กระบวนการดูแลผู้ใช้สารเสพติดแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสวาง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • พนม ขันธบูรณ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสวาง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ยาเสพติด, ความพร้อม, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participation Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหายาเสพติด, ความพร้อม และกระบวนการดูแลผู้ใช้สารเสพติดแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสวาง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยศึกษาตั้งแต่ เดือน พฤษภาคม 2567 ถึง มิถุนายน 2567 รวม 2 เดือน กลุ่มตัวอย่างคือ ชุดปฏิบัติการต่อต้านยาเสพติดตำบลและหมู่บ้าน จำนวน 82 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแนวทางการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมานโดย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน และ Dependent t-test
     ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการดูแลผู้ใช้สารเสพติดแบบมีส่วนร่วมประกอบด้วย การวิเคราะห์ชุมชน, การจัดโครงสร้างและกำหนดบทบาท, การวางแผน, การดำเนินการ, การติดตามประเมินผลและถอดบทเรียน ทำให้ชุดปฏิบัติการต่อต้านยาเสพติดตำบลและหมู่บ้านมีความพร้อมในการดูแลผู้ใช้สารเสพติดหลังดำเนินการโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยที่หลังดำเนินงานมีค่าคะแนนเฉลี่ยแตกต่างจากก่อนดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในด้านการเตรียมพื้นที่, การค้นหา, การคัดกรอง, การบำบัดฟื้นฟูสภาพ, การลดอันตรายจากยาเสพติด และการติดตามดูแลช่วยเหลือทางสังคม

References

สาลิณี ภู่รุ่งเรืองผล. พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522. (2562). สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2565, จาก https://www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web.

ศูนย์ศึกษาปัญหายาเสพติด. ยาเสพติดที่อันตรายที่สุดในโลก. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2564). สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2565 จากhttps://cads.in.th/cads/content?id=305.

United Nations Office on Drugs and Crime. (UNODC). Guidance for Community-Based Treatment and Care Services for People Affected by Drug Use and Dependence In Southeast Asia. Bangkok: United Nations Office on Drugs and Crime Regional Office for Southeast Asia and the Pacific. Available 2022 Aug 31. From http://www.unodc. org/documents/southeast Asia and pacific//cbtx/cbtx-brief-TH.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม. ผลการปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศ สำนักปราบปรามยาเสพติด: รายงานประจำปี ANNUAL REPORT 2564. (2564). สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2565 จาก https://www.oncb.go.th/DocLib.

ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2566. (2564). สืบค้น เมื่อ 8 กันยายน 2565. จาก https://ncmc.moph.go.th/home/upload/web_download/rptk5fmp8q8sk0soko.pdf.

กัลป์ยานี สุเวทเทวิน. การพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชนด้วยครอบครัว To Be Number One จังหวัดอำนาจเจริญ. สารสุขภาพภาคประชาชน ภาคอีสาน. (2560). 31(2); 33-41.

Gibson CH. A concept analysis of empowerment. J Adv Nurs. 1991; 16(3): 354–61.)

นิตยา ฤทธิ์ศรี, สุกัญญา วัฒนประไพจิตร และศุภลักษณ์ จันหาญ. รูปแบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชุมเป็นศูนย์กลาง: กรณีศึกษาในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม.(2565). 19(2); 50-63.

สมจิต ยาใจ, วสิมล สุวรรณรัตน และวราภรณ์ นองเนือง. รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. (2564). 32(1). 224-236.

ณฐพร ผลงาม. การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนจังหวัดระยอง. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม. (2564). 1(1). 49-71.

เอกรัตน์ หามนตรี. ความสำเร็จของชมุชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเยาวชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดยาเสพติดในจังหวัดอ่างทอง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, (2561). 5(2), 434–451

ธงชัย สิงอุดม, และพระมหาสมศักดิ์ สติสมฺปนฺโน. การป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดตามแนวชายแดนของชุมชนในจังหวัดเลย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, (2564). 10(1), 137–148.

เกศินี วีรศิลป์, ธนวัฒน์ ปินตา, อุบลวรรณ สุภาแสน, เชษฐ ใจเพชร และวินิจ ผาเจริญ. การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในพื้นที่ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย. (2566) ; 3(1): 16-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

ขันธบูรณ์ พ. (2024). กระบวนการดูแลผู้ใช้สารเสพติดแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนสวาง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(3), 78–87. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2685