต. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี. 21 (2), 66 – 82.

ณรงค์ ลือชา และณัฐกานต์ ปวะบุตร. (2566). การบริการจัดการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขกรณีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดเชียงราย. เชียงรายวารสาร. 15 (3), 9 – 24.

นรินทิพย์ ชัยพรมเขียว และคณะ. (2560). การศึกษามาตรการในการควบคุม และป้องกันภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ กรณีศึกษาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษด่านพรมแดนแม่สอด อำเภอ แม่สอด จังหวัดตาก. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข. 3 (2), 193 – 210.

วราลักษณ์ ตังคณะกุล และคณะ. (2557). การพัฒนาสมรรถนะหลักในภาวะฉุกเฉินของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิตามข้อกำหนดของกฎอนามัยระหว่างประเทศ ปี 2548 พ.ศ. 2550 – 2555. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 23 (1), 147 – 157.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

เศษสมบูรณ์ ป. (2024). พัฒนารูปแบบการจัดการภาวะฉุกเฉินในช่องทางเข้าออกประเทศ ท่าอากาศยานอุดรธานี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(3), 119–129. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2641