ผลของการใช้โปรแกรมกิจกรรมเสริมการรักษาสี่เสาสร้างสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่ได้รับการรักษาโดยการกลืนแร่ไอโอดีน - 131 ปริมาณสูง ในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ประภานันท์ กิติราช พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
  • ชลการ ทรงศรี ผู้ช่วยศาตราจารย์สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก Corresponding author
  • ภรณ์ทิพย์ อนันตกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • ยุพิณ คำกรุ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
  • กาญจนา หล้าบา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ , คุณภาพชีวิต, การรักษาโดยการกลืนแร่ไอโอดีน - 131 ปริมาณสูง , โปรแกรมกิจกรรมเสริมการรักษาสี่เสาสร้างสุขภาพ

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมกิจกรรมเสริมการรักษาสี่เสาสร้างสุขภาพ ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่ได้รับการรักษาโดยการกลืนแร่ไอโอดีน - 131 ปริมาณสูง ในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่ได้รับการรักษาโดยการกลืนแร่ไอโอดีน - 131 ปริมาณสูง กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 30 คน คือ ผู้ที่มารับบริการระหว่างเดือนมกราคม - กันยายน 2567 เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมกิจกรรมเสริมการรักษา สี่เสาสร้างสุขภาพ 2) แบบวัดคุณภาพชีวิตสำหรับผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ฉบับภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างได้ทำกิจกรรมสี่เสาสร้างสุขภาพและได้รับการติดตามทางโทรศัพท์ทุกวันศุกร์เป็นเวลา 12 สัปดาห์ เพื่อกำกับติดตามการทำกิจกรรมเสริมการรักษาสี่เสาสร้างสุขภาพ จากนั้นดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบด้วยการทดสอบค่าที่
     ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 93.30 สถานภาพสมรส ร้อยละ 73.33 มีอายุเฉลี่ย 35.17 ส่วนใหญ่ทำอาชีพการเกษตร ร้อยละ 40.00 ไม่มีโรคประจำตัวร้อยละ 76.67 คุณภาพชีวิตโดยรวมก่อนเข้าร่วมโปรแกรมกิจกรรม เสริมการรักษาสี่เสาสร้างสุขภาพ พบว่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}= 7.05, S.D. = 1.02) โดยที่คุณภาพชีวิตด้านร่างกายอยู่ในระดับสูง (gif.latex?\bar{x}= 8.05, S.D. = 1.61) คุณภาพชีวิตด้านจิตใจ สังคมและด้านจิตวิญญาณอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}= 6.57, S.D. = 1.50) (gif.latex?\bar{x}=7.23, S.D. = 1.70) (gif.latex?\bar{x}=6.03, S.D. = 1.69) ตามลำดับ หลังการดำเนินเข้าร่วมโปรแกรมกิจกรรมเสริมการรักษาสี่เสาสร้าง สุขภาพ พบว่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตโดยรวมยังอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}= 7.21, S.D. = 0.93) โดยที่คุณภาพชีวิตด้านร่างกายยังคงอยู่ในระดับสูง (gif.latex?\bar{x}= 8.29, S.D. = 1.28) คุณภาพชีวิตด้าน จิตใจ สังคมและด้านจิตวิญญาณยังคงอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}= 6.81, S.D. = 1.26) (gif.latex?\bar{x}=7.59, S.D. = 1.52) (gif.latex?\bar{x}=6.14, S.D. = 1.50) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าคะแนนเฉลี่ยคุณภาพ ชีวิตของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการเข้าร่วมให้โปรแกรมกิจกรรมเสริมการรักษาสี่เสาสร้างสุขภาพ พบว่าค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิต โดยรวมไม่แตกต่างกัน มีเพียงอย่างไรก็ตามคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย ที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.02)

References

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แผนการป้องกันและควบคุมมะเร็งแห่งชาติ. : โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด. กรุงเทพมหานคร; 2560.

Bray F, Ferlay J, Soerjomataram I, Siegel RL, Torre LA, Jemal A. Global cancer statistics 2018 : GLOBOCAN estimates of incidence and mortality worldwide for 36 cancers in 185 countries. CA : a cancer journal for clinicians. 2018; 68 (6) : 394 - 424.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. สถิติโรคมะเร็ง 2563. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี. สถิติผู้ป่วยมะเร็ง ปี 2564. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แบบประเมินตนเองศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางมะเร็ง

ศีรษะและลำคอ และมะเร็งเต้านม; 2564.

International Agency for Research on Cancer. GLOBOCAN 2020 : estimated cancer incidence, mortality and prevalence worldwide in 2020 [Internet]. 2020 [cited 2021 May 18]. Available from : http://www.globocan.iarc.fr/Pages/fact_sheets_cancer.aspx

https://www.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=22737

Fugazzola L, Elisei R, Fuhrer D, Jarzab B, Leboulleux S, Newbold K, et al. 2019 European Thyroid Association Guidelines for the Treatment and Follow - Up of Advanced Radioiodine - Refractory Thyroid Cancer. Eur Thyroid J. 2019; 8 : 227 - 45.

สมจินต์ จินดาวิจักษณ์, วิษณุ ปานจันทร์, อาคม ชัยวีระวัฒนะ. (บรรณาธิการ) แนวทางการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์. กรุงเทพมหานคร : โฆสิตการพิมพ์; 2558.

ภาวนา ภูสุวรรณ. การรักษาโรคด้วยสารเภสัชรังสี. การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยไอโอดีน - 131 สำหรับพยาบาล รังสีรักษา. กรุงเทพมหานคร : พี.เอ.ลีฟวิ่ง; 2553.

Mandel SJ, Mandel L. Radioactive iodine and the salivary glands. Thyroid J 2003; 13 (3) : 265 - 71.

ภัทิรา บัวพูล, ศิริอร สินธุ, เกศรินทร์ อุทริยะประสิทธิ์, ภาวนา ภูสุวรรณ. ประสบการณ์อาการกลยุทธ์การจัดการ อาการและสถานการณ์ทำหน้าที่ในผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ชนิดเวลดิฟเฟอเรนติเอเตดที่ได้รับสารกัมมันตรังสีไอโอดีน - 131 ขนาดสูง. ว.สภาการพยาบาล 2558; 30 (1) : 123 - 38.

Lu L, Shan F, Li W, Lu H. Short - term side effects after radioiodine treatment in patients with differentiated thyroid cancer. BioMed Research International 2016; 29 : 4376720.

Hyer S, Vini L, OûConnell M, Pratt B, Harmer C. Testicular dose and fertility in men following I - 131 therapy for thyroid cancer. Clin Endocrinol. 2002; 56 (6) : 755 - 8

Tagay S, Herpertz S, Langkafel M, Erim Y, Bockisch A, Senf W, Görges R. Health - related Quality of Life, depression and anxiety in thyroid cancer patients. Qual Life Res 2006; 15 : 695 - 703.

Dow KH, Ferrell BR, Anello C. Balancing demands of cancer surveillance among survivors of thyroid cancer. Cancer Pract 1997; 5 : 289 - 95

อิสระ เจียวิริยบุญญา. สี่เสาแห่งความสมดุล. มูลนิธิ โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี :2562.

สมพร กันทรดุษฎีเตรียมชัยศรี. สร้างเสริมสุขภาพด้วยสมาธิบำบัดบัดแบบ SKT 1 - 7 (เทคนิคลิขสิทธิ์) [แผ่นผับ]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561

จุฑามาส วสุพงศ์อัยยะ, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต, ธีระพล เปรมประภา. การทดสอบคุณสมบัติการวัดของแบบวัดคุณภาพชีวิตสำหรับผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ ฉบับภาษาไทย ว.เภสัชกรรมไทย 2556; 5 : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2556. 43 - 62.

Ferrell BR, Grant M, Dow KH. The quality of life scale/ thyroid [online]. 2000 [cited June 24]. Available from; URL:http//prc.coh.org/pdf/Thyroid 20 % QOL.pdf.

Best, John W. and James V. Kahn. Research in Education. (7th ed). Boston : Allyn and Bacon. 1997.

ภัทรริกา ภู่ทวี. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพการสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพ ชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด ที่หน่วยงานเคมีบำบัดผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลอุดรธานี. ว.โรงพยาบาลอุดรธานี. 2561; 26 : 144 - 52

อนุรักษ์ ทราปัญญา, ดาว เวียงคำ. คุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. เชียงรายเวชสาร 2562; 11 (1) : 93 - 101.

ชลการ ทรงศรี และณรงค์ จันทร์แก้ว. ผลของการให้คำปรึกษาต่อความสามารถเผชิญปัญหาในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. ว.โรงพยาบาลสกลนคร. 2562; 22 : 50 - 59.

รัตนา พันจุย และคณะ. ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้ดูแลผู้ป่วย จิตเภทในชุมชน. ว.การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2557; 28 : 117 - 29.

เบญจมาภรณ์ ลิขิตกิจไพศาล. ผลของการให้คำปรึกษากลุ่มที่มีต่อการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันโรงพยาบาล รามาธิบดี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการแนะแนว]. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2555.

สรรสนีย์ จันทร์มา. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อความเครียดและความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ดูแล ผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย. สรรสนีย์ จันทร์มา [วิทยานิพนธ์ หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาล เวชปฏิบัติชุมชน]. พิษณุโลก. มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

กิติราช ป. ., ทรงศรี ช., อนันตกุล ภ., คำกรุ ย., & หล้าบา ก. (2024). ผลของการใช้โปรแกรมกิจกรรมเสริมการรักษาสี่เสาสร้างสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่ได้รับการรักษาโดยการกลืนแร่ไอโอดีน - 131 ปริมาณสูง ในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(3), 231–239. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2714