ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแท้งคุกคามในหญิงตั้งครรภ์และผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ที่มีภาวะแท้งคุกคาม ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ ยลถวิล โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์

คำสำคัญ:

หญิงตั้งครรภ์, ภาวะแท้งคุกคาม, ทารกเกิดมีชีพ

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแท้งคุกคาม และผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ที่มีภาวะแท้งคุกคาม การศึกษารูปแบบย้อนหลัง (Retrospective cohort study)  กลุ่มตัวอย่างจำนวน 759 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน Simple logistic regression
     ผลการวิจัย พบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแท้งคุกคามมีอายุเฉลี่ยอายุ 28.71 ปี (SD. = 6.39) พบในครรภ์ที่ 2 (ร้อยละ 38.6) ไม่มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 83.79) ไม่สูบบุหรี่ (ร้อยละ 99.08) และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ร้อยละ 99.08) ผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ พบว่า ทารกเกิดมีชีพ (ร้อยละ 82.08) และแท้งสมบูรณ์ (ร้อยละ 17.92) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแท้งคุกคาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ช่วงอายุ 20 – 35 ปี มีโอกาสเกิดภาวะแท้งคุกคามในหญิงตั้งครรภ์เป็น 0.67 เท่า เมื่อเทียบกับอายุต่ำกว่า 19 ปี (95%CI = 0.29 -1.48) และอายุมากกว่า 35 ปี มีโอกาสเกิดภาวะแท้งคุกคามในหญิงตั้งครรภ์เป็น 1.56 เท่า เมื่อเทียบกับอายุต่ำกว่า 19 ปี (95%CI = 0.63 -3.86) และการไม่ออกกำลังกายมีโอกาสเกิดภาวะแท้งคุกคามในหญิงตั้งครรภ์เป็น 0.30 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ออกกำลังกายนาน ๆ ครั้ง (95%CI = 0.20 - 0.45)

References

ธัชจารีย์ พันธ์ชาลี, (2564). ภาวะแท้งคุกคาม (Threatened abortion) (Online). (https://www.si.mahidol.ac.th/sirirajdoctor/article_detail.aspx?ID=1468

Alizart M, Saunus J, Cummings M, Lakhani SR. Molecular classification of breast carcinoma. Diagn. Histopathol 2012; 18(3): 97-103.

Sivasane DS et al, Study of pregnancy outcome of threatened abortion and its correlation with risk factors in a tertiary care hospital of Mumbai, India. Int J Reprod Contracept Obstet Gynecol. 2018; 7(11): 4598-4603.

กรมอนามัย, (2562). รายงานการเฝ้าระวังการแท้งประเทศไทย พ.ศ. 2562. สำนักอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000: 2.

ชัยวิทย์ วนาโรจน์, (2566). ภาวะแท้งคุกคาม … ความเสี่ยงของคุณแม่มือใหม่. (Online). https://www.phuketinternationalhospital.com/

สมพงษ์ กิตติพิบูลย์, (2551). ผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ที่มีภาวะแท้งคุกคาม ที่โรงพยาบาลตราด. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีษะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 23(1); 465-473.

วกุล ลัญจกรสิริพันธุ์, (2565). ผลลัพธ์การตั้งครรภ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะแท้งคุกคาม ในโรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีษะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 37(1); 131-136.

วรินท์มาศ เกษทองมา และวุธิพงศ์ ภักดีกุล, (2561). ภาวะคุกคามที่เป็นปัจจัยสี่ยงต่อความพร้อมในการตั้งครรภ์ของหญิงไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัย มข. 18(3)

พรวิภา กุลรัตน์, (2561). อุบัติการณ์และปัจจัยด้านอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเกิดผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ของการตั้งครรภ์ในพยาบาลหญิงและผู้ช่วยพยาบาลหญิงโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ระหว่างปีพ.ศ. 2556-2560. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาวิน พันพรพงษ์, (2543). ผลลัพธ์ของการตั้งครรภั้ที่ภาวะแท้งคุกคามในช่วงไตรมาสแรก ซึ่งตรวจพบการเต้นของหัวใจตัวอ่อนหรือทารกโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง.วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 7(1); 1-6.

Cleary-Goldman J. et al, (2005). Impact of maternal age on obstetric outcome. Obstetrics & Gynecology 105(5 Part 1): p 983-990, May 2005. DOI: 10.1097/01.AOG.0000158118.75532.51.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30