การพยาบาลมารดาคลอดก่อนกำหนดและมีภาวะช็อคจากการตกเลือดหลังคลอดในระยะแรก: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ภีมวัชร์ จันทร์ช่างทอง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลคอนสาร

คำสำคัญ:

การพยาบาลผู้คลอด, การคลอดก่อนกำหนด, ภาวะตกเลือดหลังคลอด

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุการคลอดก่อนกำหนดและการดำเนินของภาวะตกเลือดหลังคลอด ผลกระทบต่อมารดาทารกการรักษาพยาบาลในรายกรณีและนําผลการศึกษามาใช้เป็นองค์ความรู้ในการดูแลรักษาพยาบาลมารดาที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอด ผลการศึกษากรณีตัวอย่าง 1 รายโดยศึกษาที่งานห้องคลอด โรงพยาบาลคอนสาร ประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดมารดาตั้งครรภ์ครั้งแรก(G1P0A0L0)อายุ16 ปีประจําเดือนครั้งสุดท้าย จําไม้ได้ประมาณต้นเดือนธันวาคม 2565 ไม่ได้รับการฝากครรภ์ ไม่ระบุตัวสามีจากผล ultrasoundอายุครรภ์ประมาณ 32 สัปดาห์ ผลการตรวจเลือด Hct: 27.5 %  VDRL: Non-reactive, HbsAg: Negative, HIV: Negative, Blood group: AB มาดวยอาการเจ็บครรภ์คลอดมีเลือดออกทางช่องคลอดจำนวนมากก่อนมาโรงพยาบาล4ชั่วโมง สัญญาณชีพแรกรับอุณหภูมิ 37.2 องศาเซลเซียส อัตราการเต้นของชีพจร 100 ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ 20 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 90/60 มิลลิเมตรปรอท ร้องเจ็บครรภ์ท่าทางกังวล ให้ 0.9 % NSS 1000 ml. Free Flow 500 ml. ตรวจภายในพบปากมดลูกเปิด 9 cm effacement 100% ย้ายเข้าทำคลอด คลอด NL,2 degree tear ทารกเพศชาย นน.1,235 กรัม Active ดี Apgar score ที่ 1,5 นาที=9,10 หลังรกคลอดมีเลือดออกจากช่องคลอดลักษณะ active bleeding รกคลอดครบได้รับการรักษา Oxytocin 20 unit ใน 5% D/NSS 1000 ml.หยดเข้าเส้นเลือดดํา 100 มิลิลิตร/ชั่วโมง, Methergin 1 amp. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ คลึงมดลูกตลอดเวลา เลือดหยุดภายใน 3 นาที ประมาณการการสูญเสียเลือด 600 มิลลิลิตร สัญญาณชีพวัดอุณหภูมิได้ 37.2 องศาเซลเซียส อัตราการเต้น ของชีพจร 100 ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ 20 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 90/50 มิลลิเมตรปรอท แพทย์ให้ RLS 1000 ml. Free Flow 500 ml. และ ให้ PRC 2 unit แพทย์พิจารณาส่งต่อเพื่อพบสูติแพทย์โรงพยาบาลชัยภูมิพร้อมทารกที่มีปัญหาคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อย

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2564). อัตราส่วนการตายมารดาไทย ปี2560-2563 ค้นจากhttp://be.moph.o.th/bie/meeting_file/meeting_file16/4.4

เบญจมาภรณ์ จานทอง, วิลาวัลย์ ป้อถา และ สุคนทิพย์ ว่องไว. (2562). รายงานทบทวนวรรณกรรม เรื่อง การตกเลือดหลังคลอดระยะแรก. ค้นจากhttps://apps.hpc.go.th/dmkm/web/uploads/2020/0 6 4280-2 02006 0 2 1 6 0 9 5 5 /fbab 0e380f7c78e7571e8251fc309004.pdf.

พูลสวัสดิ์ โพธิ์ทอง.(2562).ผลการพัฒนาการเฝ้าระวังและป้องกันการตกเลือดหลังคลอด หอผู้ป่วยสูติ-นรีเวช รพ.เลย.ชัยภูมิสาร ปีที่36-9ฉบับที่2(ธ.ค2562) สืบค้นจาก https://thaidi.org

นันทพร แสนศิริพันธ์ และ ฉวี เบาทรวง. (2561). การพยาบาลและการผดุงครรภ์: สตรีที่มีภาวะแทรกซ้อน.คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กลุ่มงานการพยาบาลผู้คลอด. (2566). ข้อมูลมารดาคลอดปกติและภาวะแทรกซ้อน.โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ 2564-2566. จังหวัดชัยภูมิ.

เลียม กันโต.(2563).การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดร่วมกับมีภาวะช็อค กรณีศึกษา.โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร ปีที่29ฉบับ1 (ม.ค-มิ.ย2563)หน้า 1-12 สืบค้นจากhttps://he01.tci-thaijo.org

สุพนิต ปัญญาภู.(2565).การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด 2 ชม.แรกในห้องคลอด รพ.เลย.ชัยภูมิสาร ปีที่42ฉบับที่2(ธ.ค.2565) สืบค้นจากhttps://thaidi.org

อุษา คงคา.(2022).การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเป็นหุ้นส่วนทางการพยาบาล:การศึกษาวิจัยแบบพหุกรณี.วารสารวิชาการและการพยาบาลวิทยาลับพยาบาลบรมมราชชนนีจักรีรัช ปีที่2ฉบับที่1(ม.ค.2565) สืบค้นจากhttps://he04.tci-thaijo.org

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30