คุณภาพการให้บริการแผนกผู้ป่วยนอกของผู้รับบริการ โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • สุลัดดา สุวรรณวิเศษ นิสิตปริญญาโท หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • ชลธิชา แก้วอนุชิต รองศาสตราจารย์ ดร. และผู้ทรงคุณวุฒิเครือข่ายสหวิทยาการราชบัณฑิตในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • ศุภกฤต โสภิกุล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

คุณภาพการให้บริการ, การรับรู้การบริการ, การบริหารจัดการองค์กร, แผนกผู้ป่วยนอก

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการแผนกผู้ป่วยนอกของผู้รับบริการ โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือผู้มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกจำนวน 267 คนสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 – 30 พฤศจิกายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพการให้บริการแผนกผู้ป่วยนอกของผู้รับบริการโรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร จังหวัดสกลนคร อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91.40  นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการให้บริการแผนกผู้ป่วยนอกของผู้รับบริการ โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร จังหวัดสกลนคร สำหรับตัวแปรด้านการรับรู้การบริการของผู้รับบริการ (r=0.29) และตัวแปรการบริหารจัดการองค์กรต่อระบบบริการ (r=0.61) พบว่า มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการให้บริการแผนกผู้ป่วยนอกของผู้รับบริการโรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร จังหวัดสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)

References

กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การขับเคลื่อนแผนพัฒนาระบบ บริการสุขภาพ พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2560.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือมาตรฐานระบบบริการสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ปี พ.ศ. 2563 (ฉบับส่งเสริมและพัฒนาสถานพยาบาล). กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

ผ่องพรรณ ธนาและคณะ. พระพุทธศาสนากับการพัฒนาคุณภาพการบริการ. วารสารการพยาบาล และการดูแลสุขภาพ, 2560;35:15-21.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. ภารกิจ วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 31 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.oic.go.th/ginfo/moreinfo.asp?

โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร. ข้อมูลทั่วไป [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 31 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก https://arjarohospital.go.th/

Daniel, W. W. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Science. Canada: John Wiley & Sons, Inc; 2010.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย.พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพมหานคร: เอเชีเพรส; 2558.

Parasuraman, A., Ziethaml, V.A., & Berry, L.L. SERVQUAL: A Muti-item scale for measuring consumer perception of service quality. Journal of Retailing 64 (1): 12-40; 1988.

Best, J. W. Research in Education (3rd.). New Jersey: Prentice Hall; 1977.

บุษบา บุญทะจิตต์. คุณภาพการบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการ ในหอผู้ป่วยพิเศษ โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2557.

มานพ สงสุรินทร์. คุณภาพในการให้บริการของฝ่ายโยธาสำนักงานเขตบางพลัด กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก; 2561.

รุ่งทิพย์ นิลพัท. คุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจที่มีความสัมพันธ์กับการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้รับบริการโรงพยาบาลเปาโล รังสิต. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2561.

วาปี ครองวีริยะภาพ. คุณภาพบริการพยาบาลแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเอกซน กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.

ศุภลักษณ์ แซ่ห่าน. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคาดหวังในคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลนครินทร์ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 31 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก http://www.ba-abstract.ru.ac.th.upload

พรรณิดา ขุนทรง. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2557.

ภัทรีญา นามเจริญ. การเปรียบเทียบความคาดหวังและการรับรู้ของผู้มารับปริการที่มีต่อคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย.วิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2558.

พิกุล รัตถาพิมพ์. คุณภาพบริการตามความคาดหวังและตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานีวิทยานิพนธ์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2558.

ชลธิชา แก้วอนุชิต. แนวคิดปัจจัยกำหนดสุขภาพและปัจจัยกำหนดสังคมทางสุขภาพภายใต้ระบบสุขภาพโลกและประเทศไทย. 2556;36(1):123-31.

ชลธิชา แก้วอนุชิต และศุภกฤต โสภิกุล. แนวโน้มการจัดทำแบบเกษมสุขด้วยโมเดลปลาบู่มหิดลเพื่อการสาธารณสุขไทยภายใต้สถานการณ์โรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 18 วันที่ 3-4 กรกฎาคม 2564 มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น วิทยาเขตวัชรพล. 2564:108-116.

Kaewanuchit, C, Sopikul, S, Silawan, P, Nayan Deep S. Kanwal. Community health strategy under the context of globalization: Mahidolia Healthy Model. Horizon JHSSR. 2021;3(2):151-60.

Davis.J.A. Elemeniary survey analysis. Englewood Clifts,N J:Prenlice-Hall. 1971.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

สุวรรณวิเศษ ส., แก้วอนุชิต ช., & โสภิกุล ศ. (2024). คุณภาพการให้บริการแผนกผู้ป่วยนอกของผู้รับบริการ โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร จังหวัดสกลนคร. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(3), 174–183. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2681