ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดการคุณภาพโดยรวมของกองแพทย์หลวงในสำนักพระราชวัง

ผู้แต่ง

  • ภาสิริ ริยะกุล นิสิตปริญญาโท หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • ชลธิชา แก้วอนุชิต รองศาสตราจารย์ ดร. และผู้ทรงคุณวุฒิเครือข่ายสหวิทยาการราชบัณฑิตในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • ศุภกฤต โสภิกุล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ
  • กมลมาลย์ วิรัตน์เศรษฐสิน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

การจัดการคุณภาพโดยรวม, แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, วัฒนธรรมองค์การ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดการคุณภาพโดยรวมของกองแพทย์หลวงในสำนักพระราชวัง กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรของกองแพทย์หลวงในสำนักพระราชวัง จำนวน 293 คน โดยใช้การเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม เมื่อปีพ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า การจัดการคุณภาพโดยรวมของกองแพทย์หลวงในสำนักพระราชวังอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 57.0 รองลงมาคือระดับมาก คิดเป็น ร้อยละ 34.1 ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการคุณภาพโดยรวมของกองแพทย์หลวงในสำนักพระราชวังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระดับการศึกษา (𝑥2=51.335) ตำแหน่งงาน (𝑥2=25.516) การได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพโดยรวม (𝑥2=82.754) แผนก/ฝ่ายที่สังกัด (𝑥2=31.827) อายุ (r=0.301) ระยะเวลาการทำงาน (r=0.438) รายได้ต่อเดือน (r=0.320)  แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (r=0.232) และวัฒนธรรมองค์การ (r=0.648) โดย p-value < 0.001

References

Bonechi L, Carmignani G & Mirandola R. La Gestione Della Qualità Nelle Organizzazioni-dalla Conformità All’eccellenza Gestionale. Edizioni Plus srl. 2004.

Aiken LH, Sermeus W, Van den Heede K, Sloane DM, Busse R, McKee M, et al. Patient safety, satisfaction, and quality of hospital care: Cross sectional surveys of nurses and patients in 12 countries in Europe and the United States. BMJ. 2012:344.

McClellan M, Rivlin A. Improving Health while Reducing Cost Growth: What is Possible. Washington: The Brookings Institution; 2014.

Chang CS, Chen SY, Lan YT. Service quality, trust, and patient satisfaction in interpersonal-based medical service encounters. BMC Health Serv Res. 2013 Jan 16;13(1):22.

OECD. OECD Guidelines for Multinational Enterprises [Internet]. Paris: oecd; 2000 [cited 2023 Feb 2]. Available from: https://www.oecd.org/corporate

ส่วนวิจัยและพัฒนาระบบ รูปแบบและโครงสร้าง, สำนักพัฒนาระบบ รูปแบบและโครงสร้าง, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาระบบ รูปแบบและโครงสร้าง (สพร.) ; 2546 [เข้าถึงเมื่อ 5 เม.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ssc.onab.go.th/th/content/

Cummings TG, Worley CG. Organization Development and Change. 10th ed. Boston: Cengage Learning; 2014.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การศึกษาแบบจำลองความสัมพันธ์เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ [อินเทอร์เน็ต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553 [เข้าถึงเมื่อ 5 เม.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2550/enin0450pp_ch2.pdf

Vituri DW, Évora YDM. Total Quality Management and hospital nursing: an integrative literature review. Rev Bras Enferm. 2015;68(5):945–52.

สรรพสิทธิ์ ชมภูนุช, ทิวากร แสร์สุวรรณ, ศิรินดา สวนมาดี และ โชติ บดีรัฐ. บริบทของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฉบับที่ 13. Journal of Roi Kaensarn Academi, 2564;7(3):409-24.

วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ. หน่วยที่ 3 วัฒนธรรมขององค์การ การบริหารงานคุณภาพในองค์การ [อินเทอร์เน็ต]. ศรีสะเกษ: วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ; 2548 [เข้าถึงเมื่อ 21 ก.พ. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://sites.google.com/site/rtech603xx/unit-3

Deming WE. Quality, productivity and competitive position. Boston: Massachusetts Inst Technology; 1982.

Daniel WW. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Science; 2010.

Best JW. Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall; 1977.

Hinkle DE, William W, & Stephen GJ. Applied Statistics for the Behavior Sciences. 4th ed. New York: Houghton Mifflin; 1998.

พิเชษฐ อุดมสมัคร และเขมรินทร์ ชูประดิษฐ์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การของธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารในจังหวัดสมุทรปราการ.วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร. 2564;4(3):1-13.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พุทธศักราช 2566 - 2570) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ราชกิจจานุเบกษา; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 15 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ldd.go.th/App_Storage/navigation/files/23_0.pdf

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การศึกษาแบบจำลองความสัมพันธ์เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติมีทฤษฎี [อินเทอร์เน็ต]. CMU. [เข้าถึงเมื่อ 5 เม.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก:https://archive.lib .cmu.ac.th/full/T/2550/enin0450pp_ch2.pdf

Ahmad M, Yin JCS, Nor NHM, Nik HMW, Mohd FHF. The Relationship between TQM Practices with TQM Tools and Techniques in Small and Medium Enterprise (SMEs). AIP Conf. Proc. 2017.

Gómez-López R., Serrano-Bedia AM, López-Fernández MC. Motivations for implementing TQM through the EFQM model in Spain: an empirical investigation. Total Qual Manag Bus Excell, 2015;27(11-12),1224–45.

Aburayya A, Alshurideh MT, Marzouqi AA, Diabat OA, Alfarsi A, Suson R, Bash M, & Salloum SA. An Empirical Examination of the Effect of TQM Practices on Hospital Service Quality: An Assessment Study in UAE Hospitals. Sys Rev Pharm. 2020;11:347-62.

ชลธิชา แก้วอนุชิต และศุภกฤต โสภิกุล. แนวโน้มการจัดทำแบบเกษมสุขด้วยโมเดลปลาบู่มหิดลเพื่อการสาธารณสุขไทยภายใต้สถานการณ์โรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 18 วันที่ 3-4 กรกฎาคม 2564 มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล. 2564:108-116.

Kaewanuchit, C, Sopikul, S, Silawan, P, Nayan Deep S. Kanwal. Community health strategy under the context of globalization: Mahidolia Healthy Model. Horizon JHSSR. 2021;3(2):151-60.

ชลธิชา แก้วอนุชิต. แนวคิดปัจจัยกำหนดสุขภาพและปัจจัยกำหนดสังคมทางสุขภาพภายใต้ระบบสุขภาพโลกและประเทศไทย. 2556;36(1):123-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30