ผลของการใช้โปรแกรมการส่งเสริมการล้างมือ เพื่อป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ของนักเรียน ชั้นอนุบาล โรงเรียนบ้านหนองพอกน้อย ตำบลคำตากล้า อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ภัคจิรา เหลาพรม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลคำตากล้า จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

โปรแกรมการส่งเสริมการล้างมือ, นักเรียนชั้นอนุบาล, การป้องก้นโรคมือ เท้า ปาก

บทคัดย่อ

     การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi–Experimental Research) แบบกลุ่มเดียว มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest–Posttest Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของโปรแกรมการส่งเสริมการล้างมือ เพื่อป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ของนักเรียนชั้นอนุบาล โรงเรียนบ้านหนองพอกน้อย ตำบลคำตากล้า อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นอนุบาล 1-3 ที่ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์กำหนด ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 46 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตและสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนหลังด้วยสถิติ Paired Sample T-Test
     ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 6 ปี คิดเป็นร้อยละ 39.13 อายุเฉลี่ย 5.15 ปี เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 58.70 และกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 คิดเป็นร้อยละ 39.13 หลังการใช้โปรแกรมการส่งเสริมการล้างมือ เพื่อป้องกันโรคมือ เท้า ปาก พบว่า นักเรียนชั้นอนุบาลมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการล้างมือตามขั้นตอนที่ถูกวิธี 7 ขั้นตอน ก่อนรับประทานอาหารกลางวัน เพิ่มมากกว่าก่อนการใช้โปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.05 แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการส่งเสริมการล้างมือ เพื่อป้องกันโรคมือ เท้า ปาก มีผลในการเพิ่มความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการล้างมือในเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล

References

นริศรินทร์ วังใน. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติกับพฤติกรรมของมารดาในการป้องกันโรคมือเท้าปากให้บุตรที่เรียนโรงเรียนอินเตอร์ทอทส์ ไตรลิงกวล อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564. 75 หน้า

กรมควบคุมโรค สำนักระบาดวิทยา. รายงานการเฝ้าระวังโรค 506. [อินเตอร์เน็ต]. 2565[สืบค้นเมื่อ 6 ก.พ.2567]. สืบค้นจาก: http://doe.moph.go.th/surdata/disease.php?dcontent=situation&ds=02

กรมควบคุมโรค สำนักระบาดวิทยา. รายงานการเฝ้าระวังโรค 506. [อินเตอร์เน็ต]. 2565[สืบค้นเมื่อ 6 ก.พ.2567]. สืบค้นจาก: http://apps-doe.moph.go.th/boe/software/downloadtab.php

ตระกูลไทย ฉายแม้น. การพยากรณ์โรคมือ เท้า ปาก จังหวัดสกลนคร ปี 2563. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อม. 2565; 5(3): หน้า 88-95.

โรงพยาบาลคำตากล้า. ข้อมูลรายงานโรคมือ เท้า ปาก ปีพ.ศ. 2561-2566 โรงพยาบาลคำตากล้า อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร. 2566.

อินนิเชียล. วันล้างมือโลก 2565 รวมกันเป็นหนึ่งเพื่อสุขอนามัยมือ [อินเตอร์เน็ต] กรุงเทพมหานคร:อินนิเชียล; 2565 [สืบค้นเมื่อ 6 ก.พ.2567]. สืบค้นจาก https://www.initial.com/th/blog/global-handwashing-day

ทัศสินีย์ มีงาม. ประสิทธิผลของนวัตกรรมโปรแกรมการส่งเสริมการล้างมือ เพื่อป้องกันโรคมือ เท้า ปากของนักเรียนชั้นอนุบาลโรงเรียนนภาเชียงใหม่ ตำบลสันผีเสื้อ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.[วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2563. 119 หน้า.

กมลมาศ วงษ์ใหญ่ และชยุต โชคพัทธนันท์. การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง ห่างไกลโรคมือเท้าปาก เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นอนุบาล. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2564; 15(1): 1-12.

อินดี้ซอง คิดส์. สื่ออนิเมชั่นนิทานสอนใจ เรื่อง เก่งเป็นโรคมือ เท้า ปาก. ยูทูป [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [สืบค้นเมื่อ 9 ก.พ.2567]. สืบค้นจาก:https://www.youtube.com/watch?v=Gf9Uv6W3zh8

อินดี้ซอง คิดส์. สื่ออนิเมชั่นนิทานสอนใจ เรื่อง แก๊งมือสะอาด. ยูทูป [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 9 ก.พ.2567]. สืบค้นจาก: https://www.youtube.com/watch?v=8F5cuYK8fgA

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค. ล้างมืออย่างไรให้สะอาด. โปสเตอร์ล้างมือ [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [สืบค้นเมื่อ 9 ก.พ.2567]. สืบค้นจาก: https://amonrat2541.wordpress.com/โปสเตอร์โฆษณา/โปสเตอร์ล้างมือ1/

พรพญา เตปิน, วราภรณ์ บุญเชียง, ศิริตรี สุทธจิตต์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมในการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลเจริญเมือง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. ลำปางเวชสาร 2561; 39(2): 72-80.

ศุภกัญญา ชูจันทร์. ผลของการให้ข้อมูลผ่านการ์ตูนสองมิติต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบทางเดินหายใจในเด็กวัยก่อนเรียนในศูนย์เด็กเล็ก [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2562. 120 หน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

เหลาพรม ภ. (2024). ผลของการใช้โปรแกรมการส่งเสริมการล้างมือ เพื่อป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ของนักเรียน ชั้นอนุบาล โรงเรียนบ้านหนองพอกน้อย ตำบลคำตากล้า อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(3), 98–108. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2676