ผลของโปรแกรมส่งเสริมการคุมกำเนิดต่อความรู้และความตั้งใจในการคุมกำเนิดในมารดาวัยรุ่นหลังคลอด

ผู้แต่ง

  • รำไพ จันทวงษ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ แผนกสูติ-นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลหนองคาย
  • นัยนา ราชบุตร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ แผนกสูติ-นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลหนองคาย

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมการคุมกำเนิด, มารดาวัยรุ่น, ความรู้, ความตั้งใจ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) ชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (one-group pre-test post-test design) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการคุมกำเนิดต่อความรู้และความตั้งใจในการคุมกำเนิดในมารดาวัยรุ่นหลังคลอด หอผู้ป่วยสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลหนองคาย กลุ่มตัวอย่างมารดาวัยรุ่นหลังคลอดอายุ 12-19 ปี ที่มาพักรักษาในหอผู้ป่วยสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลหนองคาย ระหว่างเดือนธันวาคม 2566-กุมภาพันธ์ 2567 จํานวน 27 คน คัดเลือกแบบเจาะจงมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคลของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด แบบสอบถามความรู้การคุมกำเนิดในมารดาวัยรุ่นหลังคลอด แบบสอบถามทัศนคติ และแบบสอบถามความตั้งใจในการคุมกำเนิดในมารดาวัยรุ่นหลังคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ paired t-test
     ผลการวิจัยพบว่า การเปรียบเทียบ ผลของโปรแกรมส่งเสริมการคุมกำเนิดต่อความรู้และความตั้งใจ ในการคุมกำเนิดในมารดาวัยรุ่นหลังคลอด ก่อนทดลองและหลังทดลอง พบว่า คะแนนความรู้ในการคุมกำเนิดในมารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรก คะแนนทัศคติ และคะแนนความตั้งใจในการคุมกำเนิดในมารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

World Health Organization [WHO]. (2014). Adolescent pregnancy. Retrieved from http://www.who.int/mediacentre/fact sheets/fs364/en/.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข.สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชน ปี 2565. [ออนไลน์]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 3 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก :htt://rt.anamai.moph.go.th/main.php?filename=index.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, (2565).

Ladewig, A.W., London, M.L. & Davidson, M.R0 (2024). Contemporary maternal newborn nursing care (8thed.).St.Louis:Pearson Prentice Hall.

วิโรจน์ อารีย์กุล. (2553). การดูแลสุขภาพและการให้คำแนะนำวัยรุ่น. (พิมพ์ครั้งที่ 1): บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์ จำกัด.

Herrman, J.W. (2007). Repeat pregnancy in adolescent intention and decision making. Journal of Maternal Child Nursing, 32(2),89-74

ฤดี ปุงบางกะดี และเอมพร รติธร. (2557). ปัจจัยและผลกระทบจากการตั้งครรภ์ซ้ำของสตรีวัยรุ่นไทย กรณีศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลศาสตร์, 32(2),23-31.

นิภาพร คนเชี่ยว,มยุรี นิรัตธราดร,ณัฐพัชร์ บัวบุญ และณัฏฐนันท์พร สงวนกลิ่น.(2561).ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการมีส่วนร่วมของสามีต่อพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่น.วารสารพยาบาลทหารบก,19(ฉบับพิเศษ):326-335.

อาทิตยา มาละ,ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา,ณัฐกมล ชาญสาธิตพร และ กรกฏ ศิริมัย,(2564).ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการฝึกทักษะการตัดสินใจต่อพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่นหลังคลอด.Nursing Science Journal of Thailand.40(3):13-30.

สุพัตรา หน่ายสังขาร, วรรณี เดียวอิศเรศ และตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี. (2562). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการใช้ยาฝังคุมกำเนิดต่อความรู้ ระดับความพร้อม และการใช้ยาฝังคุมกำเนิดในมารดาวัยรุ่นหลังคลอด.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ,35(1):99-108.

อารียา สมรูป, วรรณี เดียวอิศเรศ,และวรรณทนา ศุภสีมานนท์.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ยาฝังคุมกำเนิดภายหลังคลอดในมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.2562;27(3):79-87.

วรรณมงคล เชื้อมงคล, จินตนา คูณหอม และธีรรัตน์ ดาวแดน. (2562). ความรู้และผลลัพธ์ทางคลินิกของการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดคุมกำเนิดของหญิงวัยเจริญธุ์ในเขตอำเภอองค์รักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 26(2): 36-49.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30