การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน ในโรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน, ยาวาร์ฟาริน, การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน, การพัฒนาระบบบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินในโรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน ที่เข้ารับบริการในระบบการดูแล จำนวน 46 คน โดยมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างโดยสถิติเชิงพรรณนา หาความถี่ ค่าเฉลี่ยและร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากแบบบันทึกการปฏิบัติตามกระบวนการ และการเปรียบเทียบความพึงพอใจก่อนและหลังการพัฒนาระบบโดยใช้สถิติ Pair T-test
ผลการศึกษา : พบว่า 1) ความรู้ผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน หลังการพัฒนาระบบมีค่าคะแนนความรู้ผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินสูงกว่าก่อนการพัฒนาระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) พฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน พบว่า หลังการพัฒนาระบบมีค่าคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยที่ได้รับยา วาร์ฟารินสูงกว่าก่อนการพัฒนาระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ความพึงพอใจของทีมสหวิชาชีพและผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินหลังการพัฒนาระบบมีค่าคะแนนความรู้ผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินสูงกว่าก่อนการพัฒนาระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4) การเปรียบเทียบดัชนีชี้วัดด้านสุขภาพ ประกอบด้วย ค่า INR ของผู้ป่วย ที่ได้รับยาวาร์ฟาริน พบว่า หลังการพัฒนาระบบมีค่า INR ของผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินเพิ่มขึ้นและค่าเฉลี่ยการผ่านเกณฑ์ % TIR ดีกว่าก่อนการพัฒนาระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
พัทยา หวังสุข, สุนิดา แสงย้อย. การพัฒนาเครือข่ายการดูแล ผู้ป่วยใช้ยาวาร์ฟารินในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2557;23(1):45-51
ดุษฏี อารยะวงศ์ชัย, ธีระพล เกาะเทียน. การพัฒนาเครือข่าย การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ หลังผ่าตัดหัวใจที่ได้รับยาวาร์ฟาริน (เครือข่ายวาร์ฟาริน เขต 13 ). อุบลราชธานี: โรงพยาบาล สรรพสิทธิประสงค์; 2553.
นาตยา หวังนิรัติศัย, สกนธ์ สุภากุล, ภูขวัญ อรุณมานะกุล. ผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟา รินของคลินิกวาร์ฟาริน โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารเภสัชกรรมไทย 2560;10(1):120-8.
บัญชา สุขอนันตชัย, อุบลวรรณ สะพู. การจัดตั้งเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจที่รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดในโรงพยาบาลชุมชนและศูนย์แพทย์ชุมชน จังหวัดนครราชสีมา.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2554;5:495.
ปาจรีย์ ศรีอุทธา, วันวิภา เทพารักษ์. การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยนอก ที่มีการควบคุมการรักษาของยาวาร์ฟาริน ไม่คงที่. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล 2552;19:123- 35.
โรงพยาบาลปทุมราชวงศา . สรุปผลการดําเนินงานคลินิก วาร์ฟารินผู้ป่วยนอก. อํานาจเจริญ: โรงพยาบาลปทุมราชวงศา; 2553. น. 45-7.
วิเศรษศิลป พันธ์นาคํา.ผลลัพธ์ทางคลินิก ของการพัฒนา ปรับปรุงงานในคลินิกวาร์ฟารินโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน. อายุรศาสตร์อีสาน 2552;8:22-30.
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางการรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.); 2554.
สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการดูแลรักษาภาวะเลือดออกในผู้ป่วยที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทานที่ออกฤทธิ์ยับยั้งปัจจัยการแข็งตัวของเลือดโดยตรง.กรุงเทพมหานคร: สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย ; 2565.
อัมพร เบญจพลพิทักษ์, ลัดดา ดําริการเลิศ. การจัดการความรู้และสังเคราะห์แนวทางปฏิบัติของโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล: แนวทางการดูแลสุขภาพวัยรุ่น.กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2553.
อัจฉรีย์ สีหา.การพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟารินของหน่วยบริการปฐมภูมิ:กรณีศึกษาเขตสุขภาพ อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ; 2562.
Henenghan C, Alonso-Coello. Self-monitoring of oral anticoagulation: a systematic review and meta-analysis. Lancet 2006:367:404-11.
Ansell J, Wittkowsky AK, Jake E. Managing oral anticoagulation therapy: clinical and operational guidelines. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2009.