ลักษณะของผู้ป่วยมะเร็งที่เป็นวัณโรคปอดในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ยุวลี ฉายวงศ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี
  • วิยะดา เปาวนา อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก Corresponding author
  • จิตตานันท์ ศรีสุวรรณ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ประภัสสร ศรีแสงจันทร์ นักเทคนิคการแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยมะเร็ง, ผู้ป่วยมะเร็งที่เป็นวัณโรคปอด, ลักษณะของผู้ป่วยมะเร็งที่เป็นวัณโรคปอด

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังรายกรณี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งที่ภายหลังได้รับการวินิจฉัยเป็นวัณโรคปอดรายใหม่ จากการทบทวนเวชระเบียนจากระบบฐานข้อมูล ระหว่างปีพ.ศ. 2561-2565 จำนวน 20 ราย เครื่องมือวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูล  สถิติที่ใช้เป็นสถิติเชิงพรรณนา
     ผลการศึกษาพบว่า   1) ปัจจัยด้านบุคคล กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 90 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีประวัติสูบบุหรี่และดื่มสุราและจบประถมศึกษา ร้อยละ 55  ไม่มีโรคประจำตัวร้อยละ 60 รองลงมาเป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 15 2) ปัจจัยด้านเชื้อก่อโรคและมะเร็ง ผลตรวจเสมหะเป็นบวกร้อยละ 65 ผลตรวจเอกซเรย์ปอดผิดปกติร้อยละ 95 โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดเป็นมะเร็งลิ้น  รองลงมาเป็นมะเร็งช่องปาก ร้อยละ 40 และ 15 ตามลำดับ มะเร็งลุกลามไปที่ปอดพบมากที่สุดร้อยละ 35 และเป็นมะเร็งระยะที่ 4 ร้อยละ 65 การรักษาทั้งเคมีบำบัดและรังสีรักษาร้อยละ 55 3) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 45 จำนวนสมาชิกในครอบครัวมากกว่า 4 คน ร้อยละ 35 ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคปอดร่วมบ้าน ร้อยละ 10 มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โสต ศอ นาสิก ร้อยละ 100

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562. นนทบุรี; 2562.

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. คู่มืออบรมพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานวัณโรค. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์และการเฝ้าระวังวัณโรคประเทศไทย. [อินเตอร์เน็ต] เข้าถึงได้จาก: http://tbcmthailand.ddc.moph.go.th/ ดึงข้อมูล ณ วันที่ 1 เมษายน 2564; 2564.

สำนักงานบริหารโครงการกองทุนโลก กรมควบคุมโรค. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ความคุ้มค่าการลงทุนเพื่อยุติปัญหาวัณโรคในประเทศไทย:การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลได้; 2560.

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2564. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.

จันทร์ชนก กิตติจันทโรภาส. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดลำปาง. ว.วิชาการสาธารณสุขชุมชน 2562; 5:74-82.

Kumar DS, Ronald LA, Romanowski K, et al. Risk of active tuberculosis in migrants diagnosed with cancer: a retrospective cohort study in British Columbia, Canada. BMJ Open 2021; 1-10.

Akira Shimouchi, Yuko Tsuda, Jun Komukai, Kenji Matsumoto, Hideki Yoshida,Akihiro Ohkado. Factors associated with mortality among patients with culture-positive pulmonary tuberculosis in the urban poor population of Osaka City, Japan. Western Pacific Surveillance & Response Journal. Jul-Sep 2021;12(3): 1-9.

Chen GL,Guo L., Yang S., Ji DM. Cancer risk in tuberculosis patients in a high endemic area. BMC cancer 2021; 21(1): 1-7.

อเนก หล้าเพชร และปิยะนุช พรหมสาขา ณ สกลนคร. ศึกษาอาการและอาการแสดงทางคลินิกที่เป็นสัญญาณเตือนเพื่อการคัดกรองและวินิจฉัยวัณโรคปอดในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ. ว.พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2562; 29(2): 64-73.

อัมพาพันธ์ วรรณพงศภัค และกิตติกาญจน์ มูลฟอง. ลักษณะและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุการตายของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดลำพูน. ว.สาธารณสุขล้านนา 2560; 13(2): 72-85.

พันธ์ชัย รัตนสุวรรณ. ตำราระบาดวิทยาสำหรับนักศึกษาแพทย์และนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. [อินเตอร์เน็ต] นครศรีธรรมราช: 2561 [เข้าถึงเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2561] เข้าถึงได้จาก: https://smd.wu.ac.th/wp-content/uploads/2017

Dobner J, Kaser S. Body mass index and the risk of infection - from underweight to obesity. Clin Micro-biol Infect 2018;24(1):24-8. https://doi: 10. 1016/j.cmi.2017.02.013.

ราเมศ คนสมศักดิ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อ โรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร 2560; 9(1): 19-27.

ปณิธี ธัมมวิจยะ (บรรณาธิการ). แผนงานวิจัยด้านการป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ พ.ศ. 2565-2569. กองนวัตกรรมและวิจัย (กนว.) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

Guang-Liang Chen , Li Guo , Shun’e Yang and Dong-Mei Ji. Cancer risk in tuberculosis patients in a high endemic area. BMC Cancer 2021; 21:679 https://doi.org/10.1186/s12885-021-08391-6

Luczynski P, Poulin P, Romanowski K, Johnston JC. Tuberculosis and risk of cancer: A systematic review and meta-analysis. PLo SONE 2022; 17(12): e0278661. https://doi.org/ 10.1371/journal.pone.0278661

วิลาวัลย์ ปากวิเศษ. การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมวัณโรคสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่และผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านในเครือข่ายสุขภาพอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด. ว. วิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2566; 4(2): 114-125.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30