ผลของรูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคปอดอักเสบตึกอายุรกรรม (ราชาวดี) โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
การวางแผนจำหน่าย, ผู้สูงอายุ, โรคปอดอักเสบบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) โดยใช้แบบแผนการวิจัยกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง The One Group Pretest Posttest Design เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคปอดอักเสบตึกอายุรกรรม (ราชาวดี) โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคปอดอักเสบ จำนวน 30 คน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน พบว่าค่าความตรงตามเนื้อหาทั้งฉบับ (Content Validity Index for Scale, S-CVI) เท่ากับ 0.96 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช 0.95 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่างวันที่ 17 มกราคม 2567 ถึง 17 เมษายน 2567 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน Paired T-Test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษาพบว่าคะแนนเฉลี่ยความรู้หลังเข้าร่วมการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุเป็นโรคปอดอักเสบตึกอายุรกรรม (ราชาวดี) โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร สูงกว่าก่อนเข้าร่วมการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean Difference = 7.86, 95% CI: 7.08-8.64, p-value<0.001) และพบว่าระดับความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคปอดอักเสบตึกอายุรกรรม (ราชาวดี) โรงพยาบาลวานรนิวาส ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 (S.D.=0.62)
References
กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค, สำนักงานระบาดวิทยา. (2566). สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา ประจำปี 2566. นนทบุรี: ผู้แต่ง.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2561) รายงานสถานการณ์โรคปอดอักเสบประจำปี 2561. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2565) รายงานสถานการณ์โรคปอดอักเสบประจำปี 2565. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กำธร มาลาธรรม, พรทิพย์ มาลาธรรม, สุรางค์ สิงหนาท.(2550) โรคติดเชื้อในผู้สูงอายุ. วารสารรามาธิบดีพยาบาลสาร. J.13(3): 272-87.
อุ่นเรือน กลิ่นขจร. (2563). คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุโรคปอดอักเสบ. มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. งานการพยาบาลอายุรศาสตร์และจิตเวชศาสตร์.
ณัฐชา รอบดูดี. (2550) การวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วราภรณ์ ผาทอง, รัตนาภรณ์ ภุมรินทร์, ศิริขวัญ สุธรรมกิตติคุณ, ชื่นจิตต์ สมจิตต์(2563). ประสิทธิผลของการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบโรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่.2563;28(2)
ทัศนีย์ กลิ่นหอม. และเปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย. (2560). การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในไต โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์.
อัจฉรา โพธิ. (2565). ประสิทธิผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลพระอาจารย์แบน ธนากโร จังหวัดสกลนคร. วารสารอนามัยสิ่งแวะล้อมและสุขภาพชุมชน.
โรงพยาบาลวานรนิวาส. (2566). รายงานสถานการณ์โรคปอดอักเสบประจำปี 2565.
McKeehan, K.M. (1981). Continuining care: A multidisciplinary approach to discharge planning. St. Louis: C.V. Mosby.
Bloom, B. S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning.
Aday, L. A., & Andersen, R. (1975). Access to medical care. Ann Arbor: Health Administration Press.
รัตนา นิลเลื่อม, ดวงกมล วัตราดุลย์, พรทิพย์ สินประเสริฐ, กรองแก้ว ทรัพย์ประเสริฐ, ธิดารัตน์ ขาวเงินยวง, และอรทัยบุญชูวงศ์. (2564). ประสิทธิผลของโปรแกรมการวางแผนจําหน่ายต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2โรงพยาบาลราชบุรีจังหวัดราชบุรี. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก.32(2):216-202