ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลและเตรียมความพร้อมก่อนให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายต่อความรู้ ความวิตกกังวลและการเลื่อนผ่าตัดผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ชยุต ทองวงศา โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

การให้ข้อมูล, การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง, ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย

บทคัดย่อ

     การศึกษากึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลและเตรียมความพร้อมก่อนให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย ต่อความรู้ ความวิตกกังวลและการเลื่อนผ่าตัดผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่มีแผนการรักษาด้วยการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้องและได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลวานรนิวาส ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2567 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความวิตกกังวล แบบสอบถามความรู้ และแบบบันทึกอุบัติการณ์เลื่อนผ่าตัดจากผู้ป่วยไม่พร้อม เครื่องมือในการทดลองคือโปรแกรมการให้ข้อมูลและเตรียมความพร้อมก่อนให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพื้นฐาน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเปรียบเทียบใช้ paired t-test
     ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 50-59 ปี ร้อยละ 56.67 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 73.33 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 73.33 จบระดับชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 40.00 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 36.67 รายได้ครอบครัวต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 46.67 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 60.00 ไม่เคยมีประวัติได้รับยาระงับความรู้สึกมาก่อน ร้อยละ 70.0 ASA class ระดับ 2 ร้อยละ 70.0 มีดัชนีมวลกาย 25.0-29.9 kg/m2 ร้อยละ 36.67 ไม่เคยสูบบุหรี่ ร้อยละ 76.67 ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นบางครั้ง ร้อยละ 76.67 หลังได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลและเตรียมความพร้อมก่อนให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย พบว่าคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=13.148, p<0.001) คะแนนเฉลี่ยความรู้สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-10.966, p<0.001) และไม่พบอุบัติการณ์เลื่อนผ่าตัด

References

สรรชัย กาญจนลาภ. บทความฟื้นฟูวิชาการ นิ่วในระบบทางเดินน้ำดี. เวชสารแพทย์ทหารบก 2554,64(1),39-45.

ธวัช ชาญชญานนท์. Anesthesia for Laparoscopic Surgery [อินเตอร์เน็ต]. ม.ป.ป.[เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2566]. แหล่งข้อมูล http://medinfo2.psu.ac.th/anesth/education/laparoscopic.html

Joris JL. Anesthesia for laparoscopic surgery. In: Miler RD, editor. Miller’s anesthesia 7th ed. Philadelphia: Churchill Livingstone; 2010.

Cunningham AJ, Nolan C. Anesthesia for minimally invasive procedures. In: Barash PG, Cullen BF, Stoelting RK, editors. Clinical anesthesia. 5th ed. Philadelphia: Williams & Wilkins;2006.

Cunningham AJ. Anesthetic implications of laparoscopic surgery. Yale J Biol Med 1998,71,551-578.

Joshi GP. Anesthesia for laparoscopic surgery. Can J Anaesth 2002,49,R1-R5.

Gerges FJ, Kanazi GE, Jabbour-Khoury SI. Anesthesia for laparoscopy: a review. J Clin Anesth 2006,18,67-78.

วรรณพร ทองประมูล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะออกซิเจนต่ำในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกเพื่อการผ่าตัดในห้องพักฟื้น. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2558,31(4),120-131.

สมรัตน์ จารุลักษณานันท์, สุวรรณี สุรเศรณีวงศ์. การวิจัยสหสถาบันเพื่อการศึกษาการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีในประเทศไทย (THAI AIMS). J Med Assoc Thai 2008,91,1011-1018.

ขษีร์สิริ หงส์วิไล. ผลลัพธ์ของแบบแผนการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึก[วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการพยาบาล]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2556.

สราวุฒิ สีสถาน. ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดต่อการฟื้นตัวในผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้อง. วารสาร มฉก. วิชาการ 2560,20(40),101-113.

Balentine J, Hermosillo J, Robinson N, Berger H, Naik D. Depression is associated with prolonged and complicated recovery following colorectal surgery. Journal of Gastrointestinal Surgery 2011,15(10),1712.

Wells JK, Howard GS, Nowlin WF, Vargas MJ. Presurgical anxiey and postsurgical pain and adjustment: Effects of a stress inoculation procedure. Journal of Consulting and Clinical Psychology 1986,54(6),831-835.

Maranets I, and Kain FT. Preoperative anxiety and intra-operation anesthesia Requirement. Anesthesia and Analgesia 1999,89(1999),1346-1351.

ยุพิน บุญปถัมภ์, จงกลนี ดาววิจิตรและอรุณีย์ ไชยชมภู. ผลของการประเมินและเตรียมความพร้อมผู้ป่วยที่คลินิกวิสัญญีต่อการประเมินและเตรียมความพร้อมก่อนให้ยาระงับความรู้สึกอย่างน้อย 1 วัน ก่อนผ่าตัดและการงดเลื่อนผ่าตัดในผู้ป่วยแผนกศัลยกรรมโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564,30(4),706-716.

ดวงดาว อรัญวาสน์, สิริรัตน์ ตรีพุทธรัตน์, เทพกร สาธิตการมณีและกชกร พลาชีวะ. ผลการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผน ต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว. วิสัญญีสาร 2555,38(2),102-102-108.

พิชัย จันทศิลป์และชยาวรักษ์ สัจจวาณิชย์. ผลลัพธ์การเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยก่อนได้รับยาระงับความรู้สึกเพื่อทำการผ่าตัดข้อเข่าเทียม โรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2564,5(10),127-142.

ศุภางค์ ดำเกิงธรรม, ยุพาพร หงส์สามสิบเจ็ดและเพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล. ผลการใช้สื่อวิดิทัศน์เพื่อเตรียมความพ้อมผู้ป่วยก่อนเข้ารับการระงับความรู้สึกต่อความรู้และความวิตกกังวลในผู้ป่วยผ่าตัดกระดูก โรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่ 2564,29(1),50-64.

ฐิตารีย์ อิงไธสง. ผลของโปรแกรมเตรียมความพร้อมก่อนการระงับความรู้สึกแบบฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังต่อความรู้และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของหญิงตั้งครรภ์แรก. วารสารการพยาบาล สุขภาพและการศึกษา 2564,4(2),16-25.

ลัดดาวัลย์ พรรณสมัย, จันศรี อุจันทึก, วราภรณ์ จีนเจนกิจ, นุชนาฎ บุโฮม, ปานทิพย์ ปูรณานนท์และอัจฉรา มีนาสันติรักษ์. รูปแบบการเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุก่อนให้การระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดของวิสัญญีพยาบาล. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2560,14(3),76-89.

Leventhal, H. & Johnson, J.E. Laboratory and field experiment of a theory of self-regulations. In Behavioral Science and Nursing. Wooldridge, P.T. et al., eds. St Louise: The C.V. Mosby Co.;1983.

Polit DF, & Hunger BP. Nursing Research: Principle and Methods. (6th ed.) Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins;1999.

นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพชร์ และญาดา นภาอารักษ์. การคำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G* Power[อินเตอร์เน็ต]. ม.ป.ป.[เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2566]. แหล่งข้อมูล file:///C:/Users/Lenovo/Downloads/181958-Article%20Text-595652-1-10-20190623%20(5).pdf

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์;2556.

ดาราวรรณ ต๊ะปินตา. การลดความวิตกกังวลของพยาบาลประจำการที่ดูแลผู้ป่วยเอดส์ด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนความคิดร่วมกับการฝึกสติ [วิทยานิพนธ์ปริญญาคุรุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย;2534.

Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill;1971.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

ทองวงศา ช. (2024). ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลและเตรียมความพร้อมก่อนให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายต่อความรู้ ความวิตกกังวลและการเลื่อนผ่าตัดผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(3), 21–29. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2674