รูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงในสถานบริการสาธารณสุข ที่โอนภารกิจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • วรวุฒิ จันทิ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, โรคติดต่อนำโดยแมลง, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ในครั้งนี้ ดำเนินการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 10.2 จังหวัดมุกดาหาร ในพื้นที่ 3 จังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงในสถานบริการสาธารณสุขที่โอนภารกิจไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) ติดตามประเมินผลการใช้รูปแบบการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงในสถานบริการสาธารณสุขที่โอนภารกิจไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ตัวแทนผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่โอนภารกิจไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 225 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเชิงโครงสร้าง แบบสอบถามการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง และแบบสอบถามความเหมาะสมของรูปแบบการป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) ค่าฐานนิยม (Mode)

            ผลการศึกษาพบว่า

  1. ข้อมูลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงหลังโอนย้ายภารกิจพบว่าในภาพรวมการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง ระดับความพึงพอใจในการดำเนินงาน อยู่ในระดับปานกลาง
  2. รูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่พัฒนาขึ้น ประกอบไปด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ขอบเขตของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) องค์ประกอบด้านนโยบาย และยุทธศาสตร์ 4) องค์ประกอบด้านกระบวนการ และแนวทางการดำเนินงาน 5) องค์ประกอบด้านกลไกการติดต่อประสานงาน 6) องค์ประกอบด้านการติดตามประเมินผล
  3. ผลการทดสอบความเหมาะสมของรูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงพบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความเหมาะสมกับการดำเนินงาน ด้านความมีประโยชน์ ด้านความถูกต้อง และด้านความเป็นไปได้ อยู่ในระดับสูง ตามลำดับ

References

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี. (2566). สถานการณ์การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตสุขภาพที่ 10. เอกสารประกอบการนำเสนอการประชุมคณะกรรมการบริหาร.

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. (2566). แผนปฏิบัติการจัดการโรคติดต่อนำโดยแมลงระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การจัดการโรคติดต่อนำโดยแมลง พ.ศ. 2566 – 2575. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

Bloom,Benjamin S.,et al. (1971). Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company.

สำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2566). แผนการกระจายอำนาจ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2566. แหล่งข้อมูลจาก : https://odloc.go.th/plan/.

ปนิตา ธีรสฤษกุล และคณะ. (2561). การประเมินผลการถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตสุขภาพที่ 3. วารสารศูนย์การศึกษาแพทนศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 35 (2), 203 – 213.

จรวยพร ศรีศศลักษณ์. (2560). สรุปบทเรียนการถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. เอกสารประกอบการบรรยาย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2567. แหล่งข้อมูลจาก : https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/4798/research-health-center%20-Jaruayporn.pdf?sequence=1

ปนัดดา กลกลาง. (2564). การประสานงานที่มีประสิทธิผล กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าตอ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารโครงการทวิปริญญาทางรัฐประศาสนศาสตร์ และบริหารธุรกิจ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2567. แหล่งข้อมูลจาก : http://www.mpa-mba.ru.ac.th/images/Project/treatise_lopburi01_02082021/6124952474.pdf.

จิระวัตร วิเศษสังข์. (2565). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอเมืองจันทร์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน. 7 (1), 86 – 96.

พันธ์ฉวี สุขบัติ และประยุทธ์ ศรีสำราญ. (2566). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของภาคีเครือข่ายหลังถ่ายโอน สอน./โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร. วารสารสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมศึกษา. 8 (3), 705 – 715.

พงศกร ตันติวรางกูร. (2566). การพัฒนารูปแบบการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอลี้ ในพื้นที่ถ่ายโอนให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข. 3 (3), 62 – 76.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30