ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ชุมชนนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • อรอนงค์ นิลพัฒน์ อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 2-4 ของชุมชนนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี  กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 2-4 ที่ขึ้นทะเบียนผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 49 ราย เก็บข้อมูลรวบรวมระหว่าง สิงหาคม-กันยายน 2565  เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ 6 ด้าน และแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพ 4 ด้าน  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
     ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคไตเรื้อรังระยะที่ 2-4 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่ากลุ่มมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 64.9) โดยคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดคือด้านทักษะการตัดสินใจในการป้องกันและควบคุมโรค มีคะแนนอยู่ในระดับมากที่สุด (mean = 4.78, S.D. = .57)  ส่วนด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดคือการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ มีคะแนนอยู่ในระดับมาก (mean = 3.50, S.D. = 1.66)  สำหรับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (mean = 4.22, S.D. = 1.10)  โดยพฤติกรรมด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดคือการออกกำลังกายมีคะแนนอยู่ในระดับมาก (mean = 4.32, S.D. = 1.09) ส่วนด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมากคือการจัดการดูแลตนเอง (mean = 4.05, S.D. = 1.10)

References

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. เผยสถิติคนไทยติดเค็ม ป่วยโรคไตเรื้อรังกว่า 8 ล้าน คน [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2565 กุมภาพันธ์ 18]. เข้าถึงจาก: https://www.thaihealth.or.th/Content/ 51283%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%9 9%20.html

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. 2562.

รวีวรรณ พงศ์พุฒิพัชร, อรวมน ศรียุกตศุทธ, จงจิต เสน่หา, & นพพร ว่องสิริมาศ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต. วารสารสมาคมพยาบาลฯสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2556; 31(1), 52-61.

ลักขนา ชอบเสียง และคณะ. ความฉลาดทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. 2561; 2(2): 30-46.

Centers for Disease Control and Prevention. Chronic kidney disease in the United States, 2021. 2021 [cited 2021 Feb 25]; (1):13-24. Available form: https://www.cdc.gov/kidneydisease /pdf/2021_National-Chronic-Kidney-Disease-FactSheet.pdf

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. การประเมินและสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy). [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2563 กุมภาพันธ์ 18]. เข้าถึงจาก: http://www.hed.go.th/ linkHed/364.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลนาพู่ อ.เพ็ญ จ.อุดรธานี. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2565.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2560.

วรรณรัตน์ รัตนวรางค์, วิทยา จันทร์ทา. ความฉลาดทางสุขภาพด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองกับการ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดชัยนาท. วารสารวิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี นครราชสีมา 2560; 24(2): 34-51.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ health literacy [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2565 กุมภาพันธ์ 18]. เข้าถึงจาก: https://mwi.anamai.moph.go.th/webupload/migrated/files/mwi/n2308_32a592d14ce37be96b27d6586cc75413_article_20200123161721.pdf?fbclid=IwAR2wsSU5xs4czj6qoYfFad3-Ly09ITBir0X7LUfimhPoH9hUlANJbrDJ8k8

อัมพรพรรณ ธีรานุตร และคณะ. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ เพื่อชะลอการล้างไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. รายงานการวิจัย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). 2560.

เนติมา ศูนีย์ (บ.ก.). แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2565 กุมภาพันธ์ 18]. เข้าถึงจาก: http://www.diabassocthai.org/news_and_knowledge/62

สิทธิพร โนรี, อัจจิมา บวรธรรมปิติ, สุรพล โนชัยวงศ์, เกียรติเกรียงไกร โกยรัตโกศล, ชยุตพงศ์ ในใส, เศรษพล ปัญญาทอง และคณะ. ความชุกและความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้ากับคุณภาพชีวิตด้าน สุขภาพในผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและผู้ป่วยล้างไตทาช่องท้อง.ศรีนครินทร์เวชสาร 2560; 35(4): 301-31.

อัจฉราพรรณ ค้ายาดี. ผลลัพธ์ของโปรแกรมการจัดการด้วยตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความเสี่ยงโรคไตวายเรื้อรัง ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรังและระดับฮีโมโกลบินเอวันซี รายงานวิจัยโรงพยาบาลบ้านไร่. อุทัยธานี. 2557

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30