การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบต้องเข้ารับการผ่าตัดช่องทางด่วนจากหน่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินสู่ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสกลนคร
คำสำคัญ:
การผ่าตัดช่องทางด่วน, ผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ, ระบบการพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลลัพธ์ของระบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบต้องเข้ารับการผ่าตัดช่องทางด่วนจากหน่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินสู่ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสกลนคร กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ แบบประเมินการปฏิบัติตามระบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบต้องเข้ารับการผ่าตัดช่องทางด่วน แบบบันทึกข้อมูลผลลัพธ์ด้านคุณภาพบริการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า ระบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบต้องเข้ารับการผ่าตัดช่องทางด่วนมีประสิทธิภาพ โดยความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพอยู่ในระดับมาก (Mean=4.27, SD=40) ด้านการปฏิบัติตามบริการพยาบาลผ่าตัดเร่งด่วนของพยาบาลวิชาชีพอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 100) ด้านผลลัพธ์ด้านคุณภาพบริการ ช่วยลดระยะเวลารอคอยผ่าตัดเฉลี่ย อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด จำนวนวันนอนเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลง และผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดภายใน 30 นาที มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
References
กระทรวงสาธารณสุข. กรมการแพทย์. MOPH ED. TRIAGEพิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี; 2561.
กวีวรรณ ใจกล้า, จินดารัตน์ ชัยอาจ และมลี สำราญญาติ. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติ; 2563.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). Patient safety goals: SIMPLE Thailand 2018พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เฟมัส แอนด์ ซัคเซ็สฟูล; 2561.
โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร. กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ จากฐานข้อมูล HDC; 2566.
นงเยาว์ สมพิทยานุรักษ์. การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2560.
โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร. กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ จากฐานข้อมูล HDC. 2566.
ดวงกมล สุวรรณ์. ผลการใช้รูปแบบการจัดการรายกรณีต่อผลลัพธ์ในการจัดการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2559.
นวลทิพย์ ธีระเดชากุล นุชศรา พรมชัย นงลักษณ์ พลแสน. ประสิทธิผลการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บหลายระบบด้วย Multiple Injury Nursing Management guideline แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษสุรินทร์บุรีรัมย์.2561;33(2), 165-177.
สุพัตรา อยู่สุข และคณะ. การพัฒนารูปแบบการดูแลภาวะช็อกจากการเสียเลือดในผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารการแพทย์.2560;42(6): 90-101.